การเตรียมความพร้อมของรัฐไทยเพื่อการให้สัตยาบันต่ออนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยการคุ้มครองบุคคลทุกคนจากการหายสาบสูญโดยถูกบังคับ: ศึกษากรณีการคุ้มครองเด็กที่ถูกบังคับให้สูญหายหรือได้รับผลกระทบจากการบังคับให้สูญหาย

Main Article Content

ชญานี ทองนุ่ม

บทคัดย่อ

ประเทศไทยได้ลงนามในอนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยการคุ้มครองบุคคลทุกคนจากการสูญหายโดยถูกบังคับแล้วเมื่อปี พ.ศ. 2555 ซึ่งได้รวมถึงการคุ้มครองเด็กจากกรณีดังกล่าวด้วย ซึ่งกฎหมายภายในของประเทศไทยที่มีเนื้อหาในการคุ้มครองดูแลสิทธิของเด็กยังไม่มีกฎหมายฉบับใดมีเนื้อหาครอบคลุมในการคุ้มครองดูแลสิทธิของเด็กที่เกี่ยวข้องกับการหายสาบสูญโดยถูกบังคับที่เกิดขึ้นกับเด็กและที่ส่งผลกระทบต่อเด็ก งานวิจัยนี้จึงได้ศึกษากฎหมายภายในของประเทศไทยได้แก่ ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา (การกำหนดความหมายของผู้เสียหาย การร้องทุกข์ และการนำคดีขึ้นสู่ศาล) การกำหนดความหมายของเหยื่อตามพระราช บัญญัติค่าตอบแทนผู้เสียหายและค่าทด แทนและค่าใช้จ่ายจำเลยในคดีอาญาพระราชบัญญัติศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. 2553 กฎหมายอาญา (ฐานความผิดในการพรากเด็กและผู้เยาว์ การกักขังหน่วงเหนี่ยว การทรมาน การจับกุม กักขัง ลักพาตัว หรือการกระทำในรูปแบบใด ๆ ก็ตาม ที่เป็นการลิดรอนเสรีภาพ) พระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก พ.ศ. 2546 การสอบสวนตามพระราชบัญญัติการสอบสวนคดีพิเศษ พ.ศ. 2547 การรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ และการรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรมตามพระราชบัญญัติการรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรม พ.ศ. 2522 เปรียบเทียบกับเนื้อหาของอนุสัญญาระหว่างประเทศว่า[1]


ด้วยการคุ้มครองบุคคลทุกคนจากการหายสาบสูญโดยถูกบังคับที่ประเทศไทยได้เข้าเป็นภาคีในอนุสัญญาฯ เพื่อเสนอแนวทางการแก้ไขกฎหมายภายในของไทยให้เป็นไปตามอนุสัญญาฯ  และเป็นการเตรียมความพร้อมเพื่อการให้สัตยาบันต่ออนุสัญญาฯ ดังกล่าว  4   ประการประกอบด้วย (1) การกำหนดความหมายของเหยื่อหรือผู้เสียหาย (2) การกำหนดฐานความผิดที่เกี่ยวข้องกับกรณีที่เด็กตกเป็นเหยื่อการหายสาบสูญโดยถูกบังคับ (3) กระบวนการสอบสวน และ (4) กฎหมายเกี่ยวกับการรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรม


 


Article Details

How to Cite
ทองนุ่ม ช. (2024). การเตรียมความพร้อมของรัฐไทยเพื่อการให้สัตยาบันต่ออนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยการคุ้มครองบุคคลทุกคนจากการหายสาบสูญโดยถูกบังคับ: ศึกษากรณีการคุ้มครองเด็กที่ถูกบังคับให้สูญหายหรือได้รับผลกระทบจากการบังคับให้สูญหาย. วารสาร มจร เพชรบุรีปริทรรศน์, 7(1), หน้า 1 – 14. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JPR/article/view/271056
บท
บทความวิจัย

References

กฎหมายอาญา

ข่าวสดออนไลน์, ‘จี้สังคมอย่าละเลยเด็กถูกกระทำความรุนแรง’< https://www.khaosod.co.th

/lifestyle/news_2916638> สืบค้นเมื่อ15 ธันวาคม 2562

ประชาไทย, ‘กสม. เสนอ 4 ข้อถึงประยุทธ์และประธาน สนช. ปมร่าง กม.ปราบปรามการทรมาน-อุ้มหาย’

<https://prachatai.com/journal/2019/01/80659>สืบค้นเมื่อ 10 ตุลาคม 2562.

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

พระราช บัญญัติค่าตอบแทนผู้เสียหายและค่าทด แทนและค่าใช้จ่ายจำเลยในคดีอาญา

พระราชบัญญัติศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. 2553

พระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก พ.ศ. 2546

พระราชบัญญัติการสอบสวนคดีพิเศษ พ.ศ. 2547

พระราชบัญญัติการรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรม พ.ศ. 2522

Human Rights Council Forty-second session, United Nation: A/HRC/42/NGO/5, ‘Unforgotten in Thailand: ensure

truth, Justice, and reparations for victims of enforced disappearance’ https://www.lrwc.org/ws/wp-content/uploads/2019/08/G1925634.Thailand.HRC42.pdf > accessed 1July 2017.

Julia Fionda, Legal Concepts of Childhood (Oxford: Hart Publishing, 2001), 127