ปัจจัยของประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของพนักงานศูนย์วิเคราะห์สินเชื่อ ธนาคารอาคารสงเคราะห์ กรณีศึกษาศูนย์วิเคราะห์สินเชื่อภูมิภาค 3 ธนาคารอาคารสงเคราะห์

Main Article Content

ศุภฤทธ์ กาญจนานุชิต
ลีลาวดี พัฒนรัชต์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเปรียบเทียบ 1) ปัจจัยประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล และ 2) ระดับปัจจัยแรงจูงใจในการทำงาน และประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน โดยเป็นการวิจัยเชิงผสมผสาน สำหรับการวิจัยเชิงปริมาณ เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสอบถาม กลุ่มตัวอย่าง คือ พนักงานของศูนย์วิเคราะห์สินเชื่อภูมิภาค 3 จำนวน 65 คน ใช้สถิติการวิจัย ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน t-test และ F-test ส่วนการวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้การสัมภาษณ์เชิงลึกจาก หัวหน้าและพนักงานระดับปฏิบัติการ จำนวน 12 คน


ผลการศึกษาเชิงปริมาณโดยการเปรียบเทียบพบว่า 1) ปัจจัยส่วนบุคคลด้านระดับการศึกษาที่แตกต่างกัน มีความเกี่ยวข้องกับประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานที่แตกต่างกัน และ 2) ปัจจัยแรงจูงใจในการทำงานภาพรวม มีความเกี่ยวข้องอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติกับประสิทธิภาพการปฏิบัติงานที่ระดับ .05 ในส่วนของผลการวิจัยเชิงคุณภาพพบว่า การปรับนโยบายขององค์กร เช่น การกำหนดงานต่อวัน การปรับค่าแรง และการเพิ่มสวัสดิการ สร้างแรงจูงใจให้พนักงาน โดยพนักงานมีมุมมองว่า การปฏิบัติงานตามเป้าหมายจะนำมาซึ่งตำแหน่ง ความมั่นคง และการยอมรับ

Article Details

How to Cite
กาญจนานุชิต ศ., & พัฒนรัชต์ ล. . (2024). ปัจจัยของประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของพนักงานศูนย์วิเคราะห์สินเชื่อ ธนาคารอาคารสงเคราะห์ กรณีศึกษาศูนย์วิเคราะห์สินเชื่อภูมิภาค 3 ธนาคารอาคารสงเคราะห์. วารสารบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์, 3(2), 142–160. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/RPUBAJOURNAL/article/view/284447
บท
บทความวิจัย