อิทธิพลเชิงบวกและปัจจัยที่มีผลต่อความพึงพอใจของการให้บริการ Mobile Banking ของธนาคารออมสิน (MyMo) ในเขตปริมณฑล กรุงเทพมหานคร

Main Article Content

พรพรรษ ศรีศศลักษณ์

บทคัดย่อ

การวิจัยเรื่องอิทธิพลเชิงบวกและปัจจัยที่มีผลต่อความพึงพอใจของการให้บริการ Mobile Banking ของธนาคารออมสิน (MyMo) ในเขตปริมณฑล กรุงเทพมหานคร มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1)เพื่อศึกษาวิเคราะห์ถึงอิทธิพลเชิงบวกและปัจจัยที่มีผลต่อความพึงพอใจของการให้บริการ Mobile Banking ของธนาคารออมสิน (MyMo) ในเขตปริมณฑล กรุงเทพมหานคร 2) เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อความพึงพอใจของการให้บริการ Mobile Banking ของธนาคารออมสิน (MyMo) ในเขตปริมณฑล กรุงเทพมหานคร 3) เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบระดับความพึงพอใจของการให้บริการ Mobile Banking ของธนาคารออมสิน (MyMo) ในเขตปริมณฑล กรุงเทพมหานคร จำแนกตาม เพศ กลุ่มตัวอย่างจำนวน 10 คน และ 132 คน เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล ได้แก่แบบสัมภาษณ์ และแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ด้วยวิธีการสังเคราะห์เนื้อหา (Synthetic Methods Content) และด้วยวิธีการพรรณนาวิเคราะห์ (Descriptive Analysis) และการหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าความถี่ และค่า t-test มีรายละเอียดสามารถสรุปได้ดังนี้


              ผลจากการศึกษาเกี่ยวกับอิทธิพลเชิงบวกต่อความตั้งใจที่จะใช้บริการ Mobile Banking ของธนาคารออมสิน (MYMO) พบว่า อิทธิพลทางสังคม ได้แก่ คนใกล้ชิดในครอบครัว ญาติและเพื่อนสนิท แนะนำว่าควรใช้บริการ Mobile Banking ของธนาคารออมสิน เพราะว่าเป็นธนาคารพาณิชย์ที่มีความมั่นคง และมีความมั่นใจว่าจะใช้ตลอดไป เพราะว่าบุคคลเหล่านั้นก็ได้ใช้บริการ Mobile Banking ของธนาคารออมสิน (MYMO) เช่นกัน ส่วนการรับรู้ประโยชน์ใช้สอย เจ้าหน้าที่ได้ให้บริการและการจัดกิจกรรมของธนาคารออมสินทำให้ทราบว่ามีการดำเนินงานอย่างมีประสิทธิภาพเพิ่มมากขึ้น มีการปรับปรุงประสิทธิภาพ ในเรื่องของความถูกต้อง สะดวก รวดเร็ว และจะเป็นประโยชน์ยิ่ง ในการทำธุรกรรมผ่าน Mobile Banking ของธนาคาร การรับรู้ความเสี่ยง จะต้องรู้เท่าทันและหาแนวทางป้องกัน กับความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้นได้ ซึ่งอาจทำให้บัญชีธนาคารของฉันถูกหลอกลวงได้ ข้อมูลส่วนตัวอาจถูกแฮ็ก (โจรกรรม) ความไว้วางใจ มีความเชื่อมั่นว่า Mobile Banking ของธนาคารออมสิน (MYMO) มีความน่าเชื่อถือ และพร้อมที่จะให้บริการ อย่างปลอดภัย สนใจกับความต้องการของผู้ใช้บริการ และจะไม่มีการเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลอย่างแน่นอน ความคาดหวังในความพยายาม เป็นวิธีการที่ง่ายต่อการใช้งาน และสามารถพัฒนาให้เกิดทักษะและความชำนาญ ในการใช้บริการได้ คุณภาพของระบบ Mobile Banking สามารถโหลดข้อความ และกราฟิกทั้งหมดได้อย่างรวดเร็ว เป็นมิตรกับผู้ใช้ และเป็นสิ่งที่ดึงดูดสายตา และมีความตั้งใจที่จะใช้อย่างต่อเนื่อง


ผลการวิเคราะห์ข้อมูล พบว่า ระดับความพึงพอใจของการให้บริการ Mobile Banking ของธนาคารออมสิน (MyMo) ในเขตปริมณฑล กรุงเทพมหานคร โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ทั้งนี้อาจเป็นเพราะว่าผู้บริโภคได้ใช้งาน Mobile Banking แล้วเกิดความรู้สึกพึงพอใจ ชอบใจ หรือผิดหวังกับการใช้งานถึงต้องการร้องเรียน หรือมีความคาดหวังต่อการใช้บริการ ส่งผ่านไปยังผู้รับรู้ถึงคุณภาพ และการรับรู้ถึงคุณค่าของการใช้บริการ ทำให้เกิดความพึงพอใจและนำมาซึ่งความภักดีในการใช้บริการต่อไปในอนาคต ตามลำดับ ดังนี้ ด้านความคาดหวังของลูกค้า ผู้บริโภคได้ใช้บริการแล้วเกิดความรู้สึกพึงพอใจในเรื่องของความสะดวกรวดเร็ว ความถูกต้องแม่นยำ และความปลอดภัย ด้านมุมมองต่อคุณภาพบริการ เมื่อได้ใช้บริการ แล้วเกิดความรู้สึกพึงพอใจในเรื่องของเทคโนโลยีที่ใช้มีความทันสมัย มีระบบความปลอดภัย ระบบใช้ง่าย ไม่มีข้อผิดพลาดหรือบกพร่อง ด้านมุมมองต่อคุณค่า เมื่อใช้บริการแล้วเกิดความรู้สึกพึงพอใจในเรื่องของคุณภาพบริการที่ได้รับมีความเหมาะสม ความรวดเร็วของบริการที่ได้รับมีความเหมาะสม ความถูกต้องของการทำธุรกรรมมีความเหมาะสม ความปลอดภัยของการทำธุรกรรม มีความเหมาะสม ด้านความพึงพอใจต่อการบริการ ผู้ใช้บริการความรู้สึกพึงพอใจในเรื่องของความสะดวกรวดเร็ว ความถูกต้องแม่นยำ และความปลอดภัยของระบบ ด้านการร้องเรียน เมื่อผิดหวังกับการใช้บริการ มีโอกาสในการร้องเรียนต่อผู้ดูแลระบบ มีโอกาสที่จะบอกต่อและพร้อมที่จะเผยแพร่ปัญหาที่ประสบต่อสาธารณชนได้ ด้านความภักดีของลูกค้า เกิดความพึงพอใจที่จะใช้บริการต่อไปและจะแนะนำให้ผู้อื่นมาใช้


ผลการการเปรียบเทียบระดับความพึงพอใจของการให้บริการ Mobile Banking ของธนาคารออมสิน (MyMo) ในเขตปริมณฑล กรุงเทพมหานคร จำแนกตามเพศ ในภาพรวมไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

Article Details

How to Cite
ศรีศศลักษณ์ พ. . (2024). อิทธิพลเชิงบวกและปัจจัยที่มีผลต่อความพึงพอใจของการให้บริการ Mobile Banking ของธนาคารออมสิน (MyMo) ในเขตปริมณฑล กรุงเทพมหานคร. วารสาร มจร เพชรบุรีปริทรรศน์, 7(1), หน้า 164 – 178. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JPR/article/view/272909
บท
บทความวิจัย

References

Krejcie, R. V.; & Morgan, D. W. (1970, Autume). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement. 30(3): 607-610.

สิทธิชัย อนันต์วัฒนาวิทย์. (2563). ปัจจัยที่มีอิทธิพลเชิงบวกต่อความตั้งใจที่จะใช้บริการอย่าง

ต่อเนื่อง ในการใช้บริการของธนาคารกสิกรไทยผ่านโทรศัพท์เคลื่อนที่ของผู้ใช้งานในพื้นที่เขตพญาไท 52 กรุงเทพมหานคร. การค้นคว้าอิสระ ปริญญามหาบัณฑิต,มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

Ohk et al., (2015). The Bon Religion of Tibet: The Iconography of a Living

Tradition. Boston: Shambhala.

พิมรัก สังข์อยู่และเพ็ญจิรา คันธวงศ์. (2561). ปัจจัยที่มีอิทธิพลเชิงบวกต่อความตั้งใจที่จะ

ใช้ระบบการชำระเงินแบบอิเล็กทรอนิกส์แรบบิทไลน์เพย์ของผู้บริโภคในพื้นที่

ศูนย์การค้าสยามสแควร์ กรุงเทพมหานคร. ในการประชุมวิชาการระดับชาติมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล สุวรรณภูมิครั้งที่ 2 และการประชุมวิชาการระดับชาติเครือข่ายวิจัยประชาชื่น ครั้งที่ 4 (หน้า 1502). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ.

ศิริลักษณ์ โรจนกิจอำนวย. (2562). การยอมรับการใช้โมบายแบงก์กิ้ง ของธนาคารพาณิชย์

ไทยอย่างต่อเนื่อง. วารสารวิชาการบริหารธุรกิจ สสอท., 8(2), 10-21

Ofori, K. S., Boateng, H., Okoe, A. F., & Gvozdanovic, I. (2017). Examining

customers’ continuance intentions towards internet banking usage.

Marketing Intelligence & Planning, 35(6), 756-773.

พชรภัทร แสงวงศ์ประเสริฐ. (2560). ความพึงพอใจของผู้ใช้บริการแอพพลิเคชั่น K PLUS

ของธนาคารกสิกรไทย ในเขตกรุงเทพมหานคร. การศึกษาค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจ

มหาบัณฑิต สาขาการตลาด, กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

.Poromatikul, C., De Maeyer, P., Leelapanyalert, K., & Zaby, S. (2020). Drivers of

continuance intention with mobile banking apps. International Journal

of Bank Marketing, 38(1), 242-262. doi:10.1108/IJBM-08-2018-0224

Nochai, R., & Nochai, T., (2013). The Impact of Internet Banking Service on

Customer Satisfaction in Thailand: A Case Study in Bangkok. International

Journal of Humanities and Management Sciences, 1(1).

สุวิสา สุรังสิมันต์กุล. (2551). ความพึงพอใจของผู้ใช้บริการธนาคารทางอินเตอร์เน็ตของ

ธนาคารไทยพาณิชน์ จำกัด (มหาชน) ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่, การศึกษาแบบอิสระเศรษฐศาสตร์มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ชัญญาพัทธ์ จงทวี. (2558). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความพึงพอใจในการใช้บริการ Mobile Banking

ในเขตกรุงเทพมหานคร. การศึกษาค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาพาณิชยศาสตร์และ การบัญชี, กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.