การพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมด้วยการใช้ส่วนประสมทางการตลาด เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวจังหวัดเพชรบุรี

Main Article Content

ยุทธภูมิ สุวรรณเวช
เสรี วงษ์มณฑา
ชวลีย์ ณ ถลาง
ชุษณะ เตชคณา

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่อ 1.ศึกษาลักษณะทางประชากรศาสตร์ของนักท่องเที่ยวชาวไทยที่เดินทางมาท่องเที่ยวจังหวัดเพชรบุรี 2.ศึกษาส่วนประสมทางการตลาดที่มีอิทธิพลต่อนักท่องเที่ยวชาวไทยที่เดินทางมาท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมจังหวัดเพชรบุรี การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ศึกษามีจำนวน 400 คน โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือ สถิติใช้
ในการศึกษาคือ ค่าเฉลี่ย  และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.)


             ผลการวิจัยพบว่าส่วนใหญ่ 1.นักท่องเที่ยวที่เดินทางมาท่องเที่ยวจังหวัดเพชรบุรีร้อยละ 52.25 เป็นเพศหญิง ร้อยละ 30.00 มีอายุ 20 ถึง 29 ปี ร้อยละ 51.50 มีการศึกษาระดับปริญญาตรีหรือเทียบเท่า ร้อยละ 59.00 มีสถานภาพสมรส ร้อยละ 37.25 มีอาชีพอิสระร้อยละ 27.75 มีรายได้ต่อเดือน 15,001 – 20,000 บาท 2.ส่วนประสมทางการตลาดของนักท่องเที่ยว ได้แก่ อาหารและเครื่องดื่ม มีป้ายราคาอาหารและการบริการชัดเจน สินค้าในพื้นที่สาธารณะสามารถซื้อและจัดส่งทางไปรษณีย์ได้ มีสื่อในการส่งเสริมการตลาดท่องเที่ยวมีความหลากหลาย เช่น สื่อออนไลน์ สื่อสิ่งพิมพ์ โทรทัศน์ เป็นต้น เจ้าหน้าที่เต็มใจในการให้บริการและเอาใจใส่ต่อนักท่องเที่ยว แหล่งท่องเที่ยวมีความหลากหลาย มีขั้นตอนการดำเนินงานด้านการท่องเที่ยวที่ได้มาตรฐาน และภายในแหล่งท่องเที่ยวมีกิจกรรมในการบริการสามารถตอบสนองความต้องการของนักท่องเที่ยว เจ้าหน้าที่มีทักษะ มีความรู้ เกี่ยวกับสถานที่ท่องเที่ยว สามารถเข้าใจและอธิบายสถานการณ์การท่องเที่ยวในปัจจุบันได้เป็นอย่างดี

Article Details

How to Cite
สุวรรณเวช ย. ., วงษ์มณฑา เ. ., ณ ถลาง ช. ., & เตชคณา ช. . (2023). การพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมด้วยการใช้ส่วนประสมทางการตลาด เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวจังหวัดเพชรบุรี. วิทยาการจัดการวไลยอลงกรณ์ปริทัศน์, 4(3), 62–77. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/MSVAR/article/view/271074
บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2564). แผนพัฒนาการท่องเที่ยวแห่งชาติ ฉบับที่ 2 (พ.ศ.2560-2564) สืบค้น 20 พฤษภาคม 2564, จาก https://www.mots.go.th.

เขมรัศมี ทูลเกิด. (2552). ความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในปัจจัยการสื่อสารของสถานที่พระรามราชนิเวศน์ จังหวัดเพชรบุรี. มหาวิทยาลัยเกริก กรุงเทพฯ.

ธีรกิติ นวรัตน์ ณ อยุธยา. (2547). การตลาดสำหรับการบริการแนวคิดและกลยุทธ์. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ศิวธิดา ภูมิวรมิน. (2562). แนวทางการส่งเสริมการตลาดการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของจังหวัด นครพนม. วารสารดุสิตธานี, 13(1).

ศุศราภรณ์ แต่งตั้งลำ และอริยา พงษ์พานิชย์. (2563). ปัจจัยที่มีผลต่อการเลือกเดินทางท่องเที่ยวไทยแบบปรกติใหม่. วารสารสหวิทยากรมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์, 4 (1), 12-24.

สำนักงานจังหวัดเพชรบุรี. (2561). แผนพัฒนาจังหวัดเพชรบุรี พ.ศ.2561-2565. สืบค้น 29 ตุลาคม 2564, จาก http://phetchaburi.go.th.

สำนักงานจังหวัดเพชรบุรี. (2564). กลุ่มงานยุทธศาสตร์และข้อมูลเพื่อการพัฒนาจังหวัด สืบค้น 19 เมษายน 2564, จาก https://www.dl.parliament.go.th.

สุทธิชัย ปัญญโรจน์. (2559). กลยุทธ์การตลาด 10 P สำหรับนักธุรกิจ. สืบค้น 19 พฤษภาคม 2564, จาก https://www.gotoknow.org/posts/603191.

เสรี วงษ์มณฑา. (2542). กลยุทธ์การตลาดการวางแผนการตลาด. กรุงเทพมหานคร: ธีระฟิล์มและไซเท็กซ์.

เสรี วงษ์มณฑา. (2564). เอกสารประกอบการสอนคำบรรยาย ส่วนประสมทางการตลาด 10P. วิทยาลัยการจัดการ. กรุงเทพมหานคร มหาวิทยาลัยพะเยา.

อัจฉริยา วสุนันต. (2560). รามเกียรติ์กับการท่องเที่ยวไทย: การสร้างหนังสืออ่านเพิ่มเติมวรรณคดีไทยเพื่อการท่องเที่ยวสำหรับผู้เรียนชาวต่างประเทศ. วารสารศิลปะศาสตร์ปริทัศน์, 12(23), มหาวิทยาลัยหัวเฉียวลิมพระเกียรติ. สมุทรปราการ.