ผลการใช้ชุดฝึกทักษะภาษาอังกฤษ CEFR เพื่อพัฒนาระดับความรู้ความสามารถทางภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ในโรงเรียนขนาดเล็ก
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยเรื่อง "ผลการใช้ชุดฝึกทักษะภาษาอังกฤษ CEFR เพื่อพัฒนาระดับความสามารถทางภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ในโรงเรียนขนาดเล็ก" ในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาและหาประสิทธิภาพของชุดฝึกทักษะภาษาอังกฤษ CEFR ที่สร้างขึ้นเพื่อพัฒนาระดับความสามารถทางภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ในโรงเรียนขนาดเล็ก 2) เพื่อตรวจสอบตรวจสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ในโรงเรียนขนาดเล็กหลังการใช้ชุดฝึกภาษาอังกฤษ CEFR ที่สร้างขึ้น และ 3) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ในโรงเรียนขนาดเล็กหลังการใช้ชุดฝึกภาษาอังกฤษ CEFR ระหว่างระหว่างการทดสอบก่อนเรียนกับการทดสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ในงานวิจัยนี้ ประชากรที่ใช้ในการศึกษาเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านป่าแดง อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบูรณ์ ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565 อนึ่งการสุ่มเป้าหมายตัวอย่างใช้วิธีการสุ่มแบบเจาะจงได้ขนาดของกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 27 คน ซึ่งเป็นนักเรียนทั้งชั้นเรียน โดยพิจารณาจากการให้ความร่วมมือของนักเรียนทุกคนและความกระตือรือร้นในการเรียนรู้ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลประกอบด้วยแบบทดสอบก่อนเรียน แบบทดสอบหลังเรียน ชุดฝึก CEFR รูปแบบใหม่ และแบบสอบถามความพึงพอใจ หลังจากการเก็บรวบรวมข้อมูล ข้อมูลจะถูกนำไปวิเคราะห์ด้วยสถิติมาตรฐานได้แก่ ความความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเเละการทดสอบสมมติฐานของกลุ่มตัวอย่าง
ผลการวิจัยพบว่า 1) ประสิทธิภาพของกระบวนการ (E1) มีค่าเท่ากับ 88.30 และประสิทธิภาพของผลลัพธ์ (E2) มีค่าเท่ากับ 83.58 2) กลุ่มตัวอย่างทั้งหมดมีคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระหว่าง 18-30 จากคะแนนเต็ม 30 คะเเนน และ 3) คะแนนรวมผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของกลุ่มตัวอย่างทั้ง 27 คน สูงกว่าคะแนนรวมการทดสอบก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติอยู่ที่ .01 (t 9.582 P .000) การวิจัยครั้งนี้แสดงให้เห็นข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับประสิทธิภาพ ผลกระทบที่มีต่อผลการเรียนภาษาอังกฤษของนักเรียน และความเหมาะสมของชุดฝึกทักษะภาษาอังกฤษ CEFR ในสภาพแวดล้อมของโรงเรียนที่มีทรัพยากรจำกัด
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กนกวรรณ ไทยประดิษฐ์ และศุภกฤต ทับเที่ยง. (2563). การพัฒนาสื่อคอมพิวเตอร์ช่วยสอนคำศัพท์ภาษาอังกฤษสำหรับการเตรียมสอบ TOEIC. วารสารราชพฤกษ์, 18(3), 30-38.
กระทรวงศึกษาธิการ. (2562). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. สืบค้นเมื่อ 12 เมษายน 2566 จาก http://academic.obec.go.th/web/news/view/75.
กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ. (2563). รายวิชากลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ (ภาษาอังกฤษ) รายวิชาเพิ่มเติมภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร 2563. สุราษฎร์ธานี: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.
กัญภร เอี่ยมพญา, นิวัตต์ น้อยมณ, พรทิพย์ อ้นเกษม, อภิชาติ อนุกูลเวช, และดาวประกาย ระโส. (2565). โรงเรียนขนาดเล็ก: ปัญหาที่ต้องตัดสินใจ. วารสารสิรินธรปริทรรศน์, 23(1), 315-329.
คมชัดลึก. (2564). รู้ยัง รัฐบาลจ่ายเงินให้ "นักเรียน" กี่บาทต่อคนต่อปี. คมชัดลึก. สืบค้น 30 กันยายน 2565, from https://www.komchadluek.net/news/486455
ฉลอง อ่อนพุทธา. (2561). การพัฒนาทักษะการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจโดยใช้การเรียนนรู้แบบร่วมมือ (CIRC) โดยใช้กรอบอ้างอิงทางภาษาของสหภาพยุโรป (CEFR) สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาภาษาอังกฤษศึกษา). มหาสารคาม: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.
ชัยยงค์ พรหมวงศ์. (2556). การทดสอบพัฒนาการสื่อและชุดการสอน. วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย, 5(1), 7-20.
ชุลีวรรณ ปราณีธรรม. (2562). การพัฒนาความสามารถในการฟัง - พูด และพฤติกรรมการกล้าแสดงออกในการเรียนรายวิชาภาษาเยอรมันเพื่อการสื่อสาร 2 โดยใช้กิจกรรมบทบาทสมมต. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา, 7(2), 88-105.
ธารณา สุวรรณเจริญ. (2563). การพัฒนาทักษะการเขียนภาษาอังกฤษโดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้เชิงรุกสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนบ้านเมืองเก่า (ศรีอินทราทิตย์) จังหวัดสุโขทัย. 5(9), 19-28.
ปวีณา แย้มใส. (2564). การประยุกต์ใช้การจัดการเรียนรู้แบบกระตือรือร้น (Active Learning) ในการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ. วารสาร มจร ภาษาและวัฒนธรรม, 1(2), 30-41.
ปาณิส โพธิ์ศรีวังชัย. (2564). เปลี่ยนเหลื่อมล้ำเป็นเสมอภาค: มองปัญหาการศึกษาไทย. สืบค้นเมื่อ 17 มกราคม 2566 จาก https://www.eef.or.th/equitable-education-fund-interview/.
เปมิกา พูลอ่อน. (30 พฤศจิกายน 2565). จำนวนนักนักเรียนโรงเรียนบ้านป่าแดง. (สพลเชษฐ์ ประชุมชัย, ผู้สัมภาษณ์)
พระศรีสิทธิมุนี. (2564). การพัฒนาการสื่อสารภาษาอังกฤษ. วารสาร มจร. อุบลปริทัศน์, 6(3), 923-933.
พีรศักดิ์ จิ้วตั้น. (2564). การศึกษาความพึงพอใจเชิงเปรียบเทียบผลกระทบและพฤติกรรมการเรียนจากการใช้ห้องเรียน Active Learning ในการเรียนการสอน. นครราชสีมา: สถาบันวิจัย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี.
เพ็ญนภา ตลับกลาง. (2562). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์การเรียนรู้คำศัพท์ภาษาอังกฤษโดยใช้วิธีสอนกิจกรรมเป็นฐานสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนวัดเขียนเขต (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการสอนภาษาอังกฤษ). กรุงเทพมหานคร: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.
ฤทธิไกร ไชยงาม กันยารัตน์ ไวคํา และหทัย ไชยงาม. (2561). ปัญหาและแนวทางการแก้ไข
เพื่อพัฒนาทักษะผู้เรียนภาษาอังกฤษของชุมชนเรียนรู้ทางวิชาชีพครูผู้สอนภาษา อังกฤษในสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดขอนแก่น. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 12(2), 8-17.
รมินตรา วรงค์ปกรณ์ ศศินา อินตุ๋น และยุพิน อินทะยะ. (2559). การใช้สื่อสภาพจริงเพื่อพัฒนาความสามารถในการอ่านและการเขียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. วารสารบัณฑิตวิจัย, 7(1), 16-29.
วรวีร์ ล่องสกุลวิคุปต์. (2566). เด็กไม่สนใจเรียน พ่อแม่ควรทำอย่างไร? สืบค้นเมื่อ 10 กุมภาพันธ์ 2566 จาก https://citly.me/L8uix/.
สถาพร พฤฑฒิกุล. (2558). เอกสารประกอบการฝึกอบรม "คุณภาพผู้เรียนเกิดจากกระบวนการเรียนรู้". สระแก้ว: คณะเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตสระแก้ว.
สมบัติ ธำรงธัญวงศ์. (2557). ปัญหาโรงเรียนขนาดเล็กที่ต้องแก้ไข. สืบค้นเมื่อ 14 มีนาคม 2565 จาก https://www.facebook.com/Prof.SombatThamrongth- anyawong/.
สิทธิพร ชุลีธรรม ณัฐวุฒิ ช่วยเอื้อ และดวงตา อินทรนาค. (2563). การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ในการจัดการเรียนการสอนระหว่างการใช้การเรียนการสอนแบบ Active Learning โดยใช้นวัตกรรมการสอน Google Classroom กับการเรียนการสอนแบบปกติ (Passive Learning) กรณีศึกษา การจัดการเรียนการสอนรายวิชา ประวัติศาสตร์ไทย นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีท. วารสารสังคมศาสตร์บูรณาการ, 7(2), 203-220.
สุทธิดา ชัยประสิทธิ์, ชวลิต เกตุกระทุ่ม. (2565). การพัฒนาความสามารถในการจำคำศัพท์วิชาภาษาอังกฤษด้วยวิธีการสอนแบบตอบสนอง ด้วยท่าทาง (TPR) ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1. สิกขา วารสารศึกษาศาตร์, 9(1), 146-153.
โสภิตา มูลเทพ และ ศิริวรรณ วณิชวัฒนวรชัย. (2564). การพัฒนาความสามารถด้านการเขียนสะกดคำของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ด้วยการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือร่วมกับเกมการศึกษา. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร, 19(2), 551-568.
เอษณ ยามาลี. (2554). ความวิตกกังวลในการพูดภาษาอังกฤษของผู้เรียนภาษาอังกฤษในฐานะภาษาต่างประเทศ: ปัญหาที่มิอาจมองข้าม. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี, 10(2), 208-221.
Dilaka Lathapipat and Lars Sondergaard. (2016). Thailand’s Small School Challenge and Options for Quality Education. Retrieved October 4, 2022 from https://blogs.worldbank.org/eastasiapacific/thailand-s-small-school-challenge-and-options-quality-education.