สภาพปัญหาและแนวทางแก้ไขปัญหาในกระบวนการเขียนข่าวประชาสัมพันธ์ของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี

Main Article Content

อลงกรณ์ รัตตะเวทิน

บทคัดย่อ

     การศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษากระบวนการเขียนข่าวประชาสัมพันธ์ 2) สภาพปัญหาในกระบวนการเขียนข่าวประชาสัมพันธ์ และ 3) แนวทางแก้ไขปัญหาในกระบวนการเขียนข่าวประชาสัมพันธ์ ของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี โดยมีผู้ให้ข้อมูลหลัก 3 กลุ่มคือ กลุ่มผู้บริหาร กลุ่มผู้ปฏิบัติงาน และกลุ่มผู้เชี่ยวชาญ รวมทั้งหมด 7 คน จากการเลือกแบบเจาะจง และเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึกเป็นรายบุคคลด้วยแบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง
     ผลการวิจัยในภาพรวมพบว่า กระบวนการเขียนข่าวประชาสัมพันธ์ของกองประชาสัมพันธ์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี มี 3 ขั้นตอนหลักคือ 1) ขั้นตอนก่อนการเขียนข่าว 2) ขั้นตอนระหว่างการเขียนข่าว และ 3) ขั้นตอนหลังการเขียนข่าว ส่วนสภาพปัญหาในกระบวนการเขียนข่าวประชาสัมพันธ์ มีทั้งหมด 7 ด้าน คือ 1) ปัญหาด้านประเด็นข่าว 2) ปัญหาด้านการวิเคราะห์องค์ประกอบเพื่อกำหนดเรื่องที่เขียน 3) ปัญหาด้านการเข้าถึงแหล่งข้อมูลและการรวบรวมข้อมูล
4) ปัญหาด้านการเลือกใช้ถ้อยคำและภาษา 5) ปัญหาด้านการตรวจทานความถูกต้อง 6) ปัญหาด้านการเผยแพร่ผ่านสื่อมวลชน และ 7) ปัญหาด้านการประเมินผล สำหรับแนวทางแก้ไขปัญหา
ในกระบวนการเขียนข่าวประชาสัมพันธ์ สรุปได้ 2 แนวทางหลัก คือ 1) แนวทางการแก้ไขระดับปัจเจกบุคคลของนักประชาสัมพันธ์ ด้วยการพัฒนาทักษะเดิมและการเพิ่มเติมทักษะใหม่ในด้านการประชาสัมพันธ์ และ 2) แนวทางการแก้ไขปัญหาระดับองค์กร คือการจัดตั้งศูนย์บริหารจัดการข้อมูล เพื่อการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวระหว่างหน่วยงาน องค์กร และสื่อมวลชน

Article Details

How to Cite
รัตตะเวทิน อ. (2023). สภาพปัญหาและแนวทางแก้ไขปัญหาในกระบวนการเขียนข่าวประชาสัมพันธ์ของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี. วิทยาการจัดการวไลยอลงกรณ์ปริทัศน์, 4(2), 18–36. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/MSVAR/article/view/269027
บท
บทความวิจัย

References

จันทิกา สุภาพงษ์, โสรยา งามสนิท และหัสพร ทองแดง. (2561). การพัฒนารูปแบบการประเมินการบริหารจัดการของสหกรณ์เคหสถาน ชุมชนริมคลองลาดพร้าว. วารสารวิชาการสถาบันเทคโนโลยีแห่งสุวรรณภูมิ, 4(2), 377-393.

ชาย โพธิสิตา. (2554). ศาสตร์และศิลป์แห่งการวิจัยเชิงคุณภาพ (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ: อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง.

ณัฏฐ์ชุดา วิจิตรจามรี. (2559). หลักการประชาสัมพันธ์. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

ณัฐา ฉางชูโต. (2557). การประชาสัมพันธ์: หลักการและวิธีปฏิบัติ. ปทุมธานี: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

นภวรรณ ตันติเวชกุล. (2560). การเขียนเพื่อการประชาสัมพันธ์ หลักการและหลักปฏิบัติพื้นฐาน. นนทบุรี: 21 เซ็นจูรี่.

นาราภัทร อัญชนานันท์. (2563). ปัญหาและวิธีแก้ไขปัญหาในกระบวนการเขียนข่าวเพื่อการประชาสัมพันธ์. (สารนิพนธ์). ปทุมธานี. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. สืบค้นจาก https://digital.library.tu.ac.th/tu_dc/frontend/Info/item/dc:179456.

บุญมี พันธุ์ไทย. (2565). การวิจัยเชิงคุณภาพ. วารสารปรัชญาดุษฎีบัณฑิตทางสังคมศาสตร์, 1(2), 1-10.

บุบผา เมฆศรีทองคำ. (2556). การสื่อข่าวและการเขียนข่าว (พิมพ์ครั้งที่ 2). ปทุมธานี: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

ประไพพิมพ์ สุธีวสินนนท์ และประสพชัย พสุนนท์. (2559). กลยุทธ์การเลือกตัวอย่างสำหรับงานวิจัยเชิงคุณภาพ. วารสารปาริชาติ มหาวิทยาลัยทักษิณ, 29(2), 31-48.

พนม คลี่ฉายา. (2561). หลัก เทคนิค และวิธีการประเมินผลการประชาสัมพันธ์. นนทบุรี: 21 เซ็นจูรี่.

พรรษา รอดอาตม์. (2559). กลยุทธ์การเขียนในงานประชาสัมพันธ์. ปทุมธานี: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

รุ่งรัตน์ ชัยสำเร็จ. (2557). การเขียนเพื่อการประชาสัมพันธ์ (พิมพ์ครั้งที่ 8). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

วัชรพงษ์ พนิตธำรง. (2564). การบริหารการประชาสัมพันธ์ในงานตำรวจ. วารสารศิลปศาสตร์ราชมงคลสุวรรณภูมิ, 3(3), 359-369.

วัลนิภา ฉลากบาง. (2560). การวิจัยแบบผสมผสาน. วารสารนครพนม, 7(2), 124-132.

สุนิสา ประวิชัย. (2559). การเขียนงานประชาสัมพันธ์ขั้นพื้นฐาน. ปทุมธานี: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

สุนิสา ประวิชัย. (2562). การประเมินคุณค่าข่าวประชาสัมพันธ์ เปรียบเทียบระหว่างนักประชาสัมพันธ์และผู้รับสาร. วารสารนิเทศศาสตรปริทัศน์, 23(3), 102-111.

อลงกรณ์ รัตตะเวทิน. (2561). การวิเคราะห์เนื้อหาข่าวสารมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรีในหนังสือพิมพ์รายวันภาษาไทย. (การค้นคว้าอิสระนิเทศศาสตรมหาบัณฑิต). ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.