การรับรู้ด้านความรู้ความเข้าใจตอ่ประสิทธิภาพการทำงานเป็นทีมในอุตสาหกรรมการผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์

ผู้แต่ง

  • บุณริสาก์ สุจันทรา คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
  • ชนงกรณ์ กุณฑลบุตร คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี

คำสำคัญ:

การรับรู้ด้านความรู้ความเข้าใจ, ประสิทธิภาพการทำงานเป็นทีม, การทำงานเป็นทีม

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการรับรู้ด้านความรู้ความเข้าใจต่อประสิทธิภาพการทำงานเป็นทีมในอุตสาหกรรมการผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ พนักงานที่ปฏิบัติงานในอุตสาหกรรมการผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์จำนวน 389 คน โดยใช้วิธีเลือกตัวอย่างแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามที่เกี่ยวข้องกับการรับรู้ด้านความรู้ความเข้าใจต่อประสิทธิภาพการทำงานเป็นทีม โดยมีค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามเท่ากับ 0.914 สถิติที่ใช้ในการ วิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ Multiple Linear Regression Analysis ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 ผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการรับรู้ด้านความรู้ความเข้าใจต่อประสิทธิภาพการทำงานเป็นทีมในอุตสาหกรรมการผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ ที่มีความสำคัญอันดับแรก คือ วัฒนธรรมองค์กร การปฏิบัติตามกฎระเบียบที่บริษัทกำหนด การปรับเปลี่ยนรูปแบบองค์กรให้เข้ากับสถานการณ์ปัจจุบัน ซึ่งมีสัมประสิทธิ์ของตัวแปรเท่ากับ 0.641 ความสำคัญอันดับรองลงมาคือ ภาวะผู้นำของหัวหน้างาน ซึ่งต้องมีความยุติธรรม การนำทีมงานสู่ความสำเร็จ มีการมอบหมายงานที่เหมาะสมกับความสามารถของพนักงาน ซึ่งมีสัมประสิทธิ์ของตัวแปรเท่ากับ 0.384 และความสำคัญอันดับสุดท้ายคือ การสื่อสารในองค์กร โดยการให้ข้อมูลข่าวสารที่ถูกต้อง และลดความขัดแย้งระหว่างผู้ร่วมงานซึ่งมีสัมประสิทธิ์ของตัวแปรเท่ากับ 0.145

References

กรกนก บุญชูจรัส. (2552). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการทำงานเป็นทีมของพัฒนากรในพื้นที่ความรับผิดชอบของศูนย์ศึกษาและพัฒนาชุมชนจังหวัดเพชรบุรี. (ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยศิลปากร).

การพัฒนาบุคลากร สำนักงานกองทุนสงเคราะห์. (2555). ทฤษฎีและการพัฒนาภาวะผู้นำ. สืบค้นจาก http://km.rubber.co.th/index.php?option=com_ content&view=article&id=2339: leadershiptheories&catid= 61:2011-06-03-04-26-29&Itemid=176

เนตร์พัณณา ยาวิราช. (2552). ภาวะผู้นำและผู้นำเชิงกลยุทธ์. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

นิภาพร เจนกิจพาณิชย์กุล. (2552). ภาวะผู้นำ: กรณีศึกษาบริษัทลินฟ้อกซ์(ประเทศไทย) จำกัด. (การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี).

ปัญญาพล แข็งแอ. (2552). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อประสิทธิผลการทำงานเป็นทีมของพนักงานระดับปฏิบัติการบริษัทอุตสาหกรรมน้ำตาลอีสานจำกัด. (วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช).

พัณศา คดีพิศาล. (2553). ประสิทธิภาพการทำงานเป็นทีมของพนักงานบริษัทเวิลพลาสและบริษัทในเครือ. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยรามคำแหง).

มานะ อ่อนท้วม. (2542). การรับรู้ในบทบาทของสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบล: ศึกษาเฉพาะกรณี สภาองค์การบริหารส่วนตำบลในจังหวัดอุบลราชธานี. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์).

ศันสนีย์ ชูเชื้อ. (2546). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการทำงานเป็นทีมของพนักงานมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์).

ศูนย์ข้อมูลความรู้การบริหารงานบุคคล. (2555). การบริหารทรัพยากรมนุษย์. สืบค้นจาก http://www.powervision.co.th/mycorner/Exchange/hrm/hrm%20mycorner16.html

ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร. (2555). ปัญหาและอุปสรรคในการติดต่อสื่อสาร. สืบค้นจาก https://sites.google.com/site/chaipatcompanylimited/txn-thi-6

สัมมนา สีหมุ่ย. (2553). การศึกษาประสิทธิภาพการทำงานเป็นทีมของบุคลากรองค์การบริหารส่วนตำบลในเขตอำเภอโนนไทย จังหวัดนครราชสีมา. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี.

สุธาสินี ศรีวิชัย. (2555). วัฒนธรรมองค์กร. สืบค้นจาก ajsuthasinee.files.wordpress.com

สุภัททา ปิณฑะแพทย์. (2555). ภาวะผู้นำและการทำงานเป็นทีม. สืบค้นจาก http://www.supatta- haysamy.com/leadershipandteamwork.html

Bloom & Other. (1956). Handbook on formation and summative of student learning. New York: McGraw-Hill.

Chien S. F., Wan, T. T., & Chen, Y. C. (2012, April). Factors influencing teamwork and collaboration within a tertiary medical center. World Journal of Methodology, 2(2), 18-23.

Keyton, J. (2005). Communication and organizational culture: a key to understanding work experiences. Thousand Oaks, Calif.: SAGE Publications.

Osburn, C. B. (2008). Corporate culture and the individual in perspective, in Edward D. Garten, Delmus E. Williams, James M. Nyce, Janine Golden (ed.) Advances in Library Administration and Organization (Advances in Library Administration and Organization, Volume 26) Emerald Group Publishing Limited, pp.41–70.

Robbins, S. P. & Coulter, M. K. (2001). Management. Upper Saddle River, N.J.: Prentice Hall.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2016-06-30

How to Cite

สุจันทรา บ.; กุณฑลบุตร ช. การรับรู้ด้านความรู้ความเข้าใจตอ่ประสิทธิภาพการทำงานเป็นทีมในอุตสาหกรรมการผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์. RMUTT Global Business and Economics Review, Pathum Thani, Thailand, v. 11, n. 1, p. 59–72, 2016. Disponível em: https://so03.tci-thaijo.org/index.php/RMUTT-Gber/article/view/241975. Acesso em: 15 เม.ย. 2025.