การพัฒนาข่าวออนไลน์เชียงใหม่เพื่อตอบสนองความต้องการของท้องถิ่น

Main Article Content

ธรรมกิตติ์ ธรรมโม

บทคัดย่อ

การวิจัยเรื่อง “การพัฒนาข่าวออนไลน์เชียงใหม่เพื่อตอบสนองความต้องการของท้องถิ่น”   มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงรูปแบบและประเภทเนื้อหาของข่าวออนไลน์จังหวัดเชียงใหม่ ความคิดเห็นของผู้รับสาร เพื่อเป็นแนวทางการพัฒนาข่าวออนไลน์เชียงใหม่ให้ตอบสนองความต้องการของท้องถิ่น ใช้วิธีการศึกษาด้วยการออกแบบสอบถาม การสัมภาษณ์ และการวิเคราะห์เนื้อหา


ผลการศึกษาพบว่าสื่อเพื่อการรายงานข่าวทางออนไลน์ของเมืองเชียงใหม่นำเสนอข่าวตามกระแส (Passive news) เพื่อเสนอเรื่องราวที่เกิดขึ้นตามเนื้อผ้า ในสัดส่วนถึงร้อยละ 95.5 และมีข่าวที่เป็นการเจาะข่าว (Active news) เพื่อนำเสนอประเด็นที่เป็นสาระ (Serious matters) อันจะเป็นประโยชน์ต่อท้องถิ่นเพียงร้อยละ 4.5 โดยที่ผู้รับสารประเมินคุณภาพของข่าวออนไลน์เชียงใหม่อยู่ในระดับปานกลาง (= 3.20) เท่านั้น


ข่าวออนไลน์เชียงใหม่ ส่วนใหญ่ยังเผชิญการจัดการภายในองค์กร มุ่งเน้นความรวดเร็วในการเสนอข่าว ขาดการกลั่นกรองความถูกต้องของข่าว แนวทางการพัฒนาข่าวออนไลน์ จะต้องปรับตัวโดยเสนอข่าวสาธารณะอย่างรอบด้าน มีทัศนะวิพากษ์ มุ่งเน้นเรื่องราวที่เป็นสาระต่อสังคม นอกจากนี้จะต้องปรับเข็มมุ่งจากการมุ่งเน้นยอดผู้ติดตาม มาเป็นการเปิดให้สาธารณะเข้ามามีส่วนร่วมในกระบวนการรายงานข่าวด้วยการเสนอภาพ เรื่องราวที่เกิดขึ้นในชุมชน ซึ่งจะทำให้สื่อออนไลน์มีความผูกพันกับท้องถิ่นมากขึ้น และจะนำไปสู่แนวทางการพัฒนาที่ยังยืน

Article Details

How to Cite
ธรรมโม ธ. (2021). การพัฒนาข่าวออนไลน์เชียงใหม่เพื่อตอบสนองความต้องการของท้องถิ่น. วิทยาการจัดการวไลยอลงกรณ์ปริทัศน์, 2(2), 12–26. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/MSVAR/article/view/252174
บท
บทความวิจัย

References

กฤษณ์ ทองเลิศ. (2539). สื่อมวลชน การเมืองและวัฒนธรรม. กรุงเทพ: โรงพิมพ์ส่วนท้องถิ่น.

ดนยา ธัชชนก. (2537). หนังสือพิมพ์ท้องถิ่นรายวันจังหวัดเชียงใหม่กับการกำหนดวาระข่าวสาร

การพัฒนาให้แก่ชุมชน. วิทยานิพนธ์นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต. คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ธรรมกิตติ์ ธรรมโม (2560). ความคาดหวังของประชาชนที่มีต่อหนังสือพิมพ์ท้องถิ่นเชียงใหม่และการ

พัฒนาไปสู่ความเป็นสื่อพลเมือง. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์น. 12(3), 292-309.

บรรยงค์ สุวรรณผ่อง. (2559). สถานภาพและบทบาทของหนังสือพิมพ์ท้องถิ่นในประเทศไทย. สืบค้นเมื่อ 31 พฤษภาคม 2559, จากเวบไซต์

http://www.tja.or.th/index.php?option=com_rokdownloads&view=folder&Itemid=27&i d=733:

ปาริชาต สถาปิตานนท์. (2557). ระเบียบวิธีวิจัยการสื่อสาร พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพ: สำนักพิมพ์แห่ง

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุรัตน์ นุ่มนนท์ (2530). ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับสื่อสิ่งพิมพ์ พิมพ์ครั้งที่ 2. ในคณะกรรมการกลุ่มผลิต

ชุดความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับสื่อสิ่งพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช (บก.). ความหมายและความสำคัญของสื่อสิ่งพิมพ์ (1-88). นนทบุรี: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

ภาษาอังกฤษ

Cronbach, L.J. (1970), Essentials of Psychological test 5th edition. New York: Harper

Collins.

Foust, J.C. (2009). Online Journalism: Principles and practices of the news for the web. Scottsdale, Arizona: Holcomb Hathaway.

Hayes, D, & Lawless, J., (2018). The Decline of local news and its effects: New evidence

from longitudinal data. The Journal of Politics. 80 (1), 332-336. Retrieved from

http://www.journals.uchicago.edu/doi/full/10.1086/694105

Holsti, O.R. (1969). Content analysis for social sciences and humanities. MA:

Addison-Westley Publishing.

Gans, H. (2003). Democracy and the news. Oxford: Oxford University Press.

Nielsen, R. k. (2015). Introduction: The uncertain future of local Journalism. In R. K.

Nielsen (Ed.). Local Journalism: The decline of newspapers and the rise of digital media (pp.1-24). London: I.B.Tauris.