ผ้าทอวังเต่า : แนวทางการส่งเสริมผ้าทอพื้นบ้านของศูนย์ส่งเสริมอาชีพทอผ้า ตำบลเขาโร อำเภอทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช ผ้าทอวังเต่า : แนวทางการส่งเสริมผ้าทอพื้นบ้านของศูนย์ส่งเสริมอาชีพทอผ้า ตำบลเขาโร อำเภอทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช

Main Article Content

นิตยา ดำสีสุข

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวิธีการทอผ้าพื้นบ้านของศูนย์ส่งเสริมอาชีพทอผ้า เพื่อศึกษาปัญหา และอุปสรรคการทอผ้าพื้นบ้านของศูนย์ส่งเสริมอาชีพทอผ้า และเพื่อศึกษา
แนวทางการส่งเสริมการทอผ้าพื้นบ้านของศูนย์ส่งเสริมอาชีพทอผ้า โดยใช้ระเบียบการวิจัย
เชิงคุณภาพ ผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ สมาชิกกลุ่มทอผ้า ผู้ส่งเสริม และสนับสนุนรวม จำนวน 18 คน เครื่องมือ ได้แก่ แบบสัมภาษณ์ การสังเกตแบบมีส่วนร่วม และนำข้อมูลมาวิเคราะห์เชิงพรรณนา


            ผลการศึกษาพบว่า วิธีการทอผ้าพื้นบ้านของศูนย์ส่งเสริมอาชีพทอผ้า ประกอบด้วย
1) การเตรียมวัสดุ และอุปกรณ์เครื่องมือในการทอผ้า คือ กี่ ฟืม กระสวย และอุปกรณ์ที่เป็นส่วนทำให้การทอผ้าได้อย่างเรียบง่าย 2) การลอกกาวไหมทั้งเส้นพุ่ง เส้นยืน โดยใช้วิธีการใช้สารธรรมชาติการลอกกาวเพื่อที่จะให้ไหมเกิดคุณภาพที่ดี 3) การเตรียมฟืมทอผ้าการร้อยผ่านช่องฟันหวีแต่ละช่อง
4) การย้อมเส้นไหมยืนการย้อมไหมให้เกิดประสิทธิภาพ 5) การหลอมสายไหมการนำเส้นไหมมาปั่นเป็นด้าย6)การทอผ้าการใช้ส่วนของร่างกายเป็นส่วนหนึ่งในการใช้ทอผ้า ปัญหา และอุปสรรคการทอผ้าพื้นบ้านของศูนย์ส่งเสริมอาชีพทอผ้า ประกอบด้วย 1) ปัญหาด้านวัตถุดิบ หรือคุณภาพเส้นไหมขาดคุณภาพที่รับเข้ามาจากที่อื่น และในการนำไปทอเกิดปัญหาคุณภาพของผ้า 2) ปัญหาด้านการจำหน่าย และการตลาดการส่งออกของสินค้าในราคาสูงทำให้คนสนใจน้อยเกิดปัญหาการส่งออก
ของทางกลุ่ม 3) ปัญหาด้านต้นทุนการผลิตขาดต้นทุน การจัดซื้ออุปกรณ์มีราคาสูงต้นทุนมีน้อย
และแนวทางการส่งเสริมการทอผ้าพื้นบ้านในชุมชนวังเต่าศูนย์ส่งเสริมอาชีพทอผ้า ประกอบด้วย
1) การส่งเสริมจำหน่ายทางการตลาดการที่ผู้นำชุมชนได้นำสินค้าของกลุ่มนั้นออกไปโชว์งานต่าง ๆ
2) การส่งเสริมด้านต้นทุนโดยการได้รับต้นทุนจากกลุ่มกองทุนหมู่บ้านเข้ามาสนับสนุน
3) การออกแบบลวดลายการนำลวดลายที่เป็นเอกลักษณ์มาใช้ในการออกแบบ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กฤษฎาพร สีหะวงษ์. (2558). การศึกษาเปรียบเทียบกระบวนการลอกกาวไหมแบบ 2 ขั้นตอน (เอมไซม์ชิงกิเบนตามด้วยสารละลายโซดาแอชเจือจาง)กับกระบวนการลอกกาวไหมด้วยสารละลายโซดาแอชปกติ. (วิทยานิพนธ์ปริญญาวิศวกรรมศาสตร์มหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี).

กิตติคุณวัฒนะ จุฑะวิภาค. (2555). ผ้าทอกับชีวิตคนไทย. กรุงเทพมหานคร : คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

ชนิดาภา มาตราช และรุ่งนภา กิตติลาภ. (2559). การศึกษาต้นทุน และผลตอบแทนกลุ่มทอผ้าไหมมัดหมี่ “ลายฟองน้ำหัวฝาย” ตำบลปอแดง อำเภอชนบท จังหวัดขอนแก่น. วารสารสถาบันวิจัยพิมลธรรม, 3(2),210.

ทัศวรรณ ธิมาคำ, รัตนา ณ ลำพูน และทรงศักดิ์ ปรางค์วัฒนากุล. (2554). การจัดการความรู้ภูมิปัญญา พื้นบ้านล้านนาเรื่อง การทอผ้ายกลำาพูน. วารสารสารสนเทศศาสตร์, 28(2), 17.

พัฒนา ปัทมวงษ์. (2550). กระบวนการผลิต และการค้าผลิตภัณฑ์ผ้าฝ้าย ศึกษากรณี : ชุมชนที่ได้รับการส่งเสริมจากบริษัททุ่งระหาสิน แขวงสุวรรณเขตสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว. (วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตร์มหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฎ

ศรีสะเกษ).

ภัทรธิรา ผลงาม. (2551). การพัฒนาศักยภาพ และมาตรฐานผลิตภัณฑ์ OTOP : กรณีศึกษาในกลุ่มทอผ้าพื้นเมืองบ้านนาด้วง อำเภอนาด้วง จังหวัดเลย. เลย : มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย.

ภัทรวดี อัคลา และการุณย์ บัวเผื่อน. (2558). วิธีการอนุรักษ์ผ้าไหมมัดหมี่ของชาวบ้านห้วยแคนอำเภอกุดรัง จังหวัดมหาสารคาม. วารสารสหวิทยาการวิจัย, 4(2), 95.

สันต์ทัศน์ เพ็ญจันทร์, วนิดา เชื้อคำฟู, พีพรรณ ศรีทะ,เสาวนีย์ คำวงศ์ และวาสนา มาวงศ์. (2554).

ภูมิปัญญาเชิงช่างเชียงใหม่. เชียงใหม่ : โซตนาพริ้นท์พัฒนาหม่อนไหม.

สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ. (2537). ผ้าไทย. กรุงเทพมหานคร : คุรุสภาลาดพร้าว.

สำนักพัฒนา และถ่ายทอดเทคโนโลยีหม่อนไหม กรมหม่อนไหม กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. (2554). การเลี้ยงไหม. กรุงเทพมหานคร : สำนักงานกิจกรรมโรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก.

หทัยรัตน์ บุณยรัตพันธุ์ เงินทอง. (2559). ปัญหาของกลุ่มผลิตผ้าไหมมัดหมี่ในตำบลศรีบุญเรือง

อำเภอชนบท จังหวัดขอนแก่น. วารสารการบริหารท้องถิ่นมหาวิทยาลัยขอนแก่น, 9(1), 10.

อัจฉราพร ไศละสูต. (2526). ความรู้เรื่องผ้า. กรุงเทพมหานคร : อักษรบัณฑิต.

อัมพร ศรประสิทธิ์, วรรณา ประยุกต์และฉัตรไชย จันทร์พริ้ม. (2547). การพัฒนาพิพิธภัณฑ์ดิจิตอลบ้านทอพื้นบ้านภาคใต้. สงขลา : มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่.

อุบลศรี อรรถพันธุ์. (2554). ผ้าทอพื้นเมืองภาคใต้. สงขลา : เอสพริ้นท์.