การพัฒนาโปรแกรมการท่องเที่ยวแบบเนิบช้าสำหรับผู้สูงอายุในเขตจังหวัดฉะเชิงเทรา

ผู้แต่ง

  • ศุภสิทธิ์ เลิศบัวสิน วิทยาลัยพาณิชยศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา

คำสำคัญ:

การท่องเที่ยวแบบเนิบช้า , ผู้สูงอายุ , นักท่องเที่ยว

บทคัดย่อ

การศึกษาวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อสำรวจแหล่งท่องเที่ยวที่เหมาะสม 2) เพื่อศึกษาพฤติกรรมนักท่องเที่ยวและพัฒนาโปรแกรมการท่องเที่ยวแบบเนิบช้าสำหรับผู้สูงอายุ ใช้วิธีวิจัยเชิงปริมาณ โดยการเก็บข้อมูลจากแบบสอบถามกับนักท่องเที่ยวขาวไทยสูงอายุ ตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป จำนวน 385 คน การเก็บข้อมูลแบบสุ่มตามความสะดวก การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมติฐาน โดยใช้ การทดสอบค่าเฉลี่ยสองกลุ่มตัวอย่างแบบอิสระต่อกัน และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว ผลการวิจัย การสำรวจสถานที่ที่เป็นแหล่งท่องเที่ยว จำนวน 47 แห่ง จากการลงพื้นที่สังเกตสถานที่ท่องเที่ยวที่น่าสนใจในเขตจังหวัดฉะเชิงเทรา พบว่า มีสถานที่ท่องเที่ยวที่สามารถนำเสนอเป็นแหล่งท่องเที่ยวสำหรับผู้สูงอายุแบบเนิบช้า จำนวน 24 แห่ง จากผลการทดสอบสมมติฐาน สามารถนำเสนอเป็นโปรแกรมการท่องเที่ยวสำหรับผู้สูงอายุทุกระดับอายุ  คือ แหล่งท่องเที่ยวทางศาสนา สามารถนำเสนอแก่นักท่องเที่ยวทุกเพศ และทุกช่วงอายุ แหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม สามารถนำเสนอแก่นักท่องเที่ยวทุกเพศ และทุกช่วงอายุ แหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร สามารถนำเสนอเป็นเส้นทางการท่องเที่ยวสำหรับผู้สูงอายุทุกเพศ แต่ควรนำเสนอต่อนักท่องเที่ยวที่มีช่วงอายุ 60-75 ปี แหล่งท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ สามารถนำเสนอเป็นเส้นทางการท่องเที่ยวสำหรับผู้สูงอายุทุกเพศ ควรนำเสนอต่อนักท่องเที่ยวที่มีช่วงอายุ 76-80 ปี แหล่งท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์ นักท่องเที่ยวเพศหญิงจะมีความต้องการท่องเที่ยวสูงกว่านักท่องเที่ยวเพศชาย  และควรนำเสนอต่อนักท่องเที่ยวที่มีช่วงอายุ 60-65 ปี และ นักท่องเที่ยวในช่วงอายุ 71-80 ปี แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ นักท่องเที่ยวเพศหญิงจะมีความต้องการท่องเที่ยวสูงกว่านักท่องเที่ยวเพศชาย และ ควรนำเสนอต่อนักท่องเที่ยวที่มีช่วงอายุ 71-80 ปี

References

กมลพร มูลอามาตย์. (2556). การศึกษาพฤติกรรมการท่องเที่ยวสถานที่ท่องเที่ยวเชิงศาสนาของผู้สูงอายุในจังหวัดขอนแก่น. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยขอนแก่น).

กรมการท่องเที่ยว. (2555). การบริการนักท่องเที่ยวกลุ่มคนพิการ ผู้สูงอายุและครอบครัวที่มีเด็กเล็กและสตรีมีครรภ์. สืบค้นจาก http://www.tourism.go.th/assets/portals/1/news/839/1.pdf

การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย. (2560). รายงานประจำปี 2560. สืบค้นจาก https://www.tourismthailand.org/fileadmin/downloads/TAT_ANNUAL_REPORT/TAT%202017%20Annual%20Report%20DoubleSideLow-Res.pdf

กุลวดี แกล้วกล้า. (2550). พฤติกรรมการท่องเที่ยวของข้าราชการเกษียณอายุ. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยมหิดล.

เกษรา เกิดมงคล. (2546). รูปแบบการดำเนินชีวิต การแสวงหาข้อมูลเพื่อการตัดสินใจท่องเที่ยวและพฤติกรรมการท่องเที่ยวของคนวัยทำงาน. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย).

ข้าวทิพย์ อ่อนอรุณ. (2553). ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการท่องเที่ยวภายในประเทศของนักท่องเที่ยวผู้สูงอายุชาวไทย. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์).

ฉลองศรี พิมลสมพงศ์. (2546). การวางแผนและพัฒนาตลาดการท่องเที่ยว (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

ฉลองศรี พิมลสมพงศ์. (2548). การวางแผนและการพัฒนาตลาดการท่องเที่ยว. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

ชลวิทย์ เจียรจิตต์. (2562). การพัฒนาการท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมสำหรับผู้สูงอายุ. วารสาร มจร. สังคมศาสตร์ปริทรรศน์, 8(1), 193-203.

ปริญญา นาคปฐม และระชานนท์ ทวีผล. (2561). การพัฒนาคุณภาพงานบริการทางการท่องเที่ยวสำหรับกลุ่มนักท่องเที่ยวผู้สูงอายุ. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ในพระบรมราชูปถัมภ์, 12(1), 255-269.

วารัชต์ มัธยมบุรุษ. (2554). แนวทางการพัฒนาเส้นทางการท่องเที่ยวส้าหรับนักท่องเที่ยวผู้สูงอายุ กรณีศึกษาพื้นที่รอบการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแม่เมาะ จังหวัดลำปาง. ใน รายงานการประชุมวิชาการ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ประจำปี 2554; “การพัฒนาอนาคตชนบทไทย : ฐานรากที่มั่นคงเพื่อการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน”27-29 มกราคม 2554 (น.189-193). ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

ศันสนีย์ กระจ่างโฉม, อาชว์บารมี มณีตระกูลทอง และเผชิญวาส ศรีชัย. (2562). แนวทางการพัฒนากิจกรรมการท่องเที่ยวสำหรับนักท่องเที่ยวผู้สูงอายุชาวต่างชาติในพื้นที่อารยธรรมล้านนา. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย, 39(3), 79-90.

สุรชาติ สินวรณ์ และณัฐบดี วิริยาวัฒน์. (2558).แนวทางการออกแบบสิ่งอำนวยความสะดวกและสภาพแวดล้อมทางกายภาพเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวสำหรับผู้สูงอายุและพิการ ตลาดน้ำตลิ่งชัน. วารสารวิจัย มสด., 11(3), 97-116.

หนังสือพิมพ์ข่าวสด. (6 กุมภาพันธ์ 2561). กระทรวงท่องเที่ยว ร่วมมือ อพท. ยกชั้นเมืองรองสรางรายได้กว่าหมื่นล้าน. สืบค้นจาก https://www.khaosod.co.th/economics/news_741622

Marketeer. (2563). นักท่องเที่ยวทั่วโลกต่ำสุดในรอบ 15 ปี. เข้าถึงได้จาก https://marketeeronline.co/archives/154017

Caffyn, A. (2012). Advocating and implementing slow tourism. In T.V. Singh (Ed.), Critical debates in tourism (pp. 373-379). Bristol: Channel View.

Cochran, W. (1997). Sampling. Techniques (3rd ed.). New York: Wiley.

Dickinson, J. E., Lumsdon, L, M., & Robbins, D. (2010). Slow travel: issues for tourism and climate change. Journal of Sustainable Tourism, 19(3), 281-300.

Gardner, N. (2009). A manifesto for slow travel. Hidden Europe Magazine, 25, 10-14.

Haub, C. (2011). World population aging: Clocks illustrate growth in population under age 5 and over age 65. Population Reference Bureau. Retrieved from http://www.prb.org.

McCabe, S. (2009). Who Needs a Holiday? Evaluating Social Tourism. Annals of Tourism Research, 36(4), 667-688.

Mengyang, S., & Furong, C. (2009). The researches on senior tourism security service criterions. Tourism Institute of Beijing Union University. P.R.: China.

Pearce, P. L. & Lee, U. I. (2005). Developing the Travel Career Approach to Tourist Motivation. Journal of Travel Research, 43(3), 226-237.

Schroder, A., & Wildmann, T. (2007). Demographic change and its impact on the travel industry: oldies-nothing but goldies? In R. Conrady, & M. Buck (Eds.). Trends and issues in global tourism 2007 (pp.3-17) Berlin Heidelberg: Springer.

Sedgley, D., Pritchard, A., & Morgan, N. (2001). Tourism and aging: a transformative research agenda. Annuals of Tourism Research, 32(2), 422-436.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-06-30

How to Cite

เลิศบัวสิน ศ. การพัฒนาโปรแกรมการท่องเที่ยวแบบเนิบช้าสำหรับผู้สูงอายุในเขตจังหวัดฉะเชิงเทรา. RMUTT Global Business and Economics Review, Pathum Thani, Thailand, v. 17, n. 1, p. 122–134, 2022. Disponível em: https://so03.tci-thaijo.org/index.php/RMUTT-Gber/article/view/256284. Acesso em: 8 เม.ย. 2025.