การวิเคราะห์สภาพคล่องและคุณภาพกําไรของบริษัทจดทะเบียน ในกลุ่มบริการและกลุ่มสินค้าอุตสาหกรรมในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย

Main Article Content

นัทธพงศ์ สุกสว่าง
กัลยาณี ภาคอัต
พิเชษฐ์ สิทธิโชคสกุลชัย

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. เพื่อศึกษาสภาพคล่องและคุณภาพกำไรของบริษัทจดทะเบียนในกลุ่มบริการและกลุ่มสินค้าอุตสาหกรรมในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย 2. เพื่อวิเคราะห์ผลกระทบของสภาพคล่องต่อคุณภาพกำไรของบริษัทจดทะเบียนในกลุ่มบริการในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย 3. เพื่อวิเคราะห์ผลกระทบของสภาพคล่องต่อคุณภาพกำไรของบริษัทจดทะเบียนในกลุ่มสินค้าอุตสาหกรรมในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย 4. เพื่อวิเคราะห์ผลกระทบของสภาพคล่องต่อคุณภาพกำไรของบริษัทจดทะเบียนในกลุ่มบริการและกลุ่มสินค้าอุตสาหกรรมในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย


        การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ ประชากร คือ บริษัทจดทะเบียนในกลุ่มบริการและกลุ่มสินค้าอุตสาหกรรมในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เฉพาะกลุ่มบริการ จำนวน 27 บริษัท135 ข้อมูล และกลุ่มสินค้าอุตสาหกรรม 34 บริษัท 170 ข้อมูล รวมทั้งสิ้น จำนวน 61 บริษัท 305 ข้อมูล เก็บข้อมูลเป็นจำนวน 5 ปีตั้งแต่ 1 มกราคม 2561 ถึง 31 ธันวาคม 2565 จากฐานข้อมูล SETSMART ของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย สถิติที่ใช้ในการศึกษา ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสูงสุด ค่าต่ำสุด และค่ามัธยฐาน และวิเคราะห์สมการถดถอย Pane Data Analysis แบบ Randon Effects และแบบ Fixed Effects เพื่อทดสอบระดับนัยสำคัญที่ 0.05


      ผลการวิจัยพบว่า 1) บริษัทจดทะเบียนในกลุ่มบริการและกลุ่มสินค้าอุตสาหกรรม ปี 2561-2565 มีสภาพคล่องอยู่ในระดับที่ดี โดยอัตราส่วนเงินทุนหมุนเวียนซึ่งใช้วัดสภาพคล่อง มีค่าเฉลี่ย 3.58 เท่า ในขณะที่ค่าสูงสุดและต่ำสุด คือ 76.82 เท่า และ 0.29 เท่า ตามลำดับ ส่วนดัชนีกระแสเงินสดจากการดำเนินงานซึ่งวัดคุณภาพกำไรมีค่าเฉลี่ย 1.84 เท่า ในขณะที่ค่าสูงสุดและต่ำสุด 58.52 เท่า และ -42.79 เท่า 2) บริษัทจดทะเบียนในกลุ่มบริการ ปี 2561-2565 สภาพคล่องไม่ส่งผลกระทบต่อคุณภาพกำไร อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 3) บริษัทจดทะเบียนในกลุ่มสินค้าอุตสาหกรรม ปี 2561-2565 อัตราส่วนเงินทุนหมุนเวียน ขนาดธุรกิจ ซึ่งใช้วัดสภาพคล่องส่งผลกระทบในทางลบต่อคุณภาพกำไรของอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 4) บริษัทจดทะเบียนในกลุ่มบริการและกลุ่มสินค้าอุตสาหกรรม ปี 2561-2565 อัตราส่วนเงินทุนหมุนเวียน อัตราส่วนการหมุนเวียนของสินทรัพย์รวม อัตราหมุนเวียนของเจ้าหนี้การค้า ความสามารถในการชำระดอกเบี้ย ซึ่งใช้วัดสภาพคล่องส่งผลกระทบในทางบวกต่อคุณภาพกำไร อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

Article Details

How to Cite
สุกสว่าง น. . ., ภาคอัต ก., & สิทธิโชคสกุลชัย พ. . (2024). การวิเคราะห์สภาพคล่องและคุณภาพกําไรของบริษัทจดทะเบียน ในกลุ่มบริการและกลุ่มสินค้าอุตสาหกรรมในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. วารสาร มจร เพชรบุรีปริทรรศน์, 7(3), 324–340. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JPR/article/view/282503
บท
บทความวิจัย

References

จันจิรา ขยันการ. (2565). ความสัมพันธ์ระหว่างคุณภาพกำไรและมูลค่าหลักทรัพย์:กรณีศึกษากลุ่มประเทศสามเหลี่ยมเศรษกิจ (วิทยานิพนธ์ปริญญาบัญชีมหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์).มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, สงขลา.

จารุวรรณ ขันธอุบล. (2551). การวิเคราะห์คุณภาพกำไรของธุรกิจโรงแรมในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่.

ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (2566). ข้อมูลบริษัท/หลักทรัพย์. สืบค้นเมื่อ 31 พฤษภาคม 2566 จากhttps:// www.set.or.th/th/ about/overview/report/annual-report.

ตวงทิพย์ ศิริวรรณ. (2564). ความสัมพันธ์ระหว่างคุณลักษณะของกิจการ ระดับหนี้สิน และคุณภาพกำไร กับผลกระทบเชิงกำกับของการกำกับดูแลกิจการของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่.

ทิพติญา มณีบุตร. (2563). ผลกระทบของอัตราส่วนสภาพคล่อง อัตราส่วนสินทรัพย์และอัตราส่วนหนี้สินที่มีต่อผลตอบแทนจากการลงทุนของบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ (การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศรีปทุม). มหาวิทยาลัยศรีปทุม.

ทิพากร ศรีชัยธำรง, ชลกนก โฆษิตคณิน และ นิกข์นิภา บุญช่วย. (2564). อิทธิพลของงบกระแสเงินสดต่อสภาพคล่องและความมั่งคั่งสูงสุดของธุรกิจ:กรณีศึกษากลุ่มสินค้าอุตสาหกรรมในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. วารสารศิลปะการจัดการ.

ธีรกานต์ เหมือนใจ. (2562). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อคุณภาพกำไร และความสัมพันธ์ระหว่างคุณภาพกำไรกับการจ่ายเงินปันผลของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. (วิทยานิพนธ์บัญชีมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยบูรพา.

นวพล จำปาจันทร์. (2561). ความสัมพันธ์ระหว่างเรื่องสำคัญในการตรวจสอบกับคุณภาพกำไร (การศึกษาค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ประไพพิศ สวัสดิ์รัมย์. (2559). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อคุณภาพกำไรของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์, 10(1), 143-155.

พิมพ์ผการ ใจมุข. (2564). ความสัมพันธ์ระหว่างประสิทธิภาพผลการดำเนินงานและคุณภาพกำไร ของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ เอ็มเอไอ ประเทศไทย.วารสารวิชาการ. มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี.

ภัคธีมา วงศ์สามารถ. (2565). คุณภาพกำไรกับผลการดำเนินงานของกิจการในกลุ่มบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยรังสิต.

รัชฎาพร สิงห์ชัย. (2562). ความสามารถทำกำไรของบริษัทจดทะเบียนในกลุ่มอุตสาหกรรมบริการในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เอ็ม เอ ไอ (การศึกษาค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมมาธิราช.

รุ่งนภา ทาธิวัน. (2563). การวิเคราะห์สภาพคล่องและความสามารถทำกำไรของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ (การศึกษาค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมมาธิราช.

วรศักดิ์ ทุมมานนท์. (2543). คุณรู้จัก Creative Accounting และคุณภาพกำไรแล้วหรือยัง?.กรุงเทพฯ: ไอโอนิค อินเตอร์เทรด รีซอสเซส.

วารุณี ชายวิริยางกูล และคณะ. (2563). ความสัมพันธ์ระหว่างสภาพคล่องและความสามารถการทำกำไรของธนาคารพาณิชย์ในประเทศไทย. วารสารบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยแม่โจ้, 2(2),46-59

ศรัญญา สิงห์วะราช. (2562). อิทธิพลของอัตราส่วนทางการเงินด้านประสิทธิภาพการดำเนินงานที่ส่งผลต่อความสามารถในการทำกำไรของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย กลุ่ม SET (วิทยานิพนธ์บัญชีมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

ศรีสุดา นามรักษา. (2561). ความสัมพันธ์ระหว่างอัตราส่วนทางการเงินกับราคาตลาดหลักทรัพย์ของบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (สารนิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจบัณฑิต) วิทยาลัยบริหารธุรกิจนวัตกรรมและการบัญชี. มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

ศิริวรรณ ว่องวีรวุฒิ. (2556). เงินทุนหมุนเวียน ทางเลือกและทางรอด SME. วารสารนักบริหาร. มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

ศุภเจตน์ จันทร์สาส์น และธันยกร จันทร์สาส์น. (2565). ความสัมพันธ์ระหว่างสภาพคล่องและความสามารถในการทำกำไรของธุรกิจโรงแรม ที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. วารสารปัญญาภิวัฒน์, 14(2), 57-73.

สมฤทัย กรอบทอง. (2562). สภาพคล่องของบริษัทจดทะเบียนในกลุ่มสินค้าอุปโภคบริโภคในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (การศึกษาค้นคว้าอิสระ). มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

สิรวิชญ์ ถาศักดิ์. (2562). ความสัมพันธ์ระหว่างสินทรัพย์ไม่มีตัวตนกับคุณภาพกำไร (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

สุพิชฌาย์ ธนะสาร. (2564). ผลกระทบของสภาพคล่องต่อความสามารถทากำไรของบริษัทจดทะเบียนในกลุ่มดัชนี SET100 ในตลาดหลักทรัพย์แห่งศิริวรรณ วงศ์วีรวุฒิ ประเทศไทย (การศึกษาค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

สุพิชญา โภคา. (2565). การวิเคราะห์สภาพคล่องและความสามารถในการทำกำไรของบริษัทจดทะเบียนที่ออกจำหน่ายหุ้นแก่ประชาชนเป็นครั้งแรก ภายหลังการเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ (การศึกษาค้นคว้าอิสระ). มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

อรดี ศรีธราพิพัฒน์. (2558). รายได้และคุณภาพกำไรของบริษัทจดทะเบียนในกลุ่มอุตสาหกรรมอสังหาริมทรัพย์และก่อสร้าง. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย.

อัมพรพรรณ อักษรนำ. (2562). การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างอัตราส่วนกระแสเงินสดกับคุณภาพกำไร: กรณีศึกษาบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย กลุ่มอุตสาหกรรมสินค้าอุปโภคบริโภค. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

อาภัสชญา ดิเรกศิลป์. (2562). โครงสร้างเงินทุนและคุณภาพกำไรของบริษัทจดทะเบียนในกลุ่มอุตสาหกรรมสินค้าอุปโภคในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. (ค้นคว้าอิสระหลักสูตรบัญชีมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย, กรุงเทพมหานคร.

อินทร์ทิรา ภู่ระหงษ์. (2565). อิทธิพลของสภาพคล่องและความสามารถในการทำกำไรที่มีผลต่อการตัดสินใจในการลงทุนหลักทรัพย์ ของบริษัทกลุ่มอุตสาหกรรมบริการในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศรีปทุม). มหาวิทยาลัยศรีปทุม.

เอิญ สุริยะฉาย. (2558). กุญแจอ่านงบการเงินสำหรับนักลงทุน. กรุงเทพมหานคร. บริษัท ซีเอด ยูเคชั่น จำกัด (มหาชน).

Amanda., Erinos, Nr. (2023). Dampak Pertumbuhan Laba, Struktur Modal dan Likuiditas terhadap Kualitas Laba. Jurnal Eksplorasi Akuntansi (JEA), doi: 10.24036/jea.v5i1.527

Antonius, Bimo., Anike, Putri., Hesti, Hesnawati, Sulaksana. (2024). The Effect of Leverage, Profitability, Liquidity, and Firm Size on Earnings Quality (Empirical Study on the Hotel Sub-Sector Service Company, Restaurant & Tourism on the Indonesia Stock Exchange for the period 2016-2020). doi: 10.46336/ijrcs.v5i2.623

Bach, Thi, Thanh, Ha., Bach, Thi, Thu, Huong., Lam, Thi, Thanh, Huyen., Dinh, Thi, Len., Bach, Duc, Khoi, Nguyen. (2024). Factors Affecting Corporate Liquidity: Evidence from Listed Construction Companies in Vietnam. doi: 10.1007/978-981-99-8472-5_32

Dewi, Masruroh., Apollo. (2023). The Effect of Profitability, Liquidity and Leverage on Earning Quality with Company Size as a Moderation Variable. Journal of economics, finance and accounting studies, doi: 10.32996/jefas.2023.5.5.13

Diyah, Santi, Hariyani., Bella, Fika, Pratama., Karuniawati, Hasanah. (2022). Capital Structure, Liquidity, and Financial Performance on The Quality of Earnings. Neo Journal of economy and social humanities, doi: 10.56403/nejesh.v1i2.11

Michał, Comporek. (2023). Earnings quality among high-share liquidity companies: evidence from Central and Eastern European firms. International Journal of Management and Economics, doi: 10.2478/ijme-2023-0017

Retnoning, Ambarwati., Feri, Dwi, Hastuti. (2021). The Effect of Liquidity, Company Age and Company Size on Earnings Quality (Studies on Property and Real Estate Sector Companies Period 2017-2019). doi: 10.47153/SSS12.2172021

Ria, Ratna, Juwita., Detak, Prapanca. (2024). Impact of Liquidity, Profit Growth and Capital Structure on the Quality of Company Profits: Study of Manufacturing Companies on the Indonesian Stock Exchange (BEI.doi: 10.21070/ups.4393

Syaharani, Ain, Tsabit., Eko, Wahjudi. (2022). The Effect of Profitability, Liquidity, Profit Growth, and Leverage on Earning Quality (Empirical Study of Manufacturing Companies Listed on IDX Period 2017 - 2020). doi: 10.30736/jpensi.v7i2.1101

Teguh, Erawati., Hadri, Kusuma., Titi, Swantari., Reni, Listyawati. (2023). The importance of liquidity to improve the quality earnings of company. doi:10.20885/jaai.vol27.iss2.art3

Teguh, Erawati., Sisilia, Stefani, Wuarlela. (2022). Ukuran Perusahaan, Profitabilitas, Likuiditas, Pertumbuhan Laba Dan Kualitas Laba Pada Perusahaan Pertambangan Di Indonesia. Jurnal Literasi Akuntansi, doi: 10.55587/jla.v2i2.62