การยกระดับความสามารถในการส่งออกในช่วงวิกฤตโรคระบาดของผลิตภัณฑ์อาหารแปรรูปแช่แข็งผ่านโครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก

ผู้แต่ง

  • โชติมา โชติกเสถียร วิทยาลัยโลจิสติกส์และซัพพลายเชน มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
  • ปรีชา วรารัตน์ไชย วิทยาลัยโลจิสติกส์และซัพพลายเชน มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

คำสำคัญ:

ความสามารถการส่งออก , วิกฤตโรคระบาด , อาหารแปรรูปแช่แข็ง

บทคัดย่อ

การยกระดับความสามารถในการส่งออกของผลิตภัณฑ์อาหารแปรรูปแช่แข็งในช่วงวิกฤตโรคระบาด จากการจัดการความเสี่ยง บนโซ่คุณค่า และความได้เปรียบทางการแข่งขัน เป็นแนวคิดที่เพิ่มประสิทธิภาพการส่งออก โดยเฉพาะในเขตโครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก ซึ่งมีสถานประกอบการอย่างหนาแน่น การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) อิทธิพลของโซ่มูลค่าที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการส่งออกของอาหารแปรรูปแช่แข็งผ่านโครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก 2) อิทธิพลของโซ่มูลค่าที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการส่งออกของอาหารแปรรูปแช่แข็งผ่านโครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออกโดยมีความได้เปรียบในการแข่งขันเป็นตัวแปรคั่นกลาง 3) อิทธิพลของความเสี่ยงที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการส่งออกผลิตภัณฑ์อาหารแปรรูปแช่แข็งผ่านโครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก และ 4) อิทธิพลของความเสี่ยงที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการส่งออกผลิตภัณฑ์อาหารแปรรูปแช่แข็งผ่านโครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออกโดยมีความได้เปรียบในการแข่งขันเป็นตัวแปรคั่นกลาง การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ มีกลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ประกอบการอาหารแปรรูปแช่แข็ง จำนวน 400 บริษัท ใช้การสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน ขนาดของกลุ่มอย่างใช้เกณฑ์ 20 เท่า ของตัวแปรสังเกตได้ เก็บรวบรวมข้อมูลแบบสอบถาม และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยแบบจำลองสมการโครงสร้าง ผลการวิจัยพบว่า 1) โซ่มูลค่ามีอิทธิพลทางตรงเชิงบวกต่อความได้เปรียบในการแข่งขันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 2) โซ่คุณค่ามีอิทธิพลทางอ้ออมต่อประสิทธิภาพในการส่งออกผลิตภัณฑ์อาหารแปรรูปแช่แข็งผ่านความได้เปรียบในการแข่งขันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) การจัดการความเสี่ยงมีอิทธิพลทางตรงเชิงบวกต่อประสิทธิภาพในการส่งออกผลิตภัณฑ์อาหารแปรรูปแช่แข็ง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 และ 4) การจัดการความเสี่ยงมีอิทธิพลทางอ้อมเชิงบวกต่อประสิทธิภาพในการส่งออกผลิตภัณฑ์อาหารแปรรูปแช่แข็งโดยมีความได้เปรียบในการแข่งขันเป็นตัวแปรคั่นกลาง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ผลการวิจัยครั้งนี้ สามารถเป็นแนวทางในการกำหนดนโยบายหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและเอกชน รวมทั้งนำไปปรับใช้กลยุทธ์การจัดการความเสี่ยง ผ่านโซ่คุณค่า และความได้เปรียบทางการแข่งขัน เพื่อยกระดับการส่งออกของธุรกิจอาหารแปรรูปแช่แข็งภายในประเทศ

References

Barney, J. B. (1991). Firm resources and sustained competitive advantage. Journal of Management, 17(1), 99-120.

De Waal, A., Orij, R., Rosman, J., & Zevenbergen, M. (2014). Applicability of the high-performance organization framework in the diamond industry value chain. Journal of Strategy and Management, 7(1), 30-48.

Dyer, J. H., & Singh, H. (1998). The relational view: Cooperative strategy and sources of interorganizational competitive advantage. Academy of management review, 23(4), 660-679.

Escandon-Barbosa, D., Urbano-Pulido, D., & Hurtado-Ayala, A. (2019). Exploring the relationship between formal and informal institutions, social capital, and entrepreneurial activity in developing and developed countries. Sustainability, 11(2), 1-20.

Hair, J. F., Anderson, R. E., Tatham, R. C., & Black, W. C. (1995). Multivariate data analysis, with readings. Englewood Cliffs, NJ: Prentice Hall.

Imran, M., Aziz, A., Hamid, S. N. B. A., Shabbir, M., Salman, R., & Jian, Z. (2018). Retracted: The mediating role of total quality management between entrepreneurial orientation And SMEs export performance. Management Science Letters, 8(6), 519-532.

Khamsuk, K. (2018). A Study of Factors Affecting Risks in Supply Chains of Thai Automotive Industry. Business Review Journal, 10(2), 123-142.

Kiser, J., & Cantrell, G. (2006). Six Steps to Managing Risk. Supply Chain Management Review, 10(3), 12-17.

Lambert, D. M., Stock, J.R., & Ellran, L. M. (1998). Supply chain and logistics management. New York: McGraw-Hill.

Lambert, D. M., & Enz, M. G. (2017). Issues in supply chain management: progress and potential. Industrial Marketing Management, 62, 1-16.

Lin, K. H., Huang, K. F., & Peng, Y. P. (2014). Impact of export market orientation on export performance. Baltic Journal of Management, 9(4), 403-425.

Martín de Castro, G., Navas López, J. E., López Sáez, P., & Alama‐Salazar, E. (2006). Organizational capital as competitive advantage of the firm. Journal of Intellectual Capital, 7(3), 324-337

Mei Dan, X., Ye, L., & Zhi Qiang, S. (2011). On the measure method of electronic supply chain risk. Procedia Engineering, 15, 4805-4813.

Monteiro, A. P., Soares, A. M., & Rua, O. L. (2019). Linking intangible resources and entrepreneurial orientation to export performance: The mediating effect of dynamic capabilities. Journal of Innovation & Knowledge, 4(3), 179-187.

Nation Broadcasting Corporation. (2563). Ministry of Commerce discusses private frozen seafood processing by turning COVID-19 into an opportunity. Retrieved from https://www.nationtv.tv/news/378772842

National Statistical Office. (2555). Selecting samples techniques. Workshop documents of the project for the Statistical Subcommittee of the National Statistical Office. Retrieved from http://service.nso.go.th/nso/nsopublish/Toneminute/files/55/0203-5.pdf

Niyangkoon, S. (2005). Research statistics. Bangkok: Kasetsart University.

Petchlum, K. (2019). Fresh, chilled, frozen, canned and processed seafood (excluding fresh, chilled, frozen and processed shrimp). Retrieved from https://www.ditp.go.th/contents_attach/539575/539575.pdf

Piercy, N. (2009). Positive management of marketing-operations relations. Journal of Marketing Management, 25(5-6), 551-570.

Porter, M. E. (1985). Competitive Strategy: Techniques for Analyzing Industries and Competitors. New York, NY: The Free Press.

Porter, M. E., & Miller, V. E. (1985). How information gives you competitive advantage. Harvard Business Review, 63(4), 149-60.

Saenyen, T., et al., (2020). Analysis of the COVID-19 responses: the impact on the aviation industry. Interdisciplinary Journal, Humanities and Social Sciences, 3(2), 209-220.

Suphan, W., et al. (2020). How to deal with COVID-19 in anesthesia?. Thai Journal of Anesthesiology, 46(3), 103–112.

Thun, J. H., & Hoenig, D. (2011). An empirical analysis of supply chain risk management in the German automotive industry. International journal of production economics, 131(1), 242-249.

Turakit, P. (2021). Frozen food exporters request compensation for tax compensation due to COVID-19 Test. Retrieved from https://www.prachachat.net/economy/news-590867

Varoutsa, E., & Scapens, R. W. (2015). The governance of inter organisational relationships during different supply chain maturity phases. Industrial Marketing Management, 46, 68-82.

Wang, M., Asian, S., Wood, L. C., & Wang, B. (2020). Logistics innovation capability and its impacts on the supply chain risks in the Industry 4.0 era. Modern Supply Chain Research and Applications, 2(2), 83–98.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-06-30

How to Cite

โชติกเสถียร โ.; วรารัตน์ไชย ป. . การยกระดับความสามารถในการส่งออกในช่วงวิกฤตโรคระบาดของผลิตภัณฑ์อาหารแปรรูปแช่แข็งผ่านโครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก. RMUTT Global Business and Economics Review, Pathum Thani, Thailand, v. 17, n. 1, p. 154–167, 2022. Disponível em: https://so03.tci-thaijo.org/index.php/RMUTT-Gber/article/view/254921. Acesso em: 4 พ.ค. 2025.