การพัฒนาบทเรียนเสริมความรู้พื้นฐานด้านเรขาคณิตของนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ตามแนวคิดของกาเย่ร่วมกับสื่อมัลติมีเดีย

ผู้แต่ง

  • นาวิน ชัยไธสง สาขาวิชาการศึกษาสำหรับบุคคลที่มีความต้องการพิเศษ สถาบันราชสุดา คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
  • ธีรศักดิ์ ศรีสุรกุล สาขาวิชาการศึกษาสำหรับบุคคลที่มีความต้องการพิเศษ สถาบันราชสุดา คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
  • ปรเมศวร์ บุญยืน สาขาวิชาการศึกษาสำหรับบุคคลที่มีความต้องการพิเศษ สถาบันราชสุดา คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล

คำสำคัญ:

ความรู้พื้นฐานทางคณิตศาสตร์ , นักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ , สื่อมัลติมีเดีย

บทคัดย่อ

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ความต้องการจำเป็นเกี่ยวกับความรู้พื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ เพื่อออกแบบและพัฒนาสื่อมัลติมีเดียเสริมความรู้พื้นฐานด้านเรขาคณิตตามแนวคิดของกาเย่ สำหรับนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ และเพื่อศึกษาความรู้พื้นฐานด้านเรขาคณิตของผู้เรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ ก่อนและหลังเรียนด้วยบทเรียนเสริมความรู้ร่วมกับสื่อมัลติมีเดีย กลุ่มเป้าหมายคือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ จำนวน 10 คน โดยใช้รูปแบบวิธีวิจัยแบบกลุ่มเดียวที่มีการทดสอบก่อน-หลังการทดลอง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แผนการจัดการเรียนรู้ สื่อมัลติมีเดีย แบบประเมินความสามารถพื้นฐาน และแบบวัดความรู้พื้นฐานด้านเรขาคณิต ผลการวิจัยพบว่า 1) ความต้องการจำเป็นเกี่ยวกับความรู้พื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของนักเรียน ที่ควรได้รับพัฒนามากที่สุดคือ ด้านเรขาคณิต 2) การออกแบบและพัฒนาสื่อมัลติมีเดียเสริมความรู้พื้นฐานด้านเรขาคณิตมีองค์ประกอบ คือ หน้าเข้าสู่บทเรียน หน้าคำชี้แจงในการใช้บทเรียนและจุดประสงค์การเรียนรู้ หน้าแบบทดสอบก่อนเรียน หน้าแหล่งการเรียนรู้ หน้าเกม หน้าแบบทดสอบหลังเรียน และหน้าเมนู โดยมีค่าความเหมาะสมของเครื่องมือเท่ากับ 0.95 และ 3) คะแนนความรู้พื้นฐานด้านเรขาคณิตของผู้เรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญที่ .05

Downloads

References

Announcement of the Ministry of Education on Types and Criteria of Persons with Disabilities in Education B.E. 2552. (2009, June 8). Government Gazette. No.126 Special Section 80D. page 45-47.

Chantarachit, A., Jaidumrong, N., & Inthanin, W.T. (2016). The Development of Computer Multimedia instruction on Mathematics Strand Entitled “Plus-Minus of Two Amount to The Result and Numerical is less Than 100” For Prathommasuksa 1 Students. Lampang Rajabhat University Journal, 5(2), 180-195.

Chitharn, K. (2016). Knowledge of multimedia. Documentation for Teaching Multimedia technology [Unpublished doctoral dissertation]. Chiangmai Technical College.

Chomchan, S., & Wanpirun, P. (2015). Development of 2D and 3D multimedia e-book of geometry for the ninth grade student. Technical Education Journal King Mongkut’s University of Technology North Bangkok, 6(2), 162-171.

Kadman, T. (2021). The Development of Computer-Assisted Instruction Based on Gagne's Theory in Computing Science Coursefor Mathayomsuksa 1 Students at Bangrakamwittayasuksa School. Journal of Technology Management Rajabhat Maha Sarakham University, 8(1), 33-45.

Kontrong, P. (2015). Development of multiplication skills by using multimedia activities for a student with learning disabilities [Doctoral dissertation, Chiang Mai University]. Chiang Mai University. https://cmudc.library.cmu.ac.th/frontend/Info/item/dc:124155.

Phakkawanit, J. (2015). A study of effectiveness of learning mathematics on the relationship among two and three dimensional geometric figures by using learning management of team game tournament and team assisted individualization [Doctoral dissertation, King Mongkut's Institute of Technology Thonburi]. King Mongkut's Institute of Technology Thonburi. https://opac.lib.kmutt.ac.th/vufind/Record/1349293.

Photong, T., & Seechaliao, T. (2019). The Effects of Computer Multimedia Lesson Use Mathematical Problem Solving Process Skill on Division of Mathematics Program for Primary Education Grade 4. Journal of Technology Management Rajabhat Maha Sarakham University, 6(2), 176-182.

Pongaksorn, S., & Kittisoontorn, J. (2011). Fundamental knowledge and development guidelines for students with learning disabilities. Co-Educational Management Group, Special Education Bureau, Office of the Basic Education Commission.

Tongsrirat, T. (2019). Learning disorder. Prince of Songkhla University.

Wongkhan, K. (2018). Research design, quantitative research model, sample determination, and data analysis [Unpublished manuscript]. Ubonratchathani: Department of Chemistry, Faculty of Science Ubon Ratchathani University.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-05-25

How to Cite

ชัยไธสง น. ., ศรีสุรกุล ธ. ., & บุญยืน ป. . (2024). การพัฒนาบทเรียนเสริมความรู้พื้นฐานด้านเรขาคณิตของนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ตามแนวคิดของกาเย่ร่วมกับสื่อมัลติมีเดีย. วารสารสถาบันราชสุดาเพื่อการวิจัยและพัฒนาคนพิการ, 20(1), 34–49. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/RSjournal/article/view/267923