การนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในการให้บริการประชาชนของ สำนักงานเขตกรุงเทพมหานคร

Main Article Content

จีรพงษ์ สังข์ภาพันธ์
กมลพร กัลยาณมิตร
สถิตย์ นิยมญาติ
ทัศนีย์ ลักขณาภิชนชัช

บทคัดย่อ

การวิจัยเรื่องครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในการให้บริการประชาชนของสำนักงานเขตกรุงเทพมหานคร (2) ศึกษาปัญหาและข้อจำกัด และ (3) เสนอแนวทางการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ผู้ให้ข้อมูลสำคัญที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ ผู้บริหารกรุงเทพมหานคร และผู้บริหารของสำนักงานเขต กรุงเทพมหานคร จำนวน 23 คน ใช้การคัดเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยสังเคราะห์เพื่อหาข้อสรุป แล้วจึงนำเสนอในรูปแบบพรรณนา


          ผลการวิจัยพบว่า (1) การนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในการให้บริการประชาชนของสำนักงานเขตกรุงเทพมหานคร พบว่า  มีการกำหนดวัตถุประสงค์ เป้าหมาย กลยุทธ์ และตัวชี้วัด ไว้อย่างชัดเจน เพื่อนำไปสู่การปฏิบัติ การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ พบว่า มีการจัดหาอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ และซอฟต์แวร์ ระบบเครือข่าย เพื่อใช้ในการพัฒนาระบบงาน การจัดการบุคลากร และพัฒนาบุคคล พบว่า  มีการทบทวนและปรับปรุงกรอบอัตรากำลังให้มีพอเพียง พัฒนาบุคลากร งบประมาณในการดำเนินการ พบว่า งบประมาณยังไม่เพียงพอ การรักษาความมั่นคงปลอดภัยด้านสารสนเทศ พบว่า มีการส่งเสริมให้บุคลากรตระหนักถึงความสำคัญ  และติดตามประเมินผล  ทบทวน ปรับปรุงมาตรการและแนวทางฯ อย่างต่อเนื่อง  (2) ปัญหาและข้อจำกัด พบว่า งบประมาณมีจํากัด เทคโนโลยีเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็ว ขาดการเชื่อมโยงข้อมูลที่เป็นมาตรฐานเดียวกัน บุคลากรขาดความรู้ และบุคลากรด้านเทคโนโลยีสารสนเทศมีไม่เพียงพอ และ (3) แนวทางการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ พบว่า ผู้บริหารต้องเห็นความสำคัญ พัฒนาคุณภาพบุคลากร พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านเทคโนโลยี บูรณาการระบบข้อมูลระหว่างหน่วยงาน และทบทวน ปรับปรุงกฎหมายและกฎระเบียบ ข้อบังคับที่เป็นอุปสรรค

Article Details

How to Cite
สังข์ภาพันธ์ จ. . ., กัลยาณมิตร ก. . ., นิยมญาติ ส. . ., & ลักขณาภิชนชัช ท. . . (2024). การนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในการให้บริการประชาชนของ สำนักงานเขตกรุงเทพมหานคร. วารสาร มจร เพชรบุรีปริทรรศน์, 7(3), 1–12. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JPR/article/view/275496
บท
บทความวิจัย

References

กมลรัฐ อินทรทัศน์. (2550). เทคโนโลยีสารสนเทศและทฤษฎีการสื่อสาร. กรุงเทพฯ: ม.ป.ป.

สำนักยุทธศาสตร์และประเมินผล กองสารสนเทศภูมิศาสตร์. (2556).บทความเกี่ยวกับกรุงเทพมหานคร. ออนไลน์.

กัญญารัตน์ ดัดถุยาวัต และเกียรติศักดิ์ บาลรัมย์. (2565). เทคโนโลยี สารสนเทศหมายถึงอะไร มีอะไรบ้าง. สืบค้นเมื่อ 21 วิถุนายน 2566, จาก https://cs.bru.ac.th/เทคโนโลยีสารสนเทศ/

กุลธน ธนาพงศธร. (2558). ประโยชน์และบริการ. (พิมพ์ครั้งที่ 7). นนทบุรี : มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

ชูวงศ์ ฉายะบุตร. (2546). หนังสือเรียนสาระการเรียนรู้พื้นฐาน หน้าที่พลเมือง วัฒนธรรม และการดำเนินชีวิตในสังคม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. (พิมพ์ครั้งที่ 1): ไทยวัฒนาพานิช.

ณิชนันท์ ปวงนิยม. (2557). ปัจจัยที่มีผลต่อการยอมรับการใช้ระบบสารสนเทศทะเบียนทรัพย์สิน หน่วยงานสังกัดสำนักงานศาลยุติธรรม. วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ธนาชัย ธีรพัฒนวงศ์, พรนภา เตียสุธิกุล และบุญทัน ดอกไธสง. (2561). ปัญหายุทธศาสตร์เทคโนโลยี ดิจิทัลเพื่อการบริหารภาครัฐ. วารสารวไลยอลงกรณ์ปริทัศน์, 8(1), 91-102.

ทิพเนตร ปาสานำ. (2558). เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อชีวิต. สุรินทร์: มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์.

นิตยา พงษ์พานิชย์. (2556). การวิเคราะห์พฤติกรรมการให้บริการของเจ้าหน้าที่รัฐ : ศึกษาเปรียบเทียบกรณีอําเภอเมืองและอําเภอฮอด จังหวัดเชียงใหม่. เชียงใหม่ : มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

บรรจง กาญจนาดุล. (2559). คําบรรยายกฎหมายปกครอง. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย.

ปรีชา พังสุบรรณ. (2558). การประเมินโครงสร้างพื้นฐานเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา. ยะลา: มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา.

พัชรณัฎฐ สิริศานต์สกุล และคณะ. (2564). ปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จในการปรับเปลี่ยนวิธีการปฏิบัติหน้าที่ของบุคลากรภาครัฐบนแพลตฟอร์มดิจิทัลแบบครบวงจร. การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจัยระดับชาติด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม ครั้งที่ 4 วันที่ 22 พฤษภาคม 2564 ณ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม.

สรัลชนา ไพสารี. (2564). การนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมมาใช้เพื่อบริการประชาชน: กรณีศึกษา ฝ่าย

จัดเก็บค่าผ่านทาง การทางพิเศษแห่งประเทศไทย. การค้นคว้าอิสระหลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

สมิต สัชฌุกร. (2550). การต้อนรับและบริการที่เป็นเลิศ. กรุงเทพฯ : สายธาร

สูตรทิน อินทร์ขำ. (2555). คอมพิวเตอร์ในการสอนระดับประถมศึกษา. สืบค้นเมื่อ 21 มิถุนายน 2566, จาก http://www.it.pbru.ac.th/sootthin/471301/17.pdf

สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์. (2564). Government e-Service ยกระดับขีดความสามารถภาครัฐเพื่อให้บริการประชาชน. กรุงเทพฯ: สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทาง อิเล็กทรอนิกส์.

วิไลวรรณ อัศวเศรณี. (2560). การนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในการบริหารจัดการภาครัฐ. กรุงเทพฯ: สถาบันพระปกเกล้า.

เวทยา ใฝ่ใจดี วัชรพจน์ ทรัพย์สงวนบุญ. (2563). การเปลี่ยนผ่านทางดิจิทัลขององค์กรภาครัฐเพื่อยกระดับความสามารถทางการแข่งขันของประเทศไทย. การจัดการสมัยใหม่, 18(1), 15.

อุษคม เจียรจินดา. (2563). เทคโนโลยีสารสนเทศกับประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของผู้ปฏิบัติงานในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารวิชาการสถาบันพัฒนาพระวิทยากร, 3(2), 59-70.

Katz, D. & Danet Brenda. (1973). Bureaucracy and the Republic. New York: Basic Books.

Jesse B. Sears. (1959). The Nature of Administration Process. (New York: McGraw-Hill. Book Co.,Ltd.

Weber, Max. (1966). The Theory of Social and Economic Organization. 4th ed. New York : The Free Press.

Whittaker, B. (1999). What went wrong ? Unsuccessful information technology projects. Information Management & Computer Security. 7 (1), 23 – 30.