วิเคราะห์ปัจจัยและการจัดกลุ่มพฤติกรรมการท่องเที่ยวของผู้พิการทางด้านร่างกาย
คำสำคัญ:
ผู้พิการทางด้านร่างกาย, พฤติกรรม, การวิเคราะห์ปัจจัย, การจัดกลุ่มบทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการท่องเที่ยวของผู้พิการทางร่างกาย อีกทั้งวิเคราะห์ปัจจัย การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการท่องเที่ยวของผู้พิการทางร่างกาย อีกทั้งวิเคราะห์ปัจจัยการท่องเที่ยวของผู้พิการทางร่างกาย เพื่อนำมาจัดกลุ่มปัจจัยการท่องเที่ยวของผู้พิการทางร่างกายประชากรที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียน และนักศึกษาโรงเรียนอาชีวศึกษา จำนวน 238 คน ซึ่งเก็บข้อมูลระหว่างวันที่ 1 ถึง 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2561 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามที่พัฒนาข้อคำถามตามกรอบส่วนประสมทางการตลาดและบริการ สำหรับการวิเคราะห์ปัจจัยใช้วิธีการวิเคราะห์องค์ประกอบหลัก (Principle Component Analysis) โดยมีการหมุนแกนปัจจัยให้ตั้งฉาก (Orthogonal Rotation) ด้วยวิธีการ Varimax with Kaizer Normalization ในส่วนพฤติกรรมการท่องเที่ยวใช้การวิเคราะห์กลุ่มด้วยวิธีการวิเคราะห์แบบ K-Means
ผลการวิจัยพบว่า ผู้พิการด้านร่างกายมีพฤติกรรมการท่องเที่ยวที่มักจะเดินทางท่องเที่ยวภายในประเทศประมาณ 1-3 ครั้งต่อปี โดยใช้ระยะเวลาในการเดินทางท่องเที่ยวแต่ละครั้งประมาณ 1-2 วัน และมีช่วงเวลาที่เดินทางท่องเที่ยวส่วนใหญ่ คือ วันหยุดเสาร์-อาทิตย์ ซึ่งมีค่าใช้จ่ายโดยเฉลี่ยประมาณในการเดินทางท่องเที่ยวภายในประเทศแต่ละครั้ง 1,001-2,000 บาท จากการจัดกลุ่มปัจจัยพฤติกรรมการท่องเที่ยวได้แก่ 1) ผู้พิการทางด้านร่างกายที่นิยมการท่องเที่ยวทัศนียภาพแบบเหมาจ่าย และ 2) กลุ่มผู้พิการทางด้านร่างกายที่นิยมนันทนาการที่มีบริการเสริม เพื่อกระตุ้นการท่องเที่ยวของผู้พิการทางด้านร่างกายควรประชาสัมพันธ์ข่าวสารเกี่ยวกับการท่องเที่ยวซึ่งเป็นแหล่งธรรมชาติที่มีทัศนียภาพสวยงาม โดยเฉพาะอย่างยิ่งการจัดการท่องเที่ยวแบบเหมาจ่ายที่เอื้อประโยชน์ต่อผู้พิการทางด้านร่างกายที่สามารถร่วมเที่ยวกับนักท่องเที่ยวทั่วไปได้ นอกจากนี้ ควรกระตุ้นหรือผลักดันให้เพิ่มสิ่งอำนวยความสะดวกต่อผู้พิการทางด้านร่างกาย เช่น หน่วยปฐมพยาบาล หรือโรงพยาบาลใกล้เคียงบริเวณแหล่งท่องเที่ยว หรือบริการผู้แนะนำสถานที่ท่องเที่ยว (ไกด์) สำหรับผู้พิการทางด้านร่างกาย
Downloads
References
Chobkhay, S., Khamsa-ard, S., & Siriwong, P. (2018). Strategic Development to Develop Tourism for People with Physical Disabilities and Seniors of Ubon Ratchathani Province. Dusit thani College Journal. 12(2).
Darcy, S., & Dickson, T. (2009). A Whole-of-Life Approach to Tourism: The Case for AccessibleTourism Experiences. Journal of Hospitality and Tourism Management, 16(1), 32-44.
Department of Empowerment of Persons with Disabilities. (2018). Report of Person with Disabilities Data in Thailand: 31 march 2018. [In Thai]. Retrieved from http://dep.go.th/ sites/default/files/files/news/Report_PWDS_SEP2018.pdf.
Loureiro, S. M. C. (2014). The role of the rural tourism experience economy in place attachment and behavioral intentions. International Journal of Hospitality Management, 40, 1-9.
Ministry of Social Development and Human Security. (2017). Retrieved from http://www.m-society.go.th
One La, A. (2010). The creation of the technology of the senator’s identity, the visually impaired. thesis Master of Arts Public and private management Silpakorn University.
Ounvijit, C., Sirisarn. Y., & Rongsa-ard. P. (2014). Guidelines for Recreation and Tourism Development for the People with Disabilities in Chiang Rai Province. Journal of Ratchasuda College for Research and Development of Persons with Disabilities, 10(13).
Pairoj-Boriboon, T. (2016). Disability Study under Inclusive Tourism Trends. Journal of Social Development, 18(1), 103-122.
Pasunon, P. & Wiriyawuttikai, K. (2010). “Factors and Behavior of Silpakorn University Phetchburi IT Campus’s Students to Worship to Ganesha”. Srinakharinwirot Research and Development (Journal of Humanities and Social Sciences), 6(3), 27-38.
Promotion and Development of the Quality of Life of Persons with Disabilities B.E. 2550. (2007). Government Gazette, 124(61A). 8-24.
Samaneein, K. (2017). Improving Tourism for Travellers with Mobility Impairment Faculty of Science: Ubon Ratchathani Universirty. The 9th International Conference on Disability 2017.
Siriratraykha, T. (2011). People with disabilities and social opportunities. Accessed on 2 June. Accessible from http://www.happyhomeclinic.com/academy/dp01opportunity.pdf. Ministry of Education Announcement, B.E. 2552. (2009). Government Gazette, 126(80), 45–47.
Trongjitpituk, T. (2013). Tourism Behaviors of Person with Physical Disability in Bangkok Metropolis and Vicinity. Master of Science. Sport Science: Faculty of Sports Science: Chulalongkorn University.
World Health Organization. (2011). World Report on Disability.WHO Press: Switzerland: 1-14.
World Tourism Organization. (2016). Global report on the power of youth travel: Volume thirteen. Madrid: Author.
Yala Provincial Socail Development And Human Security Office. (2014). Benefits for the disabled People with disabilities and benefits received. Accessed on 3 June. Accessible from http://www.yala.m-society.go.th/?cat=3.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารสถาบันราชสุดาเพื่อการวิจัยและพัฒนาคนพิการ