การศึกษาสถานการณ์การแสดงพื้นบ้านจังหวัดนครศรีธรรมราช เพื่อการยกระดับและสื่อสารเป็นกิจกรรมการท่องเที่ยว
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยชิ้นนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสถานการณ์ของการแสดงพื้นบ้าน จังหวัดนครศรีธรรมราช 2) เพื่อค้นหาแนวทางการยกระดับการแสดงพื้นบ้าน จังหวัดนครศรีธรรมราชสู่กิจกรรมการท่องเที่ยว และ 3) เพื่อค้นหาวิธีการสื่อสารการแสดงพื้นบ้าน จังหวัดนครศรีธรรมราชสู่กิจกรรมการท่องเที่ยว โดยใช้การวิจัยเชิงคุณภาพ สัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลที่เป็นหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในระดับจังหวัดและนักท่องเที่ยว จำนวน 14 คนเพื่อวิเคราะห์เนื้อหา สังเคราะห์และสรุปพรรณนาความ ผลการวิจัยพบว่า สถานการณ์ของการแสดงพื้นบ้านได้รับความนิยม ลดน้อยลง ด้วยมีสาเหตุมาจาก ปัจจัยส่วนบุคคล รูปแบบของการแสดงพื้นบ้าน โอกาสของการแสดงพื้นบ้านและสภาพแวดล้อมในปัจจุบัน สำหรับแนวทางการยกระดับการแสดงพื้นบ้านสู่กิจกรรมการท่องเที่ยว ประกอบด้วย การจัดตั้งกลุ่มคนต้นแบบในพื้นที่ การสร้างสื่อการแสดงพื้นบ้านต้นแบบ และการสร้างสื่อกิจกรรม โดยการมีส่วนร่วมของคนในชุมชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง สำหรับวิธีรูปแบบสื่อที่ใช้สื่อสารการแสดง พื้นบ้านที่สำคัญที่สุด คือการสื่อสารระหว่างบุคคล ในรูปแบบวาจา หรือผ่านสื่อสังคมออนไลน์ ในด้านเนื้อหาในการนำเสนอการแสดงพื้นบ้านนั้น ๆ จะต้องมีความโดดเด่น น่าสนใจมากเพียงพอต่อการนำบอกเล่าต่อของนักท่องเที่ยวหรือสื่อต่าง ๆ
Article Details
บทความนี้ยังไม่เคยลงตีพิมพ์ในวารสารใดมาก่อน และไม่อยู่ระหว่างการพิจารณาของวารสารอื่น
บทความที่ลงพิมพ์เป็นข้อคิดเห็น/แนวคิด/ทัศนคติของผู้เขียนเท่านั้น หากเกิดผลทางกฎหมายใดๆที่อาจ
เกิดขึ้นจากบทความนี้ ผู้เขียนจะเป็นผู้รับผิดชอบ และบทความนี้เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารเท่านั้น
References
[2]นิศศา ศิลปะเสรฐ. อุตสาหกรรมการท่องเที่ยว. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2560.
[3]บุญเลิศ จิตตั้งวัฒนา. พฤติกรรมนักท่องเที่ยว. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: เฟิร์นข้าหลวง พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง; 2557.
[4]รวีวรรณ โปรยรุ่งโรจน์. พฤติกรรมนักท่องเที่ยว. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตส์; 2558.
[5]ศรัญยา วรากุลวิทย์. อุตสาหกรรมการท่องเที่ยว. กรุงเทพฯ: แวววาวพริ้นติ้ง; 2558.
[6]สุชาดา พงษ์กิติวิบูลย์. หน่วยที่ 8 การใช้และการผลิตสื่อพื้นบ้านในการวางแผนสื่อชุมชน การออกแบบ และการผลิต หน่วยที่ 5-8. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช; 2560.
[7]อัศวิน เนตรโพธิ์แก้ว. สื่อศาสตร์ หลักการ แนวคิด และนวัตกรรม. กรุงเทพฯ: เอดิสันเพรส โปรดักส์; 2561.