การประยุกต์ใช้เทคนิคการวิเคราะห์อนุกรมเวลา เพื่อพยากรณ์ปริมาณการชำระเงิน ผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ แอปพลิเคชันโมบายแบงก์กิ้ง

Main Article Content

จิรวุฒิ เชิญเกียรติประดับ
ทัศนีย์ อัครพินท์

บทคัดย่อ

การประยุกต์ใช้เทคนิคการวิเคราะห์อนุกรม เพื่อพยากรณ์ปริมาณการชำระเงินผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ แอปพลิเคชันโมบายแบงก์กิ้ง วัตถุประสงค์ในการวิจัยครั้งนี้คือ 1.เพื่อศึกษาแนวโน้มปริมาณรายการการทำธุรกรรมการชำระเงินทางระบบอิเล็กทรอนิกส์ผ่านแอปพลิเคชันโมบายแบงค์กิ้งของประเทศไทย 2.เพื่อพยากรณ์ปริมาณรายการการทำธุรกรรมการชำระเงินทางระบบอิเล็กทรอนิกส์ผ่านแอปพลิเคชันโมบายแบงค์กิ้งของประเทศไทย โดยใช้การรวบรวมข้อมูลปริมาณรายการการทำธุรกรรมการชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ผ่านแอปพลิเคชันโมบายแบ็งค์กิ้งของประเทศไทย โดยนำข้อมูลตั้งแต่เดือนมกราคม พ.ศ. 2553 – เดือนธันวาคม พ.ศ. 2562 โดยมีจำนวนทั้งสิ้น 120 ข้อมูล ผู้วิจัยได้ทำการทำการเปรียบ 2 วิธีการคือวิธีการพยากรณ์แบบปรับเรียบเอ็กโพเนนเชียน (Holt’s linear trend.) กับวิธีการพยากรณ์บอกซ์-เจนกินส์ (ARIMA (2,1,0)(2,1,0)12) ผลการวิจัยพบว่าวิธีการพยากรณ์ด้วยวิธีบอกซ์-เจนกินส์ ตัวแบบ ARIMA(2,1,0)(2,1,0)12 คือตัวแบบที่เหมาะสมกับชุดข้อมูลมากที่สุด โดยมีค่าเฉลี่ยของร้อยละความผิดพลาดสัมบูรณ์ (Mean Absolute Percentage Error) หรือ MAPE มีค่าคิดเป็น 4.22 เปอร์เซ็น ที่ระดับความเชื่อมั่น 95 เปอร์เซ็น ผลของการพยากรณ์ปริมาณรายการการทำธุรกรรมการชำระเงินทางระบบอิเล็กทรอนิกส์ผ่านแอปพลิเคชันโมบายแบงค์กิ้งของประเทศไทย พบว่าค่าพยากรณ์ในช่วงระยะะสั้นๆ ระหว่าง เดือนมกราคม พ.ศ 2563  ถึง เดือน มีนาคม พ.ศ 2563 มีค่าพยากรณ์ที่ได้คือ จำนวน 488,215.61 (ปริมาณรายการ(พันรายการ)), จำนวน 482,640.49 (ปริมาณรายการ(พันรายการ)) และ จำนวน 529,608.72 (ปริมาณรายการ(พันรายการ)) ตามลำดับและ เมื่อพิจารณาผลของการพยากรณ์แนวโน้มปริมาณรายการการทำธุรกรรมการชำระเงินทางระบบอิเล็กทรอนิกส์ผ่านแอปพลิเคชันโมบายแบงค์กิ้งของประเทศไทย ซึ่งเมื่อพิจารณาจากกราฟข้อมูลการพยากรณ์ 1 ช่วงเวลา (12 เดือน) ในปี พ.ศ 2563 พบว่ามีแนวโน้มปริมาณการทำธุรกรรมการชำระเงินผ่านระบบอิเล็คทรอนิคแอปพลิเคชันโมบายแบงก์กิ้ง มีแนวโน้มที่สูงเมื่อเทียบกับปี พ.ศ 2562 คิดเป็น 146.88 เปอร์เซ็น

Article Details

บท
บทความวิจัย