ความสัมพันธ์ระหว่างกลยุทธ์การสื่อสารการตลาดแฟชั่นรวดเร็ว (Fast Fashion) กับการตัดสินใจซื้อแบรนด์ Chanel ของวัยเริ่มต้นทำงาน ในเขตกรุงเทพมหานคร

Main Article Content

จิรยุทธ อินมิทิน
พรพรหม ชมงาม

บทคัดย่อ

การศึกษาวิจัยเรื่อง ความสัมพันธ์ระหว่างกลยุทธ์การสื่อสารการตลาดแฟชั่นรวดเร็ว (Fast Fashion) กับการตัดสินใจซื้อ แบรนด์ Chanel ของวัยเริ่มต้นทำงาน ในเขตกรุงเทพมหานคร
มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) กลยุทธ์การสื่อสารการตลาดแฟชั่นรวดเร็ว (Fast Fashion) ของแบรนด์ Chanel 2) การตัดสินใจซื้อแบรนด์ Chanel ของวัยเริ่มต้นทำงานในเขตกรุงเทพมหานคร 3) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างกลยุทธ์การสื่อสารการตลาดแฟชั่นรวดเร็ว (Fast Fashion)
กับการตัดสินใจซื้อแบรนด์ Chanel ของวัยเริ่มต้นทำงานในเขตกรุงเทพมหานคร กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา คือ กลุ่มวัยเริ่มต้นทำงาน เพศชายและเพศหญิงที่มีอายุ 15 - 32 ปี ที่มีการตัดสินใจซื้อแบรนด์ Chanel และอาศัยอยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 150 คน ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติสหสัมพันธ์เพียร์สัน (Pearson Product Moment Correlation)
          ผลการศึกษาพบว่า 1) กลุ่มตัวอย่างเห็นว่า การจัดกิจกรรมพิเศษ และการสร้างประสบการณ์เป็นกลยุทธ์การสื่อสารการตลาดแฟชั่นรวดเร็วที่สำคัญ เนื่องจากมีความพึงพอใจต่อการจัดแสดงแฟชั่นโชว์ New Collection ของแบรนด์ Chanel 2) การตัดสินใจซื้อเป็นขั้นตอนสำคัญของ
การตัดสินใจซื้อแบรนด์ Chanel ของกลุ่มตัวอย่างเนื่องจากมีโปรโมชั่นและกิจกรรมส่งเสริมการขาย สามารถเลือกซื้อสินค้าเสริมได้ตามความต้องการ 3) ความสัมพันธ์ระหว่างกลยุทธ์การสื่อสารการตลาดแฟชั่นรวดเร็ว (Fast Fashion) กับการตัดสินใจซื้อแบรนด์ Chanel ของวัยเริ่มต้นทำงาน
ในเขตกรุงเทพมหานคร อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กมลทิพย์ แว่นแก้ว. (2559). กลยุทธ์แฟชั่นรวดเร็ว (Fast Fashion) ที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้า H&M ของผู้บริโภคในกรุงเทพมหานคร. มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

ฉัตยาพร เสมอใจ. (2550). พฤติกรรมผู้บริโภค. กรุงเทพฯ: วีพริ้น.

ณัฐนันท์ มิมะพันธุ์. (2557). ทัศนคติและพฤติกรรมการเลือกซื้อเสื้อผ้าแฟชั่นบนเว็บไซต์เฟซบุ๊กของประชาชนในเขตกรุงเทพมหานคร (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศรีปทุม.

เมธาวี เรืองกาญจนรัตน์ (2563). กลยุทธ์การสื่อสารการตลาดออนไลน์: กรณีศึกษาร้านNoBadDays. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน.

วลีรัตน์ นันทเอกพงศ์ เเละ สายพิณ ปั้นทอง. (2565). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์เสริมอาหารเพื่อสุขภาพของคนวัยทำงานจากร้านสะดวกซื้อในกรุงเทพมหานคร. วารสารนวัตกรรมและการจัดการ หาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา. 7(1) 96-106.

ศิริวรรณ เสรีรัตน์. (2552). การบริหารการตลาด. กรุงเทพฯ: พัฒนาศึกษา.

เสรี วงษ์มณฑา. (2547) . ครบเครื่องเรื่องการสื่อสารการตลาด. กรุงเทพฯ: บริษัทธรรมสาร จำกัด. สิทธิ์ ธีรสรณ์. (2551). การตลาด: จากแนวคิดสู่การปฏิบัติ. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

หทัยรัตน์ เสนาะพล. (2563) การยอมรับเทคโนโลยีและการสื่อสารการตลาดเชิงบูรณาการที่ส่งผลต่อการตั้งใจซื้อเสื้อผ้าแฟชั่นผ่านช่องทาง Facebook Live ของผู้บริโภคชาวไทย (วิทยานิพนธ์). มหาวิทยาลัยรังสิต.

อดุลย์ จาตุรงคกุล. (2543). พฤติกรรมผู้บริโภค . กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

อรพิน ภิรมย์. (2559). การใช้ปัจจัยส่วนประสมการตลาดในการตัดสินใจซื้อเสื้อผาแฟชั่นของผู้บริโภคในเขตบางเขน กรุงเทพมหานคร (สารนิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเกริก.

Duncan, T., (2005). IMC in industry more talk than walk. Journal of Advertising, 34(4), 5-6.

Gallaugher, J. M. (2008). Zara case: Fast fashion from savvy systems. Retrieved from

https://www.gallaugher.com/Zara%20Case.pdf.

Kotler, P. (2003). Marketing management (11th ed.). Upper Saddle River, NJ: Prentice - Hall.

Lamb, C. N., Hair, J. E. and McDaniel, C. (1992). Principles of Marketing. New Jersey: Cengage South Western.