คำแนะนำการเขียนต้นฉบับ        

    “วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี” กำหนดออกเป็น ราย 6 เดือน (มกราคม-มิถุนายน และกรกฎาคม-ธันวาคม) วัตถุประสงค์เพื่อเป็นสื่อกลางในการเผยแพร่บทความทางวิชาการ ได้แก่ บทความวิจัย(research article) บทความวิชาการปริทรรศน์ (review article) บทความวิจัยสื่อสารอย่างสั้น (short communication) และบทความวิชาการ ให้แก่ครู อาจารย์ นักวิชาการ นักวิจัย และนักศึกษาทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัยเพื่อแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ และแนวคิดระหว่างนักวิจัย นักวิชาการ และผู้สนใจ ผลงานทางวิชาการจะต้องไม่เคยลงพิมพ์ในวารสารหรือสิ่งพิมพ์อื่น

กำหนดการรับพิจารณาบทความ        

    1.กำหนดระยะเวลาส่งต้นฉบับ          

        1.1ฉบับที่ 1 ส่งบทความระหว่างเดือนมกราคม-เมษายน          

        1.2ฉบับที่ 2 ส่งบทความระหว่างเดือนกรกฎาคม-กันยายน        

    2.บทความ เปิดรับจากบุคคลภายใน และบุคคลภายนอกมหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรีโดยผู้สมัครต้องชำระค่าธรรมเนียมในการลงวารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี บทความละ 3,500 บาท        

    3.มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี จะรับพิจารณาบทความต่อเมื่อผู้สมัครได้ชำระค่าธรรมเนียมในการลงวารสารวิชาการฯ ให้แก่มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี เป็นที่เรียบร้อยแล้วเท่านั้น        

    4.ในกรณีที่ผู้ทรงคุณวุฒิได้พิจารณาบทความแล้ว แต่ไม่ผ่านเกณฑ์การประเมินตามที่มหาวิทยาลัยกำหนด เจ้าของบทความต้องรับผิดชอบในการจ่ายค่าตอบแทนผู้ทรงคุณวุฒิ เงินค่าธรรมเนียมในการสมัคร ลงวารสารวิชาการฯ มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี จะไม่คืนให้แก่ผู้สมัคร

หมายเหตุ การโอนเงิน ให้โอนเข้าบัญชีธนาคารกรุงไทย สาขากาญจนบุรี ชื่อบัญชี “วารสารวิชาการ ของมหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี” เลขที่ 713-0-63225-9 พร้อมส่งหลักฐานการโอนเงินไปยัง สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี 70 หมู่ที่ 4 ตำบลหนองบัว อำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี 71190หรือทางโทรสารหมายเลข 0 3453 4030 และโทรสอบถามที่หมายเลข 0 3453 403

 

การเตรียมต้นฉบับ(ท่านสามารถดาวน์โหลดรูปแบบการเขียนบทความได้ที่ https://journal.kru.ac.th/)

มหาวิทยาลัยได้กำหนดรูปแบบการเขียนบทความที่จะลงวารสารวิชาการของมหาวิทยาลัย ดังนี้

    1.การจัดเค้าโครงหน้ากระดาษ ขนาด A4 จ านวนไม่เกิน 10 หน้า

    2.กรอบของข้อความหน้ากระดาษ ระยะของหน้ากระดาษในแต่ละหน้ากำหนดดังนี้

        - ระยะขอบบน 1.25 นิ้ว , ระยะขอบล่าง 1.0 นิ้ว

        - ระยะขอบซ้าย 1.25 นิ้ว , ระยะขอบขวา 1.0 นิ้ว

    3.การใช้แบบตัวอักษรและการจัดหน้า มีรายละเอียดดังนี้

        3.1ตัวอักษรใช้แบบ TH Sarabun PSKเท่านั้นตลอดทั้งบทความ

        3.2 หมายเลขหน้า อยู่ด้านขวาล่าง

        3.3 การย่อหน้า ส่วนปก (บทคัดย่อ,Abstract) ย่อ 7 ตัวอักษร พิมพ์ตัวที่ 8

                                ส่วนเนื้อหา ย่อ 4 ตัวอักษร พิมพ์ตัวที่ 5

    4.รายละเอียดต่าง ๆ ของบทความก าหนดดังนี้

        4.1ชื่อเรื่อง (Title)

            - ภาษาไทย กำหนดชิดขอบซ้าย ขนาด 18 พอยต์, ตัวหนาฃ

            - ภาษาอังกฤษ (ตัวพิมพ์ใหญ่) กำหนดชิดขอบซ้าย ขนาด 18 พอยต์, ตัวหนา

        4.2ชื่อผู้นิพนธ์ (Author)

            - ชื่อผู้ นิพนธ์ ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ์ กำหนดชิดขอบซ้าย, ขนาด 14 พอยต์, ตัวธรรมดา

            - ชื่อหน่วยงานของผู้นิพนธ์ทุกล าดับ ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ กำหนดชิดขอบซ้าย, ขนาด 14 พอยต์, ตัวธรรมดา เช่น นักศึกษาระดับ......................สาขา..................มหาวิทยาลัย.......................หรือ

                     อาจารย์................................สาขา..................มหาวิทยาลัย......................

        4.3บทคัดย่อ (Abstract)

            1) บทคัดย่อ และ Abstract กำหนดวางไว้ชิดซ้าย, ขนาด 14 พอยต์, ตัวหนา

            2) เนื้อความของบทคัดย่อภาษาไทยและภาษาอังกฤษ (Abstract) บรรทัดแรกจัดย่อหน้า โดยเว้นระยะจากขอบซ้าย 0.50 นิ้ว ขนาด 14 พอยต์, ตัวธรรมดา และบรรทัดต่อไปก าหนดชิดซ้าย

        4.4คำสำคัญ (Keyword) ระบุภาษาไทย ขนาดตัวอักษร 14 พอยต์, ตัวหนา ชิดขอบซ้าย เลือกใช้คำที่มีความหมายเกี่ยวข้องกับบทความ

    5.เนื้อหา
        5.1รายงานการวิจัย ส่วนของเนื้อหาทั้งหมด ควรประกอบด้วยหัวข้อดังต่อไปนี้
            1)บทนำ
            2)วัตถุประสงค์
            3)ขอบเขตของการวิจัย
            4)วิธีดำเนินการวิจัย
                -การเก็บรวบรวมข้อมูล
                -การวิเคราะห์ข้อมูล
            5)ผลการวิจัย
            6)สรุปและอภิปรายผล
            7)ข้อเสนอแนะ
            8)เอกสารอ้างอิง
       5.2บทความวิชาการ ควรประกอบด้วยหัวข้อดังต่อไปนี้
            1)บทนำ
            2)สาระประเด็นต่าง ๆ
            3)สรุปผลและอภิปรายผล
            4)เอกสารอ้างอิง
ชื่อหัวข้อ ก าหนดชิดซ้าย ขนาด 14 พอยต์, ตัวหนา
ส่วนของเนื้อความ ก าหนดชิดซ้าย ขนาด 14 พอยต์, ตัวธรรมดา แบ่งเป็น 2 คอลัมน์ (ระยะห่างระหว่างคอลัมน์ 0.75 ซม. หรือ 0.3 นิ้ว)
    6.ภาพประกอบเช่น ภาพถ่าย แผนภูมิ ตารางภาพจะต้องชัดเจน (ถ้าเป็นตารางใหญ่พิมพ์แบบเต็มขอบ) แสดงเนื้อหาสำคัญของเรื่อง ภาพถ่ายควรเป็นภาพขาว– ดำ มีคำอธิบายภาพประกอบ
    7.เอกสารอ้างอิง/Referencesเรียงลำดับชื่อผู้แต่งจาก ก-ฮ ตามลำดับ (ในกรณีที่เอกสารอ้างอิงเป็นภาษาไทย) แล้วตามด้วย นามสกุลผู้แต่งจาก A-Z (ในกรณีที่เอกสารอ้างอิงเป็นภาษาอังกฤษ)
 
หมายเหตุ นักศึกษาที่ส่งบทความวิจัยที่เป็นวิทยานิพนธ์ หรือวารสารนิพนธ์ จะต้องมีคำรับรองจากประธาน หรือกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์หลักให้พิจารณาลงพิมพ์เผยแพร่
 
การส่งต้นฉบับ
        โปรดสมัครส่งบทความเพื่อการพิจารณาลงตีพิมพ์เผยแพร่ใน “วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี ” ในระบบ https://www.kru.ac.th/journal/ พร้อมทั้งจัดส่งส าเนาไฟล์ต้นฉบับแนบมา 1 ชุด และใบส าคัญการโอนเงินค่าธรรมเนียมในการลงวารสารวิชาการ ส่งมาตามที่อยู่ด้านล่างนี้
 
        กองบรรณาธิการวารสารวิชาการ
        สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี
        เลขที่ 70 หมู่ 4 ต าบลหนองบัว อ าเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี 71190
        (โทรศัพท์ 034 534 030, 0-3453-4059-60 ต่อ 211 , 213 โทรสาร 034 534 030)
        ออนไลน์ : www.kru.ac.th/journal/
        อีเมลล์ : krujournal@hotmail.com
 
        ผลงานของท่านจะได้รับการตรวจสอบจากผู้ทรงคุณวุฒิตรงในสาขาวิชาที่เกี่ยวข้องไม่น้อยกว่า 3 ท่าน หากบทความที่ได้รับการพิจารณาจากผู้ทรงคุณวุฒิไม่เป็นเอกฉันท์ ฝ่ายจัดท าวารสารจะดำเนินการจัดส่งบทความ ให้ผู้ทรงคุณวุฒิพิจารณาเพิ่มเติมแล้วแต่กรณี ถ้ามีส่วนที่ต้องปรับปรุงแก้ไขกองบรรณาธิการจะแจ้งให้ท่านทราบ เพื่อการปรับปรุงแก้ไข เมื่อผู้เขียนได้แก้ไขความถูกต้องของบทความตามข้อเสนอแนะของผู้ทรงคุณวุฒิแล้วบทความจะต้องผ่านการตรวจสอบความถูกต้องจากกองบรรณาธิการแล้วเท่านั้นจึงจะน ามาตีพิมพ์ในวารสาร หลังการจัดพิมพ์แล้วเสร็จ ท่านจะได้รับวารสารจำนวน 1 ฉบับ