ปัจจัยด้านโลจิสติกส์ที่ส่งผลต่อความพึงพอใจในการใช้บริการบริษัทขนส่งสินค้าเอกชนของผู้ประกอบการร้านขายเสื้อผ้าออนไลน์ ในเขตพื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑล
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อความพึงพอใจต่อการใช้บริการบริษัทขนส่งสินค้าเอกชน ของผู้ประกอบการจำหน่ายเสื้อผ้าออนไลน์ในเขตพื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑล กลุ่มตัวอย่างสำหรับงานวิจัยนี้ คือผู้ประกอบการร้านขายเสื้อผ้าออนไลน์ ที่อยู่ในเขตพื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑล จำนวน 400 ราย เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมติฐาน โดยใช้การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One – Way ANOVA) และการวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน (Pearson Correlation) ผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่าปัจจัยส่วนบุคคล อันได้แก่ เพศ และรายได้ที่แตกต่างกัน ส่งผลต่อระดับความพึงพอใจต่อการใช้บริการบริษัทขนส่งสินค้าเอกชน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ และปัจจัยด้านโลจิสติกส์ทุกด้านมีความสัมพันธ์ในระดับสูงกับระดับความพึงพอใจต่อการใช้บริการบริษัทขนส่งสินค้าเอกชนที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 โดยปัจจัยด้านการให้บริการมีความสำคัญมากที่สุด ตามด้วยต้นทุนโลจิสติกส์ ความปลอดภัยของสินค้า ระยะเวลาในการขนส่งสินค้า และระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ
ที่ใช้ในการให้บริการ ตามลำดับ
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความ ข้อความ ภาพประกอบ และตารางประกอบที่ลงพิมพ์ในวารสารเป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้นิพนธ์ ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้นิพนธ์แต่เพียงผู้เดียว กองบรรณาธิการไม่จำเป็นต้องเห็นตามและไม่มีส่วนรับผิดชอบใด ๆ
References
กรวิท ชุณห์อนุรักษ์ (2562). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความพึงพอใจในการเลือกผู้ให้บริการขนส่งโลจิสติกส์ของผู้ประกอบการอีคอมเมิร์ซ. (การค้นคว้าอิสระ ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต) มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
กิตตินาท นุ่นทอง ภัทรพล ชุ่มมี และ วงศ์ธีรา สุวรรณิน (2562). รูปแบบคุณภาพการบริการโลจิสติกส์ของผู้ให้บริการโลจิสติกส์ในประเทศไทย. BU ACADEMIC REVIEW, 18(2). (26-41).
คฑาวุธ เจียมบัว และสันติธร ภูริภักดี (2563). ผลของคุณภาพการบริการที่ส่งผลต่อความภักดีของลูกค้า: กรณีศึกษาผู้ให้บริการโลจิสติกส์แบบขนส่งด่วนในประเทศไทย. วารสารวิทยาการจัดการวไลยอลงกรณ์ปริทัศน์, 1(2). (34-60)
ฐาปนี เรืองศรีโรจน์ และ สรียา วิจิตรเสถียร (2563) คุณภาพการบริการโลจิสติกส์สำหรับธุรกิจพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ตามแบบจำลองของคาโน. วารสารการจัดการและการพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฎอุบลราชธานี, 7(2). (133-148).
ณัฐวิมล จักรนวรัตน์ และ นพปฎล สุวรรณทรัพย์ (2563) ศึกษาความพึงพอใจต่อประสิทธิภาพการให้บริการขนส่ง พัสดุกรณีศึกษา บริษัท SCG Express. การประชุมผลงานการวิจัยและวิชาการ นวัตกรรมธุรกิจและการเป็นผู้ประกอบการ. (น.543 – 561) ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยรังสิต
ปุญญภพ ตันติปิฎก (2565). เกาะติดตลาดขนส่งพัสดุ 2022 : เร่งปรับตัวและขยายสู่ตลาดใหม่ในวันที่การแข่งขันยังรุนแรงต่อเนื่อง, สืบค้น 10 มิถุนายน 2565, จาก https://www.marketthink.co/27064
พงษ์พัฒน์ เถาทอง และ พัฒน์ พิสิษฐเกษม (2563) ปัจจัยที่มีผลต่อความพึงพอใจผู้ใช้อาคารโดยสารขาออก ของสนามบินสุวรรณภูมิ. การประชุมผลงานการวิจัยและวิชาการ นวัตกรรมธุรกิจและการเป็นผู้ประกอบการ. (459 – 477) ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยรังสิต
รัชนีกร ทองรอด (2565). เทรนด์สินค้าที่จะขายดีบนออนไลน์ปี 2565. สืบค้น 1 พฤษภาคม 2565, จาก ศูนย์รวมข้อมูลธุรกิจเอสเอ็มอี (https://www.smethailandclub.com)
วิริยา บุญมาเลิศ. 2560. ปัจจัยของกิจกรรมโลจิสติกส์ด้านการขนส่งและกระจายสินค้าที่มีผลต่อความพึงพอใจของลูกค้าธุรกิจบริการโลจิสติกส์ในประเทศไทย. (วิทยานิพนธ์ ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต). วิทยาลัยโลจิสติกส์และซัพพลายเชน มหาวิทยาลัยศรีปทุม.
ศิริวรรณ เสรีรัตน์ และคณะ. (2538). การบริหารการตลาดยุคใหม่. กรุงเทพ: พัฒนาศึกษา.
พระสยาม Magazine (2564). ส่องเทรนด์การค้าออนไลน์ไทยจากวิกฤติโควิด 19. สืบค้น 1 พฤษภาคม 2565. จากhttps://www.bot.or.th/Thai/BOTMagazine/Pages/256401TheKnowledge_CommerceTrend.aspx
Cochran, W.G. (1977) Sampling Techniques. 3rd Edition, John Wiley & Sons, New York.