การประยุกต์ใช้เทคนิค AHP – TOPSIS เพื่อเลือกที่ตั้งที่เหมาะสม ในการจัดตั้งศูนย์จำหน่ายและกระจายสินค้าโอทอป ตามแนวเส้นทางรถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดง

Main Article Content

อุไร นัยพรม
ปริญ วีระพงษ์

บทคัดย่อ

     งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อหาทำเลที่ตั้งที่เหมาะสมในการจัดตั้งศูนย์จำหน่ายและกระจายสินค้าโอทอป ตามแนวเส้นทางรถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดง โดยใช้กระบวนการวิเคราะห์เชิงลำดับชั้น AHP และเทคนิคการตัดสินใจแบบหลายเกณฑ์ TOPSIS มาจัดลำดับความเหมาะสมของแต่ละทำเล จำนวน 13 สถานี โดยใช้กลุ่มตัวอย่าง 2 กลุ่ม คือ ผู้บริหารและนักวิชาการ จำนวน 34 คน และผู้โดยสารรถไฟฟ้าสายสีแดงและผู้ประกอบการโอทอป รวม 400 คน
     ผลการวิจัย พบว่า ปัจจัยที่มีระดับความสำคัญต่อการเลือกทำเลที่ตั้งสูงที่สุด ได้แก่ ปริมาณผู้โดยสาร คิดเป็นร้อยละ 33 รองลงมา คือ ความสะดวกในการเข้าถึงสถานี คิดเป็นร้อยละ 19 ค่าเช่า คิดเป็นร้อยละ 17 การขนส่ง คิดเป็นร้อยละ 10 แหล่งผลิตสินค้า คิดเป็นร้อยละ 8 ขนาดพื้นที่ คิดเป็นร้อยละ 5 แรงงานและทัศนคติคิดเป็นร้อยละ 3 มูลค่าที่ดินและสิ่งก่อสร้าง คิดเป็นร้อยละ 2 ตามลำดับ สำหรับผลการวิเคราะห์ด้วยเทคนิคการตัดสินใจแบบหลายเกณฑ์ TOPSIS พบว่า ทำเลที่เหมาะสมในการจัดตั้งเป็นศูนย์จำหน่ายและกระจายสินค้า เรียงลำดับตามความเหมาะสมจากมากที่สุดไปหาน้อยที่สุด ได้แก่ สถานีหลักหก สถานีรังสิต สถานีบางบำหรุ สถานีบางซ่อน สถานีตลิ่งชัน สถานีทุ่งสองห้อง สถานีการเคหะ สถานีหลักสี่ สถานีดอนเมือง สถานีบางเขน สถานีวัดเสมียนนารี สถานีจตุจักร และสถานีกลางบางซื่อ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย. (2561). รายได้ยอดจำหน่ายสินค้าโอทอป. จาก http://logi.cdd.go.th/otop/cdd_report/otop_r06.php.

ธีรยุทธ มูเล็ง. (2561). การตัดสินใจเลือกที่ตั้งศูนย์กระจายสินค้าเกษตรในจังหวัดยะลาด้วยวิธี FUZZY TOPSIS. (วิทยาศาสตร์มหาบัญฑิต). สาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทานวิทยาลัยโลจิสติกส์และซัพพลายเชน มหาวิทยาลัยศรีปทุม.

ประชาชาติธุรกิจ. (2563). โควิดทุบยอดขาย OTOP วูบ 2 หมื่นล้าน เร่งช่วยทำตลาดออนไลน์. จาก https://www.prachachat.net/local-economy/news-528160)

พนารัตน์ เหล่าพงศ์เจริญ. (2560). การหาทำเลที่ตั้งคลังสินค้าด้วยเทคนิควิธีศูนย์กลางโน้มถ่วงและวิธีการประเมินระดับความสำคัญของปัจจัย กรณีศึกษา : ธุรกิจนำเข้าวัตถุดิบอาหาร (วิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต). สาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน วิทยาลัยโลจิสติกส์และซัพพลายเชน มหาวิทยาลัยศรีปทุม.

ยุพิน วงษ์วิลาศ. (2557). การวิเคราะห์การเลือกที่ตั้งศูนย์กระจายสินค้า กรณีศึกษา : ธุรกิจบริการจัดส่งและกระจายสินค้าอุปโภคบริโภค. (วิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต). คณะโลจิสติกส์, สาขาการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน มหาวิทยาลัยบูรพา.

วิฑูรย์ ตันศิริคงคล. (2542). AHP กระบวนการตัดสินใจที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในโลก. กรุงเทพฯ: กราฟฟิค แอนด์ ปริ้นติ้ง เซ็นเตอร์. วิทยาลัยโลจิสติกส์และซัพพลายเชน มหาวิทยาลัยศรีปทุม.

วรพจน์ พันธุ์คง, ธรินี มณีศรี, ชวลิต มณีศรี. (2560). การประยุกต์ใช้กระบวนการวิเคราะห์เชิงลำดับชั้นสำหรับการประเมินทำเลที่ตั้งโรงงานผลิตเชื้อเพลิงชีวมวล. วิศวสารลาดกระบัง, 34(2), 37-43.

ศราวุธ ไชยธงรัตน์ และ ณัฐพัชร์ อารีรัชกุลกานต์. (2021). การประยุกต์ใช้กระบวนการวิเคราะห์เชิงลำดับชั้นในการคัดเลือกผู้ขายอย่างยั่งยืน กรณีศึกษา บริษัท เอ บี ซี. Journal of Logistics and Supply Chain College, 7 (2), 5-17.

สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร. (2566). Transit Oriented Development. จาก http://thailandtod.com/Whatistod.html.

Posttoday. (2562). 'ซีเอ็มเอ็มยู' ชำแหละจุดอ่อนสินค้าโอทอปไทย ต้องเข้าใจมุมมองผู้บริโภค. จาก https://www.posttoday.com/business/599771.

Ramadhan, R., Syah, T.Y., Indradewata, R., & Fajarwati, D. (2021). Determination of Factory Location PT. Kelola Lingkungan Kita Using Factor Rating. Journal of Multidisciplinary Academic.

Sharma, P. a. P., Rakesh and Baser, Vinod and Kurukshetra, Haryana, (2012). Analysis of site selection based on factors rating. International Journal of Emerging trends in Engineering and Development, 616-622.