ภาพลักษณ์ตราสินค้าและการสื่อสารทางการตลาดแบบครบวงจรที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อน้ำดื่มของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร
คำสำคัญ:
ภาพลักษณ์ตราสินค้า, การสื่อสารทางการตลาดแบบครบวงจร, การตัดสินใจซื้อน้ำดื่มบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาภาพลักษณ์ตราสินค้าและการสื่อสารทางการตลาดแบบครบวงจรที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อน้ำดื่มของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในงานวิจัย คือ ผู้บริโภคที่เลือกซื้อน้ำดื่ม รวมทั้งสิ้นจำนวน 450 คน โดยใช้แบบสอบถามในการเก็บข้อมูล สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมติฐานด้วยการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ ผลการศึกษาโดยรวม พบว่า ภาพลักษณ์ตราสินค้าที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกซื้อน้ำดื่ม ได้แก่ ด้านคุณสมบัติ ด้านคุณค่า ด้านวัฒนธรรม และด้านผู้ใช้ สำหรับการศึกษาปัจจัยทางการตลาดแบบครบวงจรที่มีผลต่อการซื้อน้ำดื่ม ได้แก่ การโฆษณา การออกแบบบรรจุภัณฑ์ และการสื่อสาร ณ จุดขาย ผลการศึกษาที่ได้สามารถนำไปพัฒนาภาพลักษณ์ตราสินค้าเพื่อส่งเสริมศักยภาพในการแข่งขัน โดยอาศัยกลยุทธ์การโฆษณา การจัดส่งเสริมการขาย ณ จุดขาย อีกทั้งยังพบว่า ผู้บริโภคให้ความสำคัญกับมาตรฐานการผลิตที่ได้มาตรฐานสากลซึ่งถือเป็นจุดแข็งในการแข่งขันที่ผู้ประกอบการสามารถนำไปปรับปรุงผลิตภัณฑ์ของตนได้
References
กัลยา วานิชย์บัญชา. (2560). การใช้ SPSS for Windows ในการวิเคราะห์ข้อมูล. (พิมพ์ครั้งที่ 29). ภาควิชาสถิติ คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ทนตวรรณ คณะเจริญ. (2558). กระบวนการการสื่อสารทางการตลาดแบบบูรณาการของธุรกิจที่พักแรม Koh Kood Resort จังหวัดตราด. (การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์).
ปรีย์วรา ฟั่นพรหมมินทร์ และ ไกรชิต สุตะเมือง. (2557, มกราคม-มิถุนายน). อิทธิพลของบรรจุภัณฑ์ที่มีต่อการตัดสินใจซื้อน้ำดื่มของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารการวิจัยทางธุรกิจและการบริหาร, 2(1), 469-472.
รวิช เมฆสุนทรรากุล. (2554). การรับรู้ภาพลักษณ์ของตราสินค้ามีความสัมพันธ์ต่อความภักดีในตราสินค้าสตาร์บัคส์ (Starbucks) ในเขตกรุงเทพมหานคร. (การศึกษาเฉพาะบุคคลปริญญามหาบัญฑิต, มหาวิทยาลัยกรุงทพ).
วุฒิพงษ์ ฐิติรักณ์. (2558). การเปิดรับสื่อ ทัศนคติและเจตนาเชิงพฤติกรรมของผู้บริโภคต่อผลิตภัณฑ์น้ำดื่มบรรจุขวดในประเทศไทย. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย).
วรลักษณ์ วัฒนวรางกูร. (2551). การส่งเสริมการขาย ณ จุดขาย ที่มีผลต่อพฤติกรรมการซื้อน้ำผลไม้พร้อมดื่มในซุปเปอร์มาร์เก็ตของผู้บริโภคในกรุงเทพมหานคร. (สารนิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ).
สิทธิ์ ธีรสรณ์. (2551). การสื่อสารทางการตลาด. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
Pannathat. (2562). แนวโน้มอุตสาหกรรมเครื่องดื่มของไทย ปี 2019-2021. สืบค้นจาก https://riverplus.com/beverage-industry-2019-2021/
Kotler, P. (2003). Marketing management (11th ed.). New Jersey: Prentice Hall.
Kotker, P. (2010). Principles of marketing (13th ed.). New York: Pearson Education.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของผู้นิพนธ์
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี และคณาจารย์ท่านอื่นๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว