การประยุกต์หลักพุทธจริยธรรมสำหรับนักการเมืองเพื่อพัฒนาการเมือง การปกครองท้องถิ่น จังหวัดนนทบุรี

Main Article Content

ณปภัช พัชรกรโชติ
สุรพล พัชรกรโชติ
อภิญญา พัชรกรโชติ

บทคัดย่อ

ดุษฎีนิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพการพัฒนาการเมืองการปกครองท้องถิ่น 2) ศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการพัฒนาการเมืองการปกครองท้องถิ่น และ 3) นำเสนอการประยุกต์หลักพุทธจริยธรรมสำหรับนักการเมืองเพื่อการพัฒนาการเมืองการปกครองท้องถิ่น ผู้วิจัยได้กำหนดระเบียบวิธีวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี ได้แก่ และการวิจัยเชิงคุณภาพ กับผู้ให้ข้อมูลสำคัญจำนวน 18 รูปหรือคน และการสนทนากลุ่มเฉพาะ จำนวน 10 รูปหรือคน ใช้วิธีการวิเคราะห์ข้อมูลแบบอรรถาธิบายและพรรณนา การวิจัยเชิงปริมาณ เครื่องมือ คือ แบบสอบถาม เก็บข้อมูลกับจากลุ่มตัวอย่าง จำนวน 245 คน นำมาวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้จำนวน ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบ Enter Method


 ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพการพัฒนาการเมืองการปกครองท้องถิ่น พบว่า จริยธรรมนับว่าเป็นพื้นฐานที่สำคัญของทุกคนและทุกวิชาชีพ ควรดำเนินการตามกระบวนการ 3 ประการ คือ การกำหนดวิธีการ กระบวนการ เพื่อการควบคุมความประพฤติ  การดำเนินงานมีทิศทางอันชัดเจน และดำเนินงานตามตัวชี้วัด ที่ถูกกำหนดขึ้นที่ ซึ่งระดับสภาพการพัฒนาการเมืองการปกครองท้องถิ่นในภาพรวมอยู่ในระดับมาก 2) ปัจจัยที่ส่งผลต่อการพัฒนาการเมืองการปกครองท้องถิ่น เป็นปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาการเมืองเพื่อการปฏิสัมพันธ์ระหว่างองค์กร เพื่อการดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ เป็นการสร้างระบบทางการเมืองการปกครอง และส่งเสริมการพัฒนาทั้งทางเศรษฐกิจและสังคมเพื่อตอบสนองความต้องการของประชาชน ซึ่งระดับปัจจัยที่ส่งผลต่อการพัฒนาการเมืองการปกครองท้องถิ่น ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก และจากการทดสอบสมมติฐาน พบว่า การปฏิรูปทางการเมือง และการเสริมสร้างวัฒนธรรมทางการเมือง มีผลต่อสภาพการพัฒนาการเมืองการปกครองท้องถิ่น อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ส่วนด้านอื่นไม่ส่งผลและ3) การประยุกต์หลักพุทธจริยธรรมสำหรับนักการเมืองเพื่อพัฒนาการเมืองการปกครองท้องถิ่น ควรดำเนินการตามหลัก 5 ประการ คือ การให้ความเคารพประชาชน การปฏิบัติตามกฎหมาย การปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดี การประพฤติปฏิบัติตนด้วยการรักษาคำสัตย์ปฏิญาณ และ การประพฤติปฏิบัติตนด้วยความไม่ประมาทเป็นพื้นฐาน ซึ่งระดับการประยุกต์หลักพุทธจริยธรรมสำหรับนักการเมืองเพื่อพัฒนาการเมืองการปกครองท้องถิ่น จังหวัดนนทบุรี โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก และจากการทดสอบสมมติฐาน พบว่า หลักพุทธจริยธรรมไม่มีผลต่อสภาพการพัฒนาการเมืองการปกครองท้องถิ่น

Article Details

How to Cite
พัชรกรโชติ ณ., พัชรกรโชติ ส. ., & พัชรกรโชติ อ. . (2024). การประยุกต์หลักพุทธจริยธรรมสำหรับนักการเมืองเพื่อพัฒนาการเมือง การปกครองท้องถิ่น จังหวัดนนทบุรี. วารสาร มจร เพชรบุรีปริทรรศน์, 7(1), หน้า 593 – 607. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JPR/article/view/271606
บท
บทความวิจัย

References

กลุ่มงานยุทธศาสตร์และข้อมูลเพื่อการพัฒนาจังหวัด. (2561). บรรยายสรุปจังหวัดนนทบุรี.สำนักงานจังหวัดนนทบุรี.

ชุติพนธ์ วงษ์อมรวิทย์. (2563). “การเสริมสร้างจริยธรรมทางการเมืองของนักการเมืองท้องถิ่นในจังหวัดนครราชสีมา”. วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (สาขาวิชารัฐศาสตร์), บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

ธีรยุทธ พึ่งเทียร. (2545). สถิติเบื้องต้นและการวิจัย. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์สูตรไพศาล.

พระครูปลัดวัชรพงษ์ วชิรปญฺโญ. (2565). การเสริมสร้างพุทธจริยธรรมทางการเมืองของนักการเมืองในจังหวัดน่าน. วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (สาขาวิชารัฐศาสตร์). บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

พระครูวินัยธรเอนก เตชวโร (ใยอินทร์). (2560, พฤษภาคม). การบริหารโครงการหมู่บ้านรักษาศีล 5 เพื่อสร้างวัฒนธรรมการอยู่ร่วมกันของชุมชนต้นแบบภาคเหนือตอนล่าง. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์. 6(3) : 597-617.

ศิลาวัฒน์ ชัยวงศ์. (2561, มกราคม-มิถุนายน). จริยธรรมของนักการเมืองในระบบการเมืองไทย. วารสารสังคมศาสตร์ปริทรรศน์, 1(6) : 1-15.

สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร. (2557). การพัฒนาการเมืองการปกครองในระบอบประชาธิปไตย. กรุงเทพมหานคร : กลุ่มงานผลิตเอกสาร สำนักประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร

Yamane, T. (1973). Statistic : An Introductory Analysis. (3rd ed.). New York : Harper and Row.