การพัฒนาแบบคัดกรองความบกพร่องในการบูรณาการประสาทความรู้สึกใน เด็กก่อนวัยเรียนสำหรับครู

ผู้แต่ง

  • ชไมพร ธิอ้าย ศูนย์การศึกษาพิเศษ ประจำจังหวัดเชียงราย อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย
  • รัชนีกร ทองสุขดี สาขาวิชาการศึกษาพิเศษ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • พิกุล เลียวสิริพงศ์ สาขาวิชาการศึกษาพิเศษ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • สร้อยสุดา วิทยากร สาขาวิชาการศึกษาพิเศษ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

คำสำคัญ:

การพัฒนาแบบคัดกรอง, ความบกพร่องในการบูรณาการประสาทความรู้สึก, เด็กก่อนวัยเรียน, ครู

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพัฒนา มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและตรวจสอบคุณภาพของแบบคัดกรองความบกพร่องในการบูรณาการประสาทความรู้สึกในเด็กก่อนวัยเรียนสำหรับครู ในด้านความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา และค่าความเชื่อมั่น ซึ่งการวิจัยนี้มีกระบวนการพัฒนา 3 ระยะ คือ ระยะที่ 1 การวางแผน ระยะที่ 2 กำหนดโครงสร้าง และระยะที่ 3 การตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือ มีการทดลองใช้กับกลุ่มตัวอย่าง เพื่อหาค่าความเชื่อมั่น โดยวิธีหาค่าความสอดคล้องภายใน และการหาค่าความสอดคล้องระหว่างผู้ประเมิน (Rater Agreement Index : RAI) กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้ ใช้วิธีการคัดเลือกแบบเจาะจง คือ ครูผู้สอนศูนย์การศึกษาพิเศษ กลุ่มเครือข่ายส่งเสริมประสิทธิภาพการจัดการศึกษาศูนย์การศึกษาพิเศษ เครือข่ายที่ 8 จำนวน 42 คน ผลการวิจัย พบว่า แบบคัดกรองความบกพร่องในการบูรณาการประสาทความรู้สึกในเด็กก่อนวัยเรียนสำหรับครู จำนวน 43 ข้อ จำแนกเป็น 3 ด้าน คือ ด้านความบกพร่องในการปรับระดับข้อมูลการรับความรู้สึก ด้านความบกพร่องในการแยกแยะข้อมูลความรู้สึก และด้านความบกพร่องในการวางแผนกระทำการเคลื่อนไหว  มีค่าความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา 0.67-1.00 มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.73 ซึ่งอยู่ในเกณฑ์สูงที่ยอมรับได้ และมีค่าความสอดคล้องระหว่างผู้ประเมิน (Rater Agreement Index : RAI) จำนวน 5 คน เท่ากับ 1.00

Downloads

References

Miller, L. J., Anzalone, M. E., Lane, S. J., Cermak, S. A., & Osten, E. T. (2007). Concept evolution in sensory

integration: a proposed nosology for diagnosis. The American Journal of Occupational, 61(2), 135-140.

Pasunon, P. (2015). Validity of questionnaire for social science research. Journal of Social Sciences

Srinakharinwirot University, 18(18), 380.

Phochanajan, T. (2016). The exploratory factor analysis, children’s behavior problems, the

psychometric properties. (Unpublished master’s thesis). Srinakharinwirot University, Bangkok,Thailand.

Saksiriphol, D. (2012). Screening for children with special needs. In Jansrisokot, J, (Eds.). Inclusive Education (pp. 73). Rajabhat Udon Thani.

Sangarun, S. (2011). The effectiveness of developmental screening in children age of 2,4,9 and 15

month by anamai 49 compared with denver II. Department of Pediatrics, Queen Sirikit National

Institute of Child Health, Bangkok, Thailand.

Schaaf, R. C., & Roley, S. S. (2006). SI: Applying clinical reasoning to practice with diverse populations.

San Antonio.TX: Harcourt Assessment.

Thavornpaiboonbut, N. (2010). Construct validity of the praxis subtest of the sensory integration and

praxis tests: Thai version. (Unpublished master’s thesis). Chiang Mai University, Chiang Mai, Thailand.

Tongsokdee, R., Vittayakorn, S., Leosiripong, P.,Tongthaworn, R., Somnam, S., & Thipkasorn, S. (2018).

Teaching modifications and accommodations for students with learning disabilities in elementary inclusive classrooms. Chiang Mai University, Chiang Mai, Thailand.

Vittayakorn, S., Chinchai, S., & Sriphetcharawut, S. (2012). Sensory integration frame of reference:

Theory and clinical practice in occupational therapy. Chiang Mai: Nana Press.

Whandang, T. (2009). The pilot study of sensory modulation disorder assessment tools using the

infant/toddler symptom checklist aged 7-30 months : Thai version. (Unpublished master’s thesis). Chiang Mai University, Chiang Mai, Thailand.

Ziviani, J., Rodger, S., Pacheco, P., Rootsey, L., Smith, A., & Katz, N. (2004). The dynamic occupational

therapy cognitive assessment for children (DOTCA Ch) : Pilot study of inter-rater and test retest

reliability. New Zealand Journal of Occupational Therapy, 51(2), 17-24

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-12-30

How to Cite

ธิอ้าย ช. . ., ทองสุขดี ร. . ., เลียวสิริพงศ์ พ., & วิทยากร ส. (2021). การพัฒนาแบบคัดกรองความบกพร่องในการบูรณาการประสาทความรู้สึกใน เด็กก่อนวัยเรียนสำหรับครู. วารสารสถาบันราชสุดาเพื่อการวิจัยและพัฒนาคนพิการ, 17(2), 103–117. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/RSjournal/article/view/257555