การศึกษาการใช้เทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับนักศึกษาพิการทางการได้ยินระดับปริญญาตรี
คำสำคัญ:
เทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวก, นักศึกษาพิการทางการได้ยิน, สื่อ, บริการทางการศึกษาบทคัดย่อ
การศึกษาการใช้เทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับนักศึกษาพิการทางการได้ยินระดับปริญญาตรีมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพการใช้เทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวกและศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยด้านลักษณะส่วนบุคคลของนักศึกษาพิการทางการได้ยินระดับปริญญาตรีกับการใช้เทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวก ทำการศึกษากับกลุ่มตัวอย่างที่เป็นนักศึกษาพิการทางการได้ยินจำนวน 118 คน ด้วยวิธีการเลือกแบบเฉพาะเจาะจง 17 แห่ง จากการคำนวณสัดส่วนจำนวนนักศึกษาพิการทางการได้ยินในกลุ่มสถาบันอุดมศึกษาของรัฐในประเทศไทย โดยส่งแบบสอบถามเกี่ยวกับการใช้เทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวกในรูปแบบ Google form พร้อมคลิปวีดิทัศน์คำอธิบายภาษามือไทย ประกอบด้วย 2 ส่วน ได้แก่ 1) ข้อมูลส่วนตัวและข้อมูลทั่วไปของนักศึกษาพิการทางการได้ยิน 2) ข้อมูลเกี่ยวกับสภาพการใช้เทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับนักศึกษาพิการทางการได้ยินให้ผู้ประสานงานในมหาวิทยาลัย ส่งต่อให้นักศึกษาพิการทางการได้ยินสแกนผ่าน QR Code และเก็บรวบรวมแบบสอบถามในปีการศึกษา 2564 ใช้สถิติเชิงบรรยาย และสถิติอ้างอิงในการอธิบายข้อมูล สรุปผลการทดสอบสมมติฐานด้วยการวิเคราะห์ข้อมูลแบบ ANOVA และเปรียบเทียบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยระหว่างกลุ่ม ผลการวิจัยพบว่า เทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวกรายการที่มีความจำเป็นอยู่ในระดับมาก ได้แก่ โทรศัพท์มือถือสมาร์ทโฟน โน้ตบุ๊กคอมพิวเตอร์ ล่ามภาษามือ แท็บเล็ตคอมพิวเตอร์ วีดิทัศน์ทบทวนการสอน และคำบรรยายแทนเสียง ในขณะที่รายการที่มีความจำเป็นอยู่ในระดับปานกลาง ได้แก่ คอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ ผู้ช่วยจดคำบรรยาย เครื่องช่วยฟัง และอักษรวิ่ง ส่วนปัจจัยด้านลักษณะส่วนบุคคที่ส่งผลให้เกิดความแตกต่างในการใช้งานเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวก มีดังนี้ ด้านชั้นปีที่กำลังศึกษาส่งผลให้เกิดความแตกต่างในการใช้แท็บเล็ตคอมพิวเตอร์ ด้านสาขาวิชาที่เรียนส่งผลให้เกิดความแตกต่างในการใช้โน้ตบุ๊กคอมพิวเตอร์ แท็บเล็ตคอมพิวเตอร์ และล่ามภาษามือ ด้านระดับการได้ยินในปัจจุบันส่งผลให้เกิดความแตกต่างในการใช้เครื่องช่วยฟัง และล่ามภาษามือ ด้านวิธีการสื่อสารส่งผลให้เกิดความแตกต่างในการใช้เครื่องช่วยฟัง แท็บเล็ตคอมพิวเตอร์ วีดิทัศน์ทบทวนการสอน และล่ามภาษามือ ด้านโรงเรียนหรือสถาบันที่เคยศึกษามาก่อนส่งผลให้เกิดความแตกต่างในการใช้เครื่องช่วยฟัง โทรศัพท์มือถือสมาร์ทโฟน และล่ามภาษามือ ในขณะที่ความแตกต่างด้านระยะเวลาที่เกิดความพิการและการผ่าตัดประสาทหูเทียม ไม่ส่งผลให้เกิดความแตกต่างในการใช้งานเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวก
Downloads
References
Cook, A.M., Hussey, S.M. (2001). Assistive Technologies: Principles and Practice. London: Mosby.
Lersilp, S., Putthinoi, S., & Chaimaha, N. (2014). A survey of providing using and needs of assistive technology for children with disabilities in special education schools. Journal of Research and Development in Special Education Research and Development Institute for Special Education Srinakharinwirot University, 3(1). 34-43.
Lersilp, S., Putthinoi, S., & Chakpitak, N. (2016). Model of providing assistive technologies in special education schools. Global journal of health science, 8(1). 36-44.
Lersilp, T. (2016). Assistive technology and educational services for undergraduate students with disabilities at universities in the Northern Thailand. Procedia Environmental Sciences, 36, 61-64.
Mrazek, P. (2019). Using of educational technology for efficiently learning procedure in this 4.0 era (21st century). MBU Education journal. 7(2).41-52.
Muangprasit, P., and Jitcharat, S. (2019). The school administrators challenge in educational management for people with hearing impairment and 21st century student. Journal of Education, Silpakorn University, 17(1), 55-70.
Neuman, W.L. (1997). Social Research Methods: Qualitative and Quantitative Approaches. 3rd ed. Boston: Allyn and Bacon.
Nokkaew, M and Hirankitti, P. (2013). Properties of tablet pcs affecting the process of purchasing decision of undergraduate students in Pathumthani Provice. Retrieved from http://www.repository.rmutt.ac.th/dspace/handle/123456789/2322
Office of the Council of State. (2008). The Persons with Disabilities Education Act B.E. 2551. Retrieved from https://www.parliament.go.th/ewtcommittee/ewt/25_people/ewt_dl_link.php?nid=266&filename=index
Phiwma, N., Mutchima, P., & Pantrakul, S. (2016). It competency development guidelines for suan dusit university students. Panyapiwat Journal, 8, 234–247
Saksiriphol, D. (2014). The development of reading and spelling skill for the students with hearing impairment in Pratom Suksa III through mind map and exercises with sign language. Retrieved from http://ir.swu.ac.th/jspui/handle/123456789/2624
Siriattakul, P., Jamnongchan, S., Boonchuchuay, W., & Pimngern, S. (2015). Development of the learning management model to enhance life skills of deaf early adolescents. Journal of Interdisciplinary Research: Graduate Studies, 4(2): 1-14.
Special Education Bureau. (2007). The list of facilities media service and educational assistance. Retrieved from http://gtech.obec.go.th.
Srisurakul, T. (2017). Learning style of deaf students in higher education. Journal of Research and Development in Special Education Faculty of Education Srinakharinwirot University, 6(1). 37-53.
Tammasaeng, M., & Mitranun, C. (2018). The Quality of life of children with cochlear implantation: parental perspective and experiences. Journal of Graduate Studies Valaya Alongkorn Rajabhat University. 12(2). 35-48.
Zabala, J.S. (2002). SETT Framework. Retrieved from https://assistedtechnology.weebly.com/sett-framework.html.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 ศูนย์วิทยาการราชสุดา คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดลบทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารสถาบันราชสุดาเพื่อการวิจัยและพัฒนาคนพิการ