การศึกษาพฤติกรรมนักท่องเที่ยวชาวไทยที่มีต่อการท่องเที่ยวมูเตลูของจังหวัดนครพนม
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาพฤติกรรมของนักท่องเที่ยวชาวไทยต่อการท่องเที่ยว มูเตลูในจังหวัดนครพนม และ 2) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างลักษณะทางประชากรศาสตร์และพฤติกรรมนักท่องเที่ยวชาวไทยในการท่องเที่ยวมูเตลูของจังหวัดนครพนม โดยเก็บกลุ่มตัวอย่างจากนักท่องเที่ยวชาวไทยที่เดินทางเข้ามาใช้ท่องเที่ยวในแหล่งท่องเที่ยวเชิงศรัทธาในจังหวัดนครพนมทั้งหมด 400 คน โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล และสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบสมมติฐาน โดยใช้สถิติ Chi – Square ผลการวิจัยพบว่า 1) นักท่องเที่ยวชาวไทยที่สนใจเดินทางมาท่องเที่ยวในจังหวัดนครพนม มีวัตถุประสงค์ในการเดินทางมาท่องเที่ยว/เยี่ยมชมสถานที่เชิงศรัทธา(มูเตลู) มีความถี่ในการเดินทาง 1 ครั้ง/เดือน โดยมีผู้ร่วมเดินทางมากับญาติหรือคนในครอบครัว ซึ่งมีผู้ร่วมเดินทาง 5 คนขึ้นไป โดยมีรถยนต์ส่วนตัว ใช้ระยะเวลาในการเดินทางมา 5 วันหรือมากกว่า มีค่าใช้จ่าย เช่น ค่าเดินทาง ที่พัก ค่าอาหาร เป็นต้น มากกว่า 10,001 บาทขึ้นไป และทราบข้อมูลจากอินเทอร์เน็ต/เว็บไซต์/โซเซียล เน็ตเวิร์ค และ 2) ผลการวิเคราะห์ พบว่า ในภาพรวมลักษณะทางประชากรศาสตร์ มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมของจังหวัดนครพนม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิตที่ระดับ 0.05
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความ ข้อความ ภาพประกอบ และตารางประกอบที่ลงพิมพ์ในวารสารเป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้นิพนธ์ ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้นิพนธ์แต่เพียงผู้เดียว กองบรรณาธิการไม่จำเป็นต้องเห็นตามและไม่มีส่วนรับผิดชอบใด ๆ
References
กองเศรษฐกิจการท่องเที่ยวและกีฬา กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2566). สถิติของ นักท่องเที่ยวชาวไทย. สืบค้น 15 สิงหาคม 2566, จาก, https://secretary.mots.go.th/policy/.
การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย. (2567). ท่องเที่ยวมูเตลู ท่องเที่ยวมิตความเชื่อ เสริมเศรษฐกิจชุมชน. สืบค้น 13 พฤษภาคม 2567, จาก https://tatacademy.com/th/publish/articles/085034.
ขวัญชนก สุวรรณพงศ์. (2564). พฤติกรรมการท่องเที่ยวเชิงพุทธศาสนาในจังหวัดภูเก็ตของนักท่องเที่ยวชาวไทย. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 7(3), 113-128.
ดวงทิพย์ นากระโทก. (2563). แรงจูงใจทางการท่องเที่ยวศาสนาในศาสนสถานที่มีชื่อเสียงในการอธิษฐานขอพรเรื่องความรักในกรุงเทพมหานคร. (ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต). กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
ดวงรัตน์ โกยกิจเจริญ. (2562). พฤติกรรมการท่องเที่ยวสถานที่ท่องเที่ยวเชิงศาสนาของนักท่องเที่ยวในจังหวัดภูเก็ต. วารสารปัญญา, 26(1), 76-85.
พิสมัย จัตุรัตน์ และชวลีย์ ณ ถลาง. (2565). พฤติกรรมของนักท่องเที่ยวชาวไทยที่เดินทางมาท่องเที่ยวในแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในชุมชนของกรุงเทพมหานคร. วารสารวิทยาลัย ดุสิตธานี, 16(2), 50-64.
ภคมน หงส์คู. (2565). พฤติกรรมการท่องเที่ยวและความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวชาวไทยในการท่องเที่ยวย่านเมืองเก่า จังหวัดสงขลา. (ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต). นนทบุรี: มหาวิทยาลัย ธุรกิจบัณฑิตย์.
รวีวรรณ โปรยรุ่งโรจน์. (2558). พฤติกรรมนักท่องเที่ยว. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.
วชิราภรณ์ โลหะชาละ. (2562). พฤติกรรมนักท่องเที่ยว. กรุงเทพฯ: แม็คเอ็ดดูเคชั่น.
วาสนา ขวัญทองยิ้ม ชวลีย์ ณ ถลาง และเสรี วงษ์มณฑา. (2566). พฤติกรรมของนักท่องเที่ยวชาวไทยที่เดินทางมาท่องเที่ยวในแหล่งท่องเที่ยวพหุวัฒนธรรมในจังหวัดสงขลา. วารสาร วิทยาการจัดการวไลยอลงกรณ์ปริทัศน์, 4(1), 43-55.
ศิริเพ็ญ ดาบเพชร. (2565). การวิเคราะห์โมเดลประสบการณ์การท่องเที่ยวที่น่าจดจำและคุณลักษณะของแหล่งท่องเที่ยวที่ส่งผลต่อการกลับมาเที่ยวซ้ำ. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์, 11(5), 218-233.
สรัญพร สุรวิชัย และสุวารี นามวงศ์. (2563). การพัฒนาจุดหมายปลายทางแหล่งท่องเที่ยวเชิงจิต วิญญาณกับพฤติกรรมนักท่องเที่ยวในจังหวัดเชียงใหม่. วารสารวิทยาลัยดุสิตธานี, 14(1), 145-164.
สำนักงานจังหวัดนครพนม กลุ่มงานยุทธศาสตร์และข้อมูลเพื่อการพัฒนาจังหวัด. (2566). แผนพัฒนาจังหวัดนครพนม (พ.ศ. 2566-2570). สืบค้น 15 สิงหาคม 2566, จาก
https://www.2nakhonpanom.go.th/news_struct.
อธิป จันทร์สุริย์. (2564). มูเตลู : ความเชื่อกับการท่องเที่ยว. วารสารทีทัศน์วัฒนธรรม, 20(1), 220-240.
อรไท ครุธเวโช และคณะ. (2565). เส้นทางการท่องเที่ยวเชิงจิตวิญญาณเชื่อมโยงวิถีความเชื่อไทยในจังหวัดเชียงใหม่. วารสารมหาวิทยาลัยคริสเตียน, 28(3), 1-19.
Ezenagu, N., Layefa, G. Okpoko, P. U., & Okpoko, C. C. (2022). Promoting faith-based tourism products in selected sacred spaces of southwestern Nigeria. Pharos Journal of Theology, 103(1), 1-23.
Ezenagu, N., Okpoko, P. U., & Okpoko, C. C. (2021). Faith-based activities and religious tourism in southwestern Nigeria: Challenging factors. IKENGA International Journal of Institute of African Studies, 22(3), 1-25.
Joo, D., & Woosnam, K. (2022). Traveling to feel connected: Origins and outcomes of potential faith-based tourists’ emotional solidarity. Journal of Travel & Tourism Marketing, 39(1), 42-57.
Lindeman, M., & Svedholm, A. M. (2012). What's in a term? Paranormal, superstitious, magical and supernatural beliefs by any other name would mean the same. Review of General Psychology, 16(3), 241–255.
Yamane, T. (1973). Statistics: An Introductory Analysis. 3rd Edition. New York, Harper & Row Publications.