สถานะความเป็นเงินตราตามกฎหมายของเงินดิจิทัลที่ออกโดย ธนาคารแห่งประเทศไทย

Main Article Content

จุฑารัตน์ แก้วพันธ์
อภิชาติ บวบขม

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้กล่าวถึงทฤษฎีความเป็นเงินตราของรัฐกับ CBDC ในฐานะเงินดิจิทัลที่ออกโดยธนาคารแห่งประเทศไทย ในการวิเคราะห์พื้นฐานทางกฎหมายของ CBDC ในกรอบกฎหมายมหาชนภายใต้กฎหมาย พ.ร.บ.เงินตรา พ.ศ.2501 และพ.ร.บ.ธนาคารแห่งประเทศไทย พ.ศ.2485 การขาดรากฐานทางกฎหมายที่ชัดเจนในการออก CBDC เป็นปัญหาทางกฎหมาย อันก่อให้เกิดความเสี่ยงทางด้านการเงิน และความน่าเชื่อถือสำหรับธนาคารแห่งประเทศไทย โดยทำการศึกษาเรื่องเงินในฐานะเงินตราที่ใช้ชำระหนี้ได้ตามกฎหมาย หลังจากวิเคราะห์ทฤษฎีเหล่านี้แล้วสามารถสรุปข้อสรุปทั่วไปบางประการได้ดังนี้ ประการแรก พ.ร.บ.ธนาคารแห่งประเทศไทยฯในปัจจุบันไม่อนุญาตให้ธนาคารแห่งประเทศไทยดำเนินการออก CBDC แก่ประชาชนทั่วไป ประการที่สอง จากบทบัญญัติของ พ.ร.บ.เงินตราฯ ไม่ได้นิยามสถานะ “สกุลเงิน” ให้สามารถรวมถึง CBDC และไม่ได้ให้อำนาจธนาคารแห่งประเทศไทยในการออกใช้ CBDC ซึ่งจะนำเสนอการวิเคราะห์ทางกฎหมายเบื้องต้นของ CBDC โดยเปรียบเทียบจากมุมมองทางกฎหมายต่างประเทศ ได้แก่ ประเทศบาฮามาส จาเมกา และจีนเพื่อสรุปว่าแนวคิดของ CBDC ในฐานะเงินและการเป็นสื่อกลางในการชำระหนี้ได้ตามกฎหมาย รวมทั้งเสนอแนะแนวคิดเรื่องเงินภายใต้ทฤษฎีสถานะของเงิน และสามารถทำหน้าที่เป็นสื่อกลางในการชำระหนี้ตามกฎหมายได้ โดยการนำทฤษฎีนี้ไปใช้กับ CBDC และสมมติว่า CBDC ถูกใช้เป็นสื่อกลางในการชำระหนี้ตามกฎหมาย รัฐควรมีบทบัญญัติทางกฎหมายเพื่อจัดทำ CBDC ให้มีฐานะเป็นเงินตราที่ใช้เป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนและการชำระหนี้ตามกฎหมายที่ถูกต้อง เพื่อให้แน่ใจได้ว่าเมื่อมีการออกใช้ CBDC การออก การจัดทำ และการจัดการ CBDC นั้นถูกต้องตามกฎหมาย


 

Article Details

How to Cite
แก้วพันธ์ จ. . ., & บวบขม อ. . (2024). สถานะความเป็นเงินตราตามกฎหมายของเงินดิจิทัลที่ออกโดย ธนาคารแห่งประเทศไทย. วารสาร มจร เพชรบุรีปริทรรศน์, 7(3), 523–538. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JPR/article/view/280080
บท
บทความวิจัย

References

ธนาคารแห่งประเทศไทย. (2566). รวม 10 คำถามฮิตเกี่ยวกับ ‘สกุลเงินดิจิทัล’. เรียกใช้เมื่อ 31 ตุลาคม 2566 จาก https://www.youtube.com/watch?v=zcIKjEacgDc

พระราชบัญญัติเงินตรา พ.ศ.2501. (2501). ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 75 ตอนที่ 75 หน้า 409-424.

พระราชบัญญัติธนาคารแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2485. (2485). ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 59 ตอนที่ 30 หน้า 971.

สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา. (2564). แนวนโยบายและกฎหมายเกี่ยวกับสกุลเงินดิจิทัล. สืบค้นเมื่อวันที่ 15 มิถุนายน . กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา.

Agustin Carstens. (2567). Legitimacy, privacy, integrity, choice: towards a legal framework for central bank digital currencies. เรียกใช้เมื่อ 20 กุมภาพันธ์ 2567 จาก https://www.bis.org/ speeches/sp230927.html.