ส่วนประสมการตลาดออนไลน์ และความไว้วางใจ ที่ส่งผลต่อกระบวนการตัดสินใจซื้อทุเรียนจังหวัดอุตรดิตถ์ของผู้บริโภคในประเทศไทย

Main Article Content

ชนนิกานต์ วงษ์สมิตร
ภาศิริ เขตปิยรัตน์
ศิริกานดา แหยมคง

บทคัดย่อ

งานวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อ1) ศึกษาระดับความสำคัญของส่วนประสมการตลาดออนไลน์ ความไว้วางใจ และกระบวนการตัดสินใจซื้อ และ 2) เพื่อต้องการศึกษาส่วนประสมการตลาดออนไลน์ และความไว้วางใจ ที่ส่งผลต่อกระบวนการตัดสินใจซื้อทุเรียนจังหวัดอุตรดิตถ์ของผู้บริโภคในประเทศไทย งานวิจัยเป็นการวิจัยเชิงปริมาณ ประชากร คือ ผู้ที่เคยบริโภคทุเรียนของจังหวัดอุตรดิตถ์ กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 385 คน ใช้วิธีการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม สถิติในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ


             ผลการวิจัย พบว่า ส่วนประสมการตลาดออนไลน์ ภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านการให้บริการส่วนบุคคล มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด สำหรับความไว้วางใจ พบว่า ภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยด้านความสามารถ มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด และกระบวนการตัดสินใจซื้อ พบว่า ภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยพฤติกรรมภายหลังการซื้อ มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด ผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า ส่วนประสมการตลาดออนไลน์ ด้านผลิตภัณฑ์ ด้านการส่งเสริมการตลาด และด้านการให้บริการส่วนบุคคล ส่งผลต่อกระบวนการตัดสินใจซื้อทุเรียนจังหวัดอุตรดิตถ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 อธิบายค่าความผันแปร ได้ร้อยละ 72.70 (R2 = 0.727) และความไว้วางใจ ด้านความสามารถ และด้านความปลอดภัย ส่งผลต่อกระบวนการตัดสินใจซื้อทุเรียนจังหวัดอุตรดิตถ์ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 และนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 คือ ด้านความซื่อสัตย์ อธิบายค่าความผันแปร ได้ร้อยละ 71.40 (R2 = 0.714)

Article Details

How to Cite
วงษ์สมิตร ช. ., เขตปิยรัตน์ ภ. ., & แหยมคง ศ. . (2024). ส่วนประสมการตลาดออนไลน์ และความไว้วางใจ ที่ส่งผลต่อกระบวนการตัดสินใจซื้อทุเรียนจังหวัดอุตรดิตถ์ของผู้บริโภคในประเทศไทย. วิทยาการจัดการวไลยอลงกรณ์ปริทัศน์, 5(2), 64–79. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/MSVAR/article/view/279879
บท
บทความวิจัย

References

ชัชชัย สุจริต และ เบญจวรรณ สุจริต. (2564). รูปแบบการสื่อสารการตลาดแบบบูรณาการที่ส่งผลต่อกระบวนการตัดสินใจซื้อทุเรียนหลงลับแลจังหวัดอุตรดิตถ์. วารสารวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย, 16(58), 13-24.

ตฤณ วัฒโนภาศ. (2561). อิทธิพลของความมีส่วนร่วมต่อตราสินค้า และการโฆษณาทางออนไลน์ที่ส่งผลต่อความไว้วางใจและกระบวนการตัดสินใจซื้อเครื่องดื่มลดน้าหนัก. การค้นคว้าแบบอิสระ ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

ทิพวรรณ สะท้าน และคณะ. (2564). การตัดสินใจของผู้บริโภคต่อการซื้อสินค้าเกษตรออนไลน์. วารสารวิทยาศาสตร์เกษตร, 52(1), 1-9.

บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด. (2564). สินค้าทุเรียนและผลิตภัณฑ์. สืบค้น 29 สิงหาคม 2566, จาก https://postfamily.thailandpost.com/ecommerce-insights.

ประชาชาติธุรกิจ (2563). บูมขายทุเรียนออนไลน์ ชาวสวนมาเองไม่ง้อล้ง. สืบค้น 27 สิงหาคม 2566 จาก https://www.prachachat.net/local-economy/news-462083#google vignette.

พรรณภา สุธัญญพฤทธิ์. (2561). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความไว้วางใจในการซื้อกระเป๋าแบรนด์เนมบนอินเทอร์เน็ตของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร. สารนิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, วิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยมหิดล.

ภัญนภัส พฤกษากิจ และจาตุรันต์ แช่มสุ่น. (2564). ปัจจัยที่ส่งผลต่อกระบวนการตัดสินใจซื้อทุเรียนผลสดผ่านช่องทางออนไลน์ของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร, วารสารบริหารธุรกิจนิด้า, 29, 6-29.

มุรินธรรม กิ่งกาญจน์. (2562). แผนธุรกิจจำหน่ายทุเรียนออนไลน์. การค้นคว้าอิสระ. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ : บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต.

เมทินี โสภา. (2566). รู้จัก ONLINE MARKETING หมดเปลือก! แนวทางหลังโควิดที่คนธุรกิจต้องรู้. สืบค้น 9 กันยายน 2566, จาก https://www.primal.co.th/th/marketing/what-is-online-marketing/.

รวิภา สู้สกุลสิงห์.(2563). ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดออนไลน์ที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์บํารุงผิวหน้าผ่านเว็บไซต์พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ในเขตอําเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก. วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต,มหาวิทยาลัยนเรศวร.

รัชชานนท์ ชัยเจริญ และประพล เปรมทองสุข. (2566). อิทธิพลของความปลอดภัยในการซื้อสินค้าออนไลน์และคุณภาพของสินค้าที่มีต่อความไว้วางใจและความจงรักภักดีของผู้ซื้อสินค้าออนไลน์. วารสารนวัตกรรมการจัดการศึกษาและการวิจัย, 5(2), 291-304.

วิศรุต รามศิริ. (2564). ส่วนประสมการตลาด ความไว้วางใจ และการรับรู้คุณค่าของช่องทางออนไลน์ที่มีผลต่อกระบวนการตัดสินใจซื้ออาหารสัตว์เลี้ยงออนไลน์. การค้นคว้าแบบอิสระ ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและพยากรณ์ทางการเกษตร. (2564). ตลาดเกษตรออนไลน์ยังไม่พุ่ง คนไทยร้อยละ 70.58 บอกยังไม่เคยซื้อ เหตุยังสามารถเลือกซื้อได้ตามปกติและไม่มั่นใจในคุณภาพของสินค้า, แม่โจ้โพลล์, 9: 1-4.

สำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (2563). ทุเรียน ราชาแห่งผลไม้ไทย ถูกใจคนต่างแดน. สืบค้น 28 สิงหาคม 2566, จาก http://www.tpso.moc.go.th/sites/default/files/thueriiyn_240863.pdf.

สำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า. (2566). รมช. พาณิชย์ แนะเร่งเจาะตลาดส่งออกผลไม้ ใหม่ ๆ และกระตุ้นบริโภคในประเทศ. สืบค้น 25 สิงหาคม 2567, จาก https://uploads.tpso.go.th/.

อรุโณทัย ปัญญา. (2562). ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดออนไลน์ที่มีผลต่อกระบวนการตัดสินใจซื้อเสื้อผ้าแฟชั่นผ่านสังคมออนไลน์ (เฟซบุ๊ก) ของนักศึกษาระดับปริญญาตรีในมหาวิทยาลัยเขตอำเภอเมืองจังหวัดเชียงใหม่. การค้นคว้าอิสระมหาบัณฑิต. สาขาวิชาการบริหารธุรกิจมหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

อัคริยา รณศิริ และคณะ. (2564). ปัจจัยส่วนประสมการตลาดออนไลน์ (6Ps) ที่ส่งผลต่อกระบวนการตัดสินใจซื้อเครื่องประดับเงินของผู้บริโภคบนช่องทางเฟซบุ๊ก (Facebook) ในกรุงเทพมหานคร. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเอเชียอาคเนย์, 5(2), 99-110.

อัมรินทร์ออนไลน์. (2567). ร้องเพจหลอกขายทุเรียนได้ไม่ตรงปกสั่งแบบเนื้อไก่ฉีกกลับได้ของเละ. สืบค้น 27 พฤษภาคม 2567 จาก https://www.amarintv.com/news/detail/219402.

Armstrong, Kotler & Opresnik (2017). Principle of Marketing (17' ed.). Lego: Italy.

Grandison, T., and Sloman, M. (2000). A survey of trust in internet applications. IEEE.

Hoang Thi My. (2562). ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมกระบวนการตัดสินใจซื้อสินค้าผ่านอิเล็กทรอนิกส์ ของประชาชนในเขตเทศบาลเมืองมหาสารคาม จังหวัดมหาสารคาม. วิทยานิพนธ์ ปริญญามหาบัณฑิต,มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

Kotler, P. (2000). Marketing management (10th ed.). New Jersey: Prentice-Hall, lnc.

Lewicki, R. J. & Bunker, BB (1995), ‘Trust in Relationships: A Model of Trust Development and Decline’, Conflict, Cooperation, and Justice, Jossey-Bass, San Francisco.

Li Jiayu. (2562). การตัดสินใจเลือกซื้อผลไม้แปรรูปของนักท่องเที่ยวจีนในจังหวัดเชียงใหม่. วิทยานิพนธ์ ปริญญามหาบัณฑิต, ราชภัฏมหาสารคาม.

Nunnally, B. (1994). Psychometric theory (3rd ed). McGraw-Hill: New York.

Schiffman, L. G., & Kanuk, L. L. (2007). Consumer Behavior (9th ed.). New Jersey: Pearson Prentice Hall, Upper Saddle River.

W.G. cochran (1977). Wiley: Sampling Techniques. 3rd ed. New York: John Wiley & Sons.