ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสามารถในการส่งออกของธุรกิจหมอนและที่นอนยางพาราในจังหวัดพัทลุง
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยภายใน ปัจจัยภายนอกและปัจจัยความสามารถในการแข่งขันที่ส่งผลต่อความสามารถในการส่งออกของธุรกิจหมอนและที่นอนยางพาราในจังหวัดพัทลุง ประชากรที่ใช้ในการศึกษา คือ ผู้ประกอบการขนาดเล็กและขนาดกลางในจังหวัดพัทลุง จำนวน 22 ราย โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพื้นฐาน ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และทดสอบสมมติฐาน โดยการวิเคราะห์การถดถอยเชิงพหุที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 ผลการศึกษาพบว่า ปัจจัยภายในและปัจจัยภายนอกส่งผลต่อความสามารถในการส่งออกหมอนและที่นอนยางพาราในระดับมากที่สุด สำหรับปัจจัยความสามารถในการแข่งขันส่งผลต่อความสามารถในการส่งออกหมอนและที่นอนยางพาราในระดับมาก ผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า 1) ปัจจัยภายในที่ส่งผลต่อความสามารถในการส่งออกของธุรกิจหมอนและที่นอนยางพารา ได้แก่ ปัจจัยโครงสร้างองค์กร นโยบาย กลยุทธ์และปัจจัยสถานภาพของอุปสงค์ 2) ปัจจัยภายนอก คือ ปัจจัยทางด้านเศรษฐกิจ และ 3) ปัจจัยความสามารถในการแข่งขัน คือ ความสามารถของผลิตภัณฑ์ ธุรกิจที่มีโครงสร้างภายในที่เข้มแข็ง สามารถปรับตัวเข้ากับการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจได้ และมีผลิตภัณฑ์ที่เป็นเอกลักษณ์จะมีโอกาสสูงในการประสบความสำเร็จในตลาดส่งออก
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความ ข้อความ ภาพประกอบ และตารางประกอบที่ลงพิมพ์ในวารสารเป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้นิพนธ์ ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้นิพนธ์แต่เพียงผู้เดียว กองบรรณาธิการไม่จำเป็นต้องเห็นตามและไม่มีส่วนรับผิดชอบใด ๆ
References
กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ. (2565). ยางพาราและผลิตภัณฑ์. สืบค้นจาก https://api.dtn.go.th/files/v3/6243c722ef4140df62517ab1.
กรณิศ แซ่จุ้ง. (2564). ศักยภาพทางการค้าและโอกาสทางการตลาดการส่งออกผลิตภัณฑ์หมอนและที่นอนยางพาราไทยในตลาดประเทศเวียดนาม (สารนิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยมหิดล.
ณัฐพร ปิยนันท์โรจนกุล. (2564). ศักยภาพทางการค้าและโอกาสทางการตลาดการส่งออกผลิตภัณฑ์หมอนและที่นอนยางพาราไทยในตลาดประเทศญี่ปุ่น. (สารนิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยมหิดล.
ปิยากร พรพีรวิชญ์ และคณะ. (2565). ปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อความสามารถในการส่งออกยางพาราทางถนนผ่านชายแดน จังหวัดสงขลา. วารสารบริหารธุรกิจและภาษา. 10(1), 38-52.
พรเพ็ญ ทิพยนา และคณะ. (2566). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการตัดสินใจทำประกันภัยรถยนต์ภาคสมัครใจ ในช่วงสถานการณ์โควิด-19 ของผู้ใช้รถยนต์ในจังหวัดสุราษฎร์ธานี. วารสารเศรษฐศาสตร์และบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยทักษิณ. 15(2). 143-157.
สุจินดา เจียมศรีพงษ์. (2561). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสามารถในการส่งออกของธุรกิจสมุนไพรในจังหวัดพิษณุโลก. วารสารบริหารธุรกิจ เศรษฐศาสตร์และการสื่อสาร. 12(2), 161-175.
Aaby, N.E., & Slater, S.F. (1989), Management influences on export per performance: A review of the empirical literature 1978-1988. International Marketing Review, 6(4), 7-26.
Analoui, F. (2007). Strategic Human Resource Management. London: Thomson Learning.
Dijk, M.V. (2002). The determinants of performance in developing countries: The case of Indonesian Manufacturing. Eindhoven: Eindhoven Centre for Innovation Studies.
Lutz, C. H. M., & Tesfom, G. (2006). A classification of export marketing problems of small and medium-sized manufacturing firms in developing countries. International Journal of Emerging Markets, 1(3), 262 - 281.
Mooney, A. (2007). The core competence, distinctive competence, and competitive advantage: What is the difference? Journal of Education for Business. 82(2), 110-115.
Porter, Michael, E. (1998). Competitive strategy: techniques for analyzing industries and competitors. New York: Free Press.
Rothaermel, F. T. (2017). Strategic management. New York, NY: McGraw-Hill Education.
Summut-Bonnici, T., & Galea, D. (2015). PEST Analysis. In Wiley Encyclopedia of Management. Hoboken, NJ: John Wiley & Sons, New York.