การพัฒนาผลิตภัณฑ์คัสตาร์ดครีมเสริมกากถั่วเหลือง
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาพัฒนาผลิตภัณฑ์คัสตาร์ดครีมเสริมกากถั่วเหลือง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสูตรพื้นฐานคัสตาร์ดครีม เพื่อศึกษาการเพิ่มมูลค่าให้กับกากถั่วเหลืองโดยเสริมคุณค่าในคัสตาร์ดครีม เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์คัสตาร์ดครีมเสริมกากถั่วเหลืองให้เป็นที่ยอมรับของผู้บริโภค จากการศึกษาคัสตาร์ดครีมสูตรพื้นฐาน 3 สูตร พบว่าสูตรที่1 ส่วนใหญ่ได้รับคะแนนมากที่สุด โดยด้านความชอบโดยรวมได้รับค่าเฉลี่ย 4.07 ด้านลักษณะปรากฎได้รับค่าเฉลี่ย 3.84 ด้านสีได้รับค่าเฉลี่ย 3.72 ด้านกลิ่นได้รับค่าเฉลี่ย 3.65 และด้านรสชาติได้รับค่าเฉลี่ย 4.03 จึงคัดเลือกสูตรที่ 1 เป็นสูตรพื้นฐาน นำไปพัฒนาผลิตภัณฑ์คัสตาร์ดครีมเสริมกากถั่วเหลืองต่อไป การประเมินการยอมรับทางประสาทสัมผัสของผลิตภัณฑ์คัสตาร์ดครีมเสริมกากถั่วเหลือง โดยเสริมกากถั่วเหลือง 4 ระดับ คือ ปริมาณร้อยละ 0 ร้อยละ 10 ร้อยละ 20 และร้อยละ 30 ผู้บริโภคยอมรับผลิตภัณฑ์คัสตาร์ดครีมเสริมกากถั่วเหลือง ที่ร้อยละ 10 โดยมีคะแนนการยอมรับสูงสุด ด้านลักษณะปรากฎมีค่าเฉลี่ย 4.21 ด้านสีมีค่าเฉลี่ย 4.10 ด้านกลิ่นมีค่าเฉลี่ย 4.20 ด้านรสชาติมีค่าเฉลี่ย 4.33 ด้านเนื้อสัมผัสมีค่าเฉลี่ย 4.39 และด้านความชอบโดยรวมมีค่าเฉลี่ย 4.29
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
ณวรา เปลี่ยนบุญเลิศ. (2564). เข้าถึงได้จาก คัสตาร์ด : https://krua.co/cooking_post/
ปรางแก้ว บัณฑรรุ่งโรจน์ และณวรา เปลี่ยนบุญเลิศ. (2557). หนังสือเดซาโตะ .
อัญชลี อุษณาสุวรรณกุล. และกัญญ์วรา ทองกระจ่าง. (2565). เข้าถึงได้จาก การใช้ประโยชน์จากกากถั่วเหลือง: https://kukrdb.lib.ku.ac.th/journal/FOOD/search_detail/result/
Jane and Grace. (2001). Good Housekeeping .
Kel, N. (12 เมษายน 2566). เข้าถึงได้จาก Maximizing the Potential of Custard Cream Filling Pastry Trend: https://bahteraadijaya.com/custard-cream-indonesia/