ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการใช้บริการเว็บไซต์คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาลักษณะของผู้ใช้บริการอินเทอร์เน็ต ได้แก่ เพศ อายุ ระดับการศึกษาสูงสุด (รวมที่กำลังศึกษาอยู่) สถานที่ใช้บริการอินเทอร์เน็ต และประสบการณ์การใช้บริการอินเทอร์เน็ต เพื่อศึกษาพฤติกรรมการใช้บริการเว็บไซต์คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา ได้แก่ ความถี่ในการใช้บริการ ระยะเวลาเฉลี่ยในการใช้บริการต่อครั้ง และช่วงเวลาในการใช้บริการ เพื่อศึกษาทัศนคติของผู้ใช้บริการเว็บไซต์ที่มีต่อเว็บไซต์คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา ได้แก่ ด้านเนื้อหา (Content) ด้านการออกแบบ (Design) ด้านการเชื่อมโยงข้อมูล (Links) ด้านปฏิสัมพันธ์ (Interaction) และด้านระยะเวลา (Time) และเพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างทัศนคติของผู้ใช้บริการกับพฤติกรรมการใช้บริการเว็บไซต์คณะวิทยาการจัดการ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตที่ใช้บริการเว็บไซต์คณะวิทยาการจัดการ จำนวน 384 คน โดยใช้แบบสอบถามออนไลน์และสร้างลิงค์ (Link) ผ่านทางเว็บไซต์คณะวิทยาการจัดการ (ms.bsru.ac.th) แล้วให้กลุ่มตัวอย่างคลิกเข้าไปตอบแบบสอบถามได้โดยตรง การวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางสังคมศาสตร์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติที่ใช้ในการทดสอบสมมติฐาน ได้แก่ การทดสอบค่า t-test การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว การเปรียบเทียบเชิงพหุคูณด้วยวิธีของเชฟเฟ่ (Scheffe’s Method) การวิเคราะห์ความถดถอยเชิงพหุ (Multiple Regression Analysis) และสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน (Pearson Product Moment Correlation Coefficient) ผลการวิจัยพบว่า
1) ลักษณะของผู้ใช้บริการอินเทอร์เน็ตที่ตอบแบบสอบถามพบว่า ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุในช่วง 15-24 ปี ระดับการศึกษาสูงสุดปริญญาตรี สถานที่ใช้บริการอินเทอร์เน็ตส่วนใหญ่เป็นที่ทำงาน/สถานศึกษา และมีประสบการณ์การใช้อินเทอร์เน็ต 1-3 ปี
2) พฤติกรรมการใช้บริการเว็บไซต์คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยาของผู้ตอบแบบสอบถาม พบว่า ส่วนใหญ่มีความถี่ในการใช้บริการเว็บไซต์คณะวิทยาการจัดการ 3-4 ครั้ง/สัปดาห์ ระยะเวลาเฉลี่ยในการใช้บริการเว็บไซต์คณะวิทยาการจัดการต่อครั้ง 31 นาที-1 ชั่วโมง และช่วงเวลาที่ใช้บริการมากที่สุด คือ 12:01-17:00 น. (บ่าย)
3) ทัศนคติที่มีต่อการใช้งานเว็บไซต์คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา พบว่า ทัศนคติด้านเนื้อหา ด้านการออกแบบ ด้านการเชื่อมโยงข้อมูล อยู่ในระดับดีมาก ส่วนทัศนคติด้านปฏิสัมพันธ์
ด้านระยะเวลา อยู่ในระดับดี
4) ผลการทดสอบความสัมพันธ์ระหว่างทัศนคติของผู้ใช้บริการกับพฤติกรรมการใช้บริการเว็บไซต์คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา พบว่า ทัศนคติด้านเนื้อหา ได้แก่ เนื้อหามีความเชื่อถือได้ ทัศนคติด้านปฏิสัมพันธ์ ได้แก่ การควบคุมภาพเคลื่อนไหวจากสไลด์ข่าวในหน้าแรกทำได้ง่าย และทัศนคติด้านระยะเวลา ได้แก่ การดาวน์โหลดเอกสารอิเล็กทรอนิกส์มีความรวดเร็ว มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการใช้บริการเว็บไซต์คณะวิทยาการจัดการ ด้านระยะเวลาเฉลี่ยในการใช้บริการต่อครั้งค่อนข้างต่ำและมีความสัมพันธ์กันในทิศทางตรงกันข้าม กล่าวคือหากมีการเพิ่มความน่าเชื่อถือของเนื้อหา การมีปฏิสัมพันธ์ต่างๆ กับผู้ใช้ และความเร็วของระยะเวลาในการดาวน์โหลดเอกสารภายในเว็บไซต์ให้มากขึ้น ก็ไม่ทำให้ระยะเวลาเฉลี่ยในการใช้บริการต่อครั้งเพิ่มขึ้น นั่นแสดงให้เห็นว่าผู้ใช้งานต้องการเพียงข้อมูลที่ตรงตามต้องการ ส่วนทัศนคติด้านการออกแบบ และทัศนคติด้านการเชื่อมโยงข้อมูลไม่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการใช้บริการเว็บไซต์คณะวิทยาการ
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
เอกสารอ้างอิง
กรรณิการ์ ง่วนชู. (2554). ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการซื้อสินค้าทางอินเทอร์เน็ต กรณีศึกษาเว็บไซต์สนุก ดอทคอม. วิทยานิพนธ์ปริญญา
บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาการตลาด มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
กัลยา วานิชย์บัญชา. (2555). สถิติสำหรับงานวิจัย (พิมพ์ครั้งที่ 6). กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
กัลยานี เลื่องสุนทร. (2553). ปัจจัยที่มีผลกับพฤติกรรมการเยี่ยมชมเว็บไซต์การศึกษา กรณีศึกษา: เว็บไซต์ วิชาการ ดอทคอม
(www.vchakarn.com). การค้นคว้าอิสระวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารเทคโนโลยี วิทยาลัยนวัตกรรม มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. จุฑามณี คายะนันทน์. (2554). พฤติกรรมและผลกระทบจากการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์เฟซบุ๊คดอทคอม
(www.facebook.com). โครงการเฉพาะบุคคลวารสารศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารสื่อสาร มวลชน
คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ฉัตยาพร เสมอใจ. (2550). พฤติกรรมผู้บริโภค. กรุงเทพฯ : ซีเอ็ดยูเคชั่น.
ชฏาภา อนันต์กิตติกุล. (2554). ความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมการใช้เว็บไซต์เครือข่ายสังคมออนไลน์กับความ ผูกพันทุ่มเทของลูกค้า.
วิทยานิพนธ์ปริญญาการจัดการมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีการจัดการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี.
ชูศรี วงศ์รัตนะ. (2553). เทคนิคการใช้สถิติเพื่อการวิจัย (พิมพ์ครั้งที่ 12). กรุงเทพฯ: ไทเนรมิตกิจ อินเตอร์ โปรเกรสซิฟ.
เชาว์ โรจนแสง. (2553). การวิเคราะห์พฤติกรรมผู้บริโภค. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
ธนิต ศิริมงคล. (2556). พฤติกรรมการใช้เว็บไซต์ Facebook ของประชาชนในกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ ปริญญา ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
ธานินทร์ ศิลป์จารุ. (2552). การวิเคราะห์และวิจัยข้อมูลทางสถิติด้วย SPSS (พิมพ์ครั้งที่ 10). กรุงเทพฯ : บิซิเนสอาร์ แอนด์ดี.
ผ่องพรรณ ตรัยมงคลกูล และสุภาพ ฉัตราภรณ์. (2555). การออกแบบการวิจัย (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
ฝ่ายพัฒนามาตรฐานระบบรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ สำนักสถาปัตยกรรมรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ สำนักงานรัฐบาล อิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน). (2560). มาตรฐานเว็บไซต์ภาครัฐ 2.0 (Government Website Standard Version 2.0). กรุงเทพฯ : สำนักงานรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) สังกัดกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร. มุทิตา เตชะศิวนาถ. (2554). ทัศนคติและพฤติกรรม
ของผู้ใช้บริการ เว็บบอร์ด พันทิปคาเฟ่. สารนิพนธ์ปริญญา บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการ
มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
ยุทธ ไกยวรรณ์. (2553). หลักสถิติวิจัยและการใช้โปรแกรม SPSS. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ยุทธนา ธรรมเจริญ. (2550). พฤติกรรมผู้บริโภค. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
วรัญญา ภัทรสุข. (2557). ระเบียบวิธีวิจัยทางสังคมศาสตร์. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สำนักงานสถิติแห่งชาติ กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร. (2558). สำรวจการมีการใช้เทคโนโลยี สารสนเทศและการสื่อสาร
ในครัวเรือน พ.ศ. 2558. กรุงเทพฯ : สำนักสถิติพยากรณ์.