แนวทางการพัฒนาบุคลากรของกลุ่มทอเสื่อกกบ้านดอนแดง อำเภอนาหว้า จังหวัดนครพนม
คำสำคัญ:
การพัฒนาบุคลากร, วิสาหกิจชุมชน, ผลการปฏิบัติงานบทคัดย่อ
การศึกษาเรื่องแนวทางการพัฒนาบุคลากรของกลุ่มทอเสื่อกกบ้านดอนแดง อำเภอนาหว้า จังหวัดนครพนม มีวัตถุประสงค์ คือ 1. เพื่อศึกษาถึงปัญหาและอุปสรรคที่เกิดขึ้นจากการพัฒนาบุคลากรของกลุ่มทอเสื่อกกบ้านดอนแดง อำเภอนาหว้า จังหวัดนครพนม 2. เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาบุคลากรของกลุ่มทอเสื่อกกบ้านดอนแดง อำเภอนาหว้า จังหวัดนครพนม โดยการสัมภาษณ์ ถึงปัญหาอุปสรรคและแนวทางในการ พัฒนาบุคลากรของกลุ่มทอเสื่อกก ผลการศึกษาพบว่า 1. ด้านการพัฒนารายบุคคล พบว่า ขาดความรู้ ความสามารถในเรื่องของเทคโนโลยี 2. ด้านการพัฒนาสายอาชีพ พบว่า ขาดทักษะด้านงานฝีมือ เพราะงานฝีมือเป็นงานที่ต้องใช้ความละเอียดรอบคอบ ในการปฏิบัติงานอีกทั้งยังขาดทักษะในเรื่องของการทำลวดลาย เพราะสมาชิกในกลุ่มมีจำนวนน้อยที่สามารถทำลวดลายที่ยากๆ ได้ และยังไม่มีความรู้ ความเชี่ยวชาญมากพอ 3. ด้านการบริหารผลการปฏิบัติงาน พบว่า ในการปฏิบัติงาน ส่วนมากจะพบปัญหาในเรื่องของการขาดแคลน วัตถุดิบ วัตถุดิบมีไม่เพียงพอที่จะใช้ในการผลิต 4. ด้านการพัฒนาองค์การ พบว่า สมาชิกในกลุ่มไม่มีการหมุนเวียนเปลี่ยนงานกัน เพราะสมาชิกจะปฏิบัติหน้าที่ที่ตนเองถนัดเท่านั้น แนวทางในการพัฒนาบุคลากร 1. ด้านการพัฒนารายบุคคล ควรมีการจัดฝึกอบรมเพื่อเสริมความรู้ ให้กับสมาชิกภายในกลุ่มเพื่อที่จะได้นำความรู้ที่ได้รับมาปรับใช้และพัฒนาองค์กรให้มีศักยภาพและสามารถ แข่งขันกับคู่แข่งขันในธุรกิจเดียวกันได้ 2. ด้านการพัฒนาสายอาชีพ ควรมีการจัดคนให้มีความเหมาะสมกับ งาน โดยดูว่าใครมีทักษะและความสามารถที่โดดเด่นในเรื่องนั้นๆ ก็ให้รับผิดชอบในหน้าที่นั้น และในการ พัฒนาบุคลากรก็ควรมีการจัดฝึกอบรมเฉพาะด้าน เพื่อที่จะให้สมาชิกได้เรียนรู้และพัฒนาในเฉพาะด้านให้มี ความชำนาญและเชี่ยวชาญมากขึ้น 3. ด้านการบริหารผลการปฏิบัติงาน ควรมีการสร้างเครือข่ายกับผู้ป้อน ปัจจัยการผลิตและผู้ผลิตสินค้าประเภทเดียวกันหลายๆ ราย ที่จะสามารถหาวัตถุดิบให้เราได้ตลอดเวลา เพื่อจะสามารถผลิตสินค้าได้ทันต่อความต้องการของลูกค้า 4. ด้านการพัฒนาองค์กร ควรมีการสับเปลี่ยน หมุนเวียนงานซึ่งกันและกัน สมาชิกในองค์กรควรเรียนรู้งานด้านต่างๆ ขององค์กรเพื่อที่จะสามารถปฏิบัติงาน หรือดำเนินงานในองค์กรแทนกันได้เมื่อผู้รับผิดชอบในหน้าที่นั้นไม่อยู่ เพื่อให้งานในองค์กรนั้นดำเนินไปได้อย่างราบรื่น
References
กรมส่งเสริมการเกษตร. (2553). วิสาหกิจชุมชน. สืบค้นจาก www.chanthaburi.doae.go.th, 28 กันยายน 2557.
กรมสรรพากร. (2557). คู่มือภาษี สำหรับวิสาหกิจชุมชม .สืบค้นจาก www.rd.go.th, 20 กันยายน 2557.
ณัฏฐพันธ์ เขจรนันทน์. (2551). พฤติกรรมองค์การ. กรุงเทพมหานคร: บริษัท วี.พริ้นท์ (1991) จำกัด.
ปินฑิรา จันหลวง. (2552). แนวทางการพัฒนาบุคลากรสายสนับสนุนของมหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงราย. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการทั่วไป, มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงราย.
พรชัย เจดามาน. (2556). การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ .สืบค้นจาก www.oknation.net/blog/jedaman, 26 กันยายน 2557.
พรรณี เวียงโอสถ. (2547). แนวทางการพัฒนาบุคลากรสายผู้สอนของโรงเรียนอนุบาลพรรณี อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา, มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงราย.
พระมหาพรสวรรค์ กิตฺติวโร. (2554). การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ตามหลักกุศลกรรมบถ 10 ประการ. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพระพุทธศาสนา, มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ์ราช วิทยาลัย.
ศิรภัสสรศ์ วงศ์ทองดี. (2556). การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สมพงศ์ ตันติวงศ์ไพศาล. (2551). วิสาหกิจชุมชน .สืบค้นจาก www.gotoknow.org, 28 กันยายน 2557.
สำนักงานเลขานุการคณะกรรมการส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน. (2548). ระบบสารสนเทศวิสาหกิจชุมชน (SMCE) .สืบค้นจาก www.smce.doae.go.th/smce1, 27 กันยายน 2557.
สิริลักษณ์ ทองลิ่ม. (2553). แนวทางการพัฒนาบุคลากรของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กสังกัดองค์การบริหารส่วน ตำบลในเขต อำเภอจอมบึง จังหวัดราชบุรี. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการ บริหารการศึกษา, มหาวิทยาลัยศิลปากร.
สุพานี สฤษฎ์วานิช. (2552). พฤติกรรมองค์การสมัยใหม่: แนวคิด ทฤษฎี. พิมพ์ครั้งที่ 2. ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
เสรี พงศ์พิศ. (2555). วิสาหกิจชุมชน สร้างฐานการพัฒนา .สืบค้นจาก www.phongphit.com, 1 ตุลาคม 2557.
อานันท์ ตะนัยศรี. (2555). วิสาหกิจชุมชน .สืบค้นจาก www.ophbgo.blogspot.com, 2 ตุลาคม 2557.
อารีย์ แผ้วสกุลพันธ์. (2552). องค์การและการบริหาร. กรุงเทพมหานคร: ศูนย์ส่งเสริมวิชาการ.
อาภรณ์ ภู่วิทยพันธุ์. (2553). กลยุทธ์การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร: บริษัท พิมพ์ดีการพิมพ์ จำกัด.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของผู้นิพนธ์
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี และคณาจารย์ท่านอื่นๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว