การพัฒนาผลิตภัณฑ์น้ำพริกผัดแกงเลียงกุ้งแห้ง
Main Article Content
บทคัดย่อ
การพัฒนาผลิตภัณฑ์น้ำพริกผัดแกงเลียงกุ้งแห้ง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสูตรพื้นฐานน้ำพริกผัดแกงเลียงกุ้งแห้ง เพื่อศึกษาการประยุกต์ผลิตภัณฑ์ในรูปแบบที่สามารถรับประทานได้ง่ายและสะดวกขึ้น เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์น้ำพริกผัดแกงเลียงกุ้งแห้งให้เป็นที่ยอมรับของผู้บริโภค จากการศึกษาน้ำพริกผัดแกงเลียงกุ้งเเห้งสูตรพื้นฐาน 3 สูตร พบว่าสูตรที่ 3 ส่วนใหญ่ได้รับความชื่นชอบมากที่สุด โดยด้านความชอบโดยรวมได้รับค่าเฉลี่ย 16.2 ด้านสีได้รับค่าเฉลี่ย 6.7 ด้านกลิ่นได้รับค่าเฉลี่ย 6.6 ด้านรสชาติได้รับ 16.2 และด้านเนื้อสัมผัสได้รับ 14.9 จึงคัดเลือกสูตรที่ 3 เป็นสูตรพื้นฐานนำไปพัฒนาผลิตภัณฑ์น้ำพริกผักแกงเลียงกุ้งแห้งต่อไป โดยเสริมพริกไทยและกระชาย 3ระดับ คือ ปริมาณร้อยละ 2.7 ร้อยละ 5 และร้อยละ 7 ผู้บริโภคยอมรับผลิตภัณฑ์น้ำพริกผัดแกงเลียงกุ้งแห้ง ที่ร้อยละ 7 โดยได้รับการชื่นชอบมากที่สุด ด้านสีมีค่าเฉลี่ย 6.7 ด้านกลิ่นมีค่าเฉลี่ย 6.6 ด้านรสชาติมีค่าเฉลี่ย 16.2 ด้านเนื้อสัมผัสมี ค่าเฉลี่ย 14.9 และด้านความชอบโดยรวมมีค่าเฉลี่ย 16.2
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
พิมพ์วัชญ์ โภคาสุวิบุลย์. (2019). เมนูอร่อย ประหยัด จากผักปลูกเอง .
รสชาติอาหารไทย ตำรับแท้แต่ดั้งเดิม . (2017). แกงเลียง. แม่บ้าน.
รุ้งดาว กลิ่นจะโป๊ะ และกิติภรณ์ ต้องประสงค์. (2016). มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ. เข้าถึงได้จาก สูตรแกงเลียงก้อน เสริมผักและใยอาหาร: https://repository.au.edu/server/api/core/bitstreams/39b65917-8c0d-4ead-bb7c-c1228d17429c/content
สำนักพิมพ์แสงแดด. (2013). อาหารไทยยอดนิยม . พิมพ์แสงแดด.
สุปราณี หลักคำ. (2006). เข้าถึงได้จาก อาหารการกินของชาวไทยรามัญในจังหวัดนนทบุรี: https://repository.stou.ac.th/bitstream/handle/6625047444/714/na047.pdf?sequence=1&isAllowed=y
อุบลวรรณ บุญเปล่ง, รองศาสตราจารย์ ภญ.รุ่งระวี เต็มศิริฤกษ์กุล . (2014). เข้าถึงได้จาก ภาควิชาเภสัชพฤกศาสตร์ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล. แกงเลียง อาหารเป็นยา: https://pharmacy.mahidol.ac.th/knowledge/files/0263.pdf