ประสิทธิภาพในการบริหารสินทรัพย์ สภาพคล่องทางการเงินและความสามารถในการชำระหนี้สิน ที่ส่งผลกระทบต่อความสามารถในการทำกำไรและผลตอบแทนจากเงินปันผลของบริษัท จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยกลุ่มอุตสาหกรรมเกษตรและอุตสาหกรรมอาหาร
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยฉบับนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาประสิทธิภาพในการบริหารสินทรัพย์ สภาพคล่องทางการเงิน และความสามารถในการชำระหนี้สินที่ส่งผลกระทบต่อความสามารถในการทำกำไร และ ผลตอบแทนจากเงินปันผลของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยกลุ่มอุตสาหกรรมเกษตรและอุตสาหกรรมอาหาร ระหว่างปี พ.ศ.2563 – พ.ศ.2565 ระยะเวลา 3 ปี จำนวน 32 บริษัท กลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้น 96 รายบริษัทรายปี (Firm-Years) โดยใช้สถิติการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณนา การวิเคราะห์หาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณเพื่อทดสอบสมมติฐานการวิจัย ผลการวิจัยพบว่า ประสิทธิภาพในการบริหารสินทรัพย์ที่วัดค่าด้วยอัตราส่วนหมุนเวียนของสินทรัพย์รวมมีผลกระทบเชิงบวกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05ต่อความสามารถในการทำกำไรที่วัดค่าด้วยอัตราผลตอบแทนต่อสินทรัพย์ทั้งหมดโดยมีค่าสถิติอยู่ที่ 0.000 อัตราผลตอบแทนต่อส่วนของผู้ถือหุ้นโดยมีค่าสถิติอยู่ที่ 0.000 และอัตรากำไรขั้นต้นโดยมีค่าสถิติอยู่ที่ 0.003 สภาพคล่องทางการเงินที่วัดค่าด้วยอัตราส่วนเงินทุนหมุนเวียนและอัตราส่วนเงินทุนหมุนเวียนเร็วมีผลกระทบเชิงบวกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 ต่อความสามารถในการทำกำไรที่วัดค่าด้วยอัตรากำไรขั้นต้นโดยมีค่าสถิติอยู่ที่ 0.003 ทั้งสองอัตรา ความสามารถในการชำระหนี้สินที่วัดค่าด้วยอัตราส่วนหนี้สินต่อส่วนของผู้ถือหุ้น และความสามารถชำระดอกเบี้ยมีผลกระทบเชิงบวกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 ต่อความสามารถในการทำกำไรที่วัดค่าด้วยอัตรากำไรสุทธิโดยมีค่าสถิติอยู่ที่ 0.000 และ 0.008 ตามลำดับ
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความ ข้อความ ภาพประกอบ และตารางประกอบที่ลงพิมพ์ในวารสารเป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้นิพนธ์ ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้นิพนธ์แต่เพียงผู้เดียว กองบรรณาธิการไม่จำเป็นต้องเห็นตามและไม่มีส่วนรับผิดชอบใด ๆ
References
กระทรวงอุตสาหกรรม. (2564). เศรษฐกิจอุตสาหกรรม. สืบค้น 25 มิถุนายน 2566, จากhttps://www.industry.go.th/th/industrial-economy/9980.
จิรัญญา ตาวงษ์. (2563). อิทธิพลของการจัดการเงินทุนหมุนเวียนและอัตราส่วนกระแสเงินสดที่มีต่อความสามารถในการทำกำไรของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย: กลุ่มอุตสาหกรรมทรัพยากร (ค้นคว้าอิสระบัญชีมหาบัณฑิต). กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยศรีปทุม.
ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. (2558). คู่มือ (Manual Guides). สืบค้น 25 มิถุนายน 2566, จาก https://media.set.or.th/set/Documents/2022/Mar/SET_Formula_Glossary.pdf.
ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. (2563). อยากรู้ เขาดูอะไรในอัตราส่วนทางการเงิน. สืบค้น 25 มิถุนายน 2566, จาก https://www.setinvestnow.com/th/knowledge/article/169-the-usefulness-of-financial-ratio.
ปิยะพร สารสุวรรณ. (2562). อัตราส่วนเงินปันผลตอบแทนกับผลการดำเนินงานของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย กลุ่มอุตสาหกรรมเทคโนโลยีสารสมเทศและการสื่อสาร (ICT) (สารนิพนธ์บัญชีมหาบัณฑิต). กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.
ศรัญญา สิงห์วะราช. (2562). อิทธิพลของอัตราส่วนทางการเงินด้านประสิทธิภาพการดำเนินงานที่ส่งผลต่อความสามารถในการทำกำไรของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ แห่งประเทศไทยกลุ่ม SET 100 (วิทยานิพนธ์บัญชีมหาบัณฑิต) กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.
โสภณ บุญถนอมวงศ์. (2558). ความสัมพันธ์ระหว่างความสามารถในการทำกำไรและประสิทธิภาพการบริหารสินทรัพย์ (ค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
สายธาร บุญปองหา. (2562). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสามารถในการทำกำไรของบริษัทจดทะเบียนในกลุ่มอุตสาหกรรม เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. (ค้นคว้าอิสรบัญชีมหาบัณฑิต) กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย.
สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม. (2561). ยุทธศาสตร์และแผนปฎิบัติการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม. สืบค้น 25 มิถุนายน 2566, จาก https://www.sme.go.th/upload/mod_download/download-20191022060242.pdf.
Martha, C. (2017). Factors Affecting the Profitability of Indonesian Real Estate Publicly-listed Companies. Asian Journal of Finance & Accounting