การมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการและการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ เพื่อนำไปสู่การเป็นเมืองสร้างสรรค์ จังหวัดเพชรบุรี

Main Article Content

ใบเฟิร์น วงษ์บัวงาม
ญาณาธร เธียรถาวร

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1.ศึกษาปัญหา อุปสรรคในการจัดการการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์และการพัฒนาสู่เมืองสร้างสรรค์ของอำเภอเมือง จังหวัดเพชรบุรี 2.ศึกษาการมีส่วนร่วมของชุมชนและผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสียในการจัดการการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์และ3.ศึกษาแนวทางการพัฒนาการจัดการการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ของอำเภอเมือง จังหวัดเพชรบุรี กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ หน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคประชาชน ชุมชน และนักท่องเที่ยวในจังหวัดเพชรบุรี โดยการสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจงและแบบอ้างอิงด้วยบุคคลและผู้เชี่ยวชาญ  เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้คือ แบบสัมภาษณ์ และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีการวิเคราะห์เนื้อหาและการตรวจสอบสามเส้า


          ผลการวิจัยพบว่า 1.ไม่ได้พบสภาพปัญหา หรืออุปสรรคในการพัฒนาสู่เมืองสร้างสรรค์ของอำเภอเมือง จังหวัดเพชรบุรี 2.ชุมชนและผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสียพยายามมีส่วนร่วมในแต่ละด้านกับการสร้างสรรค์เมืองเพชรบุรีให้เป็นการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ที่ได้รับการยอมรับจากยูเนสโก ภูมิใจและยินดีร่วมมือสู่เป้าหมายเดียวกันคือการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนและส่งเสริมภาพลักษณ์ของจังหวัดเพชรบุรีให้เป็นที่รู้จักในระดับโลก 3.แนวทางในการจัดการพัฒนาสู่เมืองสร้างสรรค์ของจังหวัดเพชรบุรี มีดังนี้ 1) การประชาสัมพันธ์และการร่วมแรงร่วมใจจากทุกฝ่ายเป็นสิ่งที่สำคัญมาก โดยต้องช่วยสร้างการรับรู้ให้กับนักท่องเที่ยวเรื่องความโดดเด่นของแต่ละชุมชน 2) การดำเนินโครงการที่ทางภาครัฐจัดขึ้นเป็นแนวทางการพัฒนาเมืองสร้างสรรค์ด้านอาหารที่ดี เนื่องจากเทรนด์อาหารสุขภาพเป็นที่นิยมทั่วโลก 3) ควรใส่ใจความยั่งยืนและความต่อเนื่องของนโยบายจากภาครัฐรวมไปถึงงบประมาณที่ลงสู่ชุมชน  4) การสร้างเครือข่ายการท่องเที่ยวของชุมชนที่อยู่ในพื้นที่ใกล้เคียงกันในจังหวัด เพื่อกระจายรายได้จากการท่องเที่ยวไปทุกท้องถิ่น

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กฤษฏิวัชร ชวลิตานนท์ และเพ็ชราภรณ์ ชัชวาลชาญชนกิจ. (2565). ความสัมพันธ์ขององค์ประกอบการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์และปัจจัยการมีส่วนร่วมของชุมชนที่มีการจัดการท่องเที่ยวในจังหวัดชุมพร.วารสารวิทยาการวิจัย, 11(2), 82-90.

กุลแก้ว คล้ายแก้ว, ภัทริศร์ ถนอมสิงห์ และรพีพงศ์ อินต๊ะสืบ. (2564). ท่องเที่ยวเชิงอาหาร:ศักยภาพ และการพัฒนาโมเดลการจัดการท่องเที่ยวโดยเครือข่ายชุมชนบ้านไม้ขาวเชื่อมโยงภูเก็ตเมืองมรดกโลกเมืองสร้างสรรค์วิทยาการอาหาร.วารสารวิชาการนอร์ทเทิร์น, 8 (4),83-94.

โกวิทย์ พวงงาม. (2553). การจัดการตนเองของชุมชนและท้องถิ่น. กรุงเทพฯ: บพิธการพิมพ์.

จิตราภรณ์ เถรวัตร และคณะ. (2566). แนวทางการพัฒนาศักยภาพการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ในจังหวัดสุพรรณบุรี.วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร, 11(3), 1172-1183.

ญาณภา บุญประกอบ และคณะ. (2560). อาหารพื้นถิ่นกับกลไกในการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ กรณีศึกษากลุ่มชาติพันธุ์ลาวครั่ง จังหวัดชัยนาท. วารสารวิทยาลัยดุสิตธานี, 11(พิเศษ), 93-108.

ณัฏฐพัชร มณีโรจน์. (2560). “การจัดการการท่องเที่ยวโดยชุมชน”. วารสารวิชาการการท่องเที่ยวไทย.นานาชาติ. 13(2), 25-46.

นาฬิกอติภัค แสงสนิท และธีระ สินเดชารักษ์. (2556). การท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ การรับรู้ของนักท่องเที่ยว ความพร้อมของเจ้าของกิจกรรม และความเป็นไปได้ของการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ในประเทศไทย. กรุงเทพ ฯ. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ปวีณา งามประภาสม. (2560). การจัดการท่องเที่ยวชุมชน. ลำปาง: มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง.

ลีนวัตร วาลีประโคน, วันชัย สุขตาม และจิรายุ ทรัพย์สิน. (2563). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการท่องเที่ยวชุมชน ในพื้นที่อำเภอประโคนชัย จังหวัดบุรีรัมย์. วารสารการบริหารการปกครองและนวัตกรรมท้องถิ่น, 4(1), 117-129.

สรรเพชร เพียรจัด. (2564). การพัฒนาท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์โดยชุมชนบนดินแดนภูเขาไฟบุรีรัมย์. วารสารวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฎบุรีรัมย์, 16(1), 41-50.

Cohen, J. M., & Uphoff, N. T. (1980). Participation's place in rural development: Seeking clarity through specificity. World development, 8(3), 213-235.

Richards G. & Raymon C. (2009). Creative tourism and local development. Creative Tourism: A global conversation, 78-90.

UNESCO, (2006). Towards Sustainable Strategies for Creative Tourism Discussion Report of the Planning Meeting for 2008. International Conference on Creative Tourism. Santa Fe,New Mexico,USA October 25-27, 2006.

Wurzburger, R., Pratt, S., & Pattakos, A. (Eds.). (2009). Creative tourism, A Global Conversation. Sunstone Press.