การพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ด้วยแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง หมู่ 4 บ้านโพนสูง ตำบลหมื่นไวย อำเภอเมืองนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา

Main Article Content

โชคดี คู่ทวีกุล

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาศักยภาพของการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ และพัฒนาแผนการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ด้วยแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง หมู่ 4 บ้านโพนสูง ตำบลหมื่นไวย อำเภอเมืองนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพรูปแบบการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม มีผู้ให้ข้อมูลหลักจากภาครัฐ ภาคเอกชน ประชาชน และนักท่องเที่ยว รวม 40 คน ใช้แบบสัมภาษณ์เชิงลึก การสังเกตแบบมีส่วนร่วม และการประชุมกลุ่มย่อย มาวิเคราะห์สภาพแวดล้อม (SWOT Analysis) และสังเคราะห์ TOWS Matrix


ผลการศึกษา พบว่า 1) ศักยภาพของการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ด้วยแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงของบ้านโพนสูง คือ มีแหล่งเกษตรกรรมที่หลากหลาย เป็นชุมชนท่องเที่ยวโอทอป นวัตวิถีและได้รับการพัฒนาเป็นหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง ชุมชนร่วมมือในการจัดการท่องเที่ยวและสร้างกิจกรรมการท่องเที่ยวที่สร้างประสบการณ์และความพึงพอใจแก่นักท่องเที่ยว 2) แผนพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ด้วยแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง คือ บ้านโพนสูงจะพัฒนาเป็นจุดหมายปลายทางที่มีแบรนด์ 4 ด้าน พร้อมทั้งวิสัยทัศน์ ยุทธศาสตร์ กลยุทธ์ โครงการ ของแต่ละแบรนด์ คือ แบรนด์ท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ แบรนด์ท่องเที่ยวเชิงเศรษฐกิจ แบรนด์ท่องเที่ยวเชิงสังคม แบรนด์ ท่องเที่ยววัฒนธรรมและการพัฒนาจิตใจ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมการท่องเที่ยว. (2560). การบริหารจัดการแหล่งท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์. สืบค้น 1 ธันวาคม 2566, จาก https://www.dot.go.th/storage/3_01_2562/JiIBmnsOzmzCAgf0M9h83hZ1RoJkUmlPFJA8lTMG.pdf.

กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. (2563). แผนปฏิบัติงาน 21 (Agenda 21). สืบค้น 29 เมษายน 2566, จาก https://www.pcd.go.th/publication/5402.

คมพล สุวรรณกูฏ, กนกวรรณ เบญจาทิกุล และ ณิชาภา เจริญรูป. (2561). รูปแบบการขับเคลื่อนการจัดการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์: ศึกษากรณี การจัดการการท่องเที่ยวเชิงเกษตรในจังหวัดระยอง และจันทบุรี. (รายงานผลการวิจัย) มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี.

นิรมล ขวาของ และคณะ. (2559). แนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงเกษตรอย่างยั่งยืน กรณีศึกษา บ้านขนาบนาก อำเภอปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช. ในรายงานการประชุมวิชาการระดับชาติ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน ครั้งที่ 13: ตามรอยพระยุคลบาท เกษตรศาสตร์กำแพงแสน, (1445-1453). นครปฐม: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

พยอม ธรรมบุตร. (2559). เอกสารประกอบการเรียนการสอนวิชาการจัดการสิ่งแวดล้อมเพื่อการท่องเที่ยว. กรุงเทพฯ: วิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยพะเยา.

พยอม ธรรมบุตร. (2562). แนวทางพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์บนพื้นฐานอัตลักษณ์และวิถีไทยแบบบูรณาการอย่างยั่งยืนในเขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีษะเกษ, 13(3), 65-75.

มูลนิธิชัยพัฒนา. (2560). เศรษฐกิจพอเพียง. สืบค้น 30 เมษายน 2566 จาก https://www.chaipat.or.th/publication/publish-document/tips.html.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2547). กรอบแนวคิดทางทฤษฎีเศรษฐศาสตร์ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.

สำนักงานจังหวัดนครราชสีมา. (2566). แผนพัฒนาจังหวัดนครราชสีมา (พ.ศ. 2566-2570) ฉบับทบทวนประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567. สืบค้น 30 เมษายน 2566, จากhttps://www2.nakhonratchasima.go.th/files/com_ebook_strategy/2022-12_e443e012614a039.pdf.

สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2566). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. สืบค้น 30 เมษายน 2566, จาก https://www.nesdc.go.th/main.php?filename=develop_issue.

สุชานาถ สิงหาปัด. (2561). ท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ทางวัฒนธรรม: กิจกรรมสร้างรายได้เพิ่มแก่ชุมชนผู้ไทบ้านโพน จังหวัดกาฬสินธุ์. วารสารเศรษฐศาสตร์การเมืองบูรพา, 5(1), 53-67.

สุภางค์ จันทวานิช. (2561). วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

เอื้อมพร หลินเจริญ. (2554). การพัฒนารูปแบบการจัดกระบวนการเรียนรู้ เรื่อง การศึกษาชุมชนเพื่อสืบค้นองค์ความรู้และภูมิปัญญาท้องถิ่น. พิษณุโลก: คณะครุศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม.

UNWTO. (2023). UNWTO World Tourism Barometer and Statistical Annex, January 2023. Retrieve April 30, 2023 from https://www.e-unwto.org/doi/abs/10.18111/wtobarometereng.2023.21.1.1.