การพัฒนาชุดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์โดยใช้วัสดุท้องถิ่นเพื่อพัฒนาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

Main Article Content

ศิรินันท์ รูปเทวิน
นายรังรอง งามศิริ
นางสาวจริยาภรณ์ สกุลพราหมณ์

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ


              การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนาและหาประสิทธิภาพของชุดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์โดยใช้วัสดุท้องถิ่นเพื่อพัฒนาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย และเปรียบเทียบทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยก่อนและหลังได้รับการจัดประสบการณ์ด้วยชุดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์โดยใช้วัสดุท้องถิ่น


            ระเบียบวิธีวิจัยเป็นแบบการวิจัยและพัฒนา โดยมีวิธีดำเนินการ 4 ขั้นตอน ดังนี้ 1: การศึกษาข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนาชุดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์โดยใช้วัสดุท้องถิ่น 2: การพัฒนาชุดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์โดยใช้วัสดุท้องถิ่น 3 : การทดลองใช้ชุดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์โดยใช้วัสดุท้องถิ่น 4 : การปรับปรุงชุดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์โดยใช้วัสดุท้องถิ่นกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ นักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 1 โรงเรียนบ้านน้ำโจน อำเภอเลาขวัญ จังหวัดกาญจนบุรี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรี เขต 4 จำนวนนักเรียน 22 คน ซึ่งได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นชุดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ แบบประเมินทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบค่าที


            ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลการพัฒนาชุดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์โดยใช้วัสดุท้องถิ่นเพื่อพัฒนาทักษะพื้นฐานทางคณิตสาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย ประกอบด้วย แผนการจัดประสบการณ์ ประกอบด้วย ชื่อกิจกรรม สาระสำคัญ มาตรฐานการเรียนรู้ สาระการเรียนรู้ จุดประสงค์การเรียนรู้ กระบวนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ 4 ขั้น (คือ ขั้นกระตุ้นให้ทำ ขั้นนำให้คิด ขั้นผลิตงานศิลปะ และขั้นสรุปทักษะคณิตศาสตร์) สื่อการเรียนรู้ การวัดและประเมินผล คู่มือการใช้ชุดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์โดยใช้วัสดุท้องถิ่น ประกอบด้วย คำนำ ความเป็นมาและความสำคัญ หลักการและแนวคิด จุดมุ่งหมาย โครงสร้างและระยะเวลา สื่อและอุปกรณ์ บทบาทของครู บทบาทของเด็ก การประเมินผล และนิยามศัพท์เฉพาะ และชุดกิจกรรม ผลการหาประสิทธิภาพของชุดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์โดยใช้วัสดุท้องถิ่น มีค่าเท่ากับ 4.38 เมื่อเทียบกับเกณฑ์การประเมิน ปรากฏว่า ชุดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์โดยใช้วัสดุท้องถิ่น มีประสิทธิภาพมาก 2) ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยหลังได้รับการจัดประสบการณ์ชุดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์โดยใช้วัสดุท้องถิ่น มีค่าสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

เอกสารอ้างอิง
บุญชม ศรีสะอาด. (2553). การวิจัยเบื้องต้น(พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.
ปณิชา มโนสิทธยากร. (2553). ทักษะพื้นฐานคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่เล่นเกมการศึกษาเน้นเศษส่วน
ของรูปเรขาคณิต. ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาการศึกษาปฐมวัย บัณฑิตวิทยาลัย
มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
ปรัศนีย์ สุวรรณสังข์. (2555). การพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบโครงงาน เรื่อง งานจากวัสดุประดิษฐ์จาก
ท้องถิ่น กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยีชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. ปริญญานิพนธ์การศึกษา
มหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
ปานิตา กุดกรุง. (2553). ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์จาก
วัสดุธรรมชาติ. ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาการศึกษาปฐมวัย บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัย
ศรีนครินทรวิโรฒ.
พรพรรณ รำไพรุจิพงศ์. (2550). ทักษะการเขียนของเด็กปฐมวัยที่ทำกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์การวาดภาพประกอบ
การพิมพ์ภาพ. ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาการศึกษาปฐมวัย บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2550). แนวทางมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐานสู่การปฏิบัติ. กรุงเทพฯ:
ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ. (2546). คู่มือหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2546
(สำหรับเด็ก 3-5 ปี). กรุงเทพฯ: กระทรวงศึกษาธิการ.
อัญชุลีกร อัมพรดล. (2551). การศึกษาความสามารถทางพหุปัญญาของเด็กปฐมวัยโดยการจัดกิจกรรมศิลปะ
สร้างสรรค์ตามรูปแบบพหุปัญญาเพื่อการเรียนรู้. ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาการศึกษาปฐมวัย บัณฑิตวิทยาลัย
มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.