การใช้เอกลักษณ์จากประติมากรรมร่วมสมัยเชิงสร้างสรรค์ เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยว หาดเจ้าสำราญ จังหวัดเพชรบุรี

Main Article Content

สรไกร เรืองรุ่ง
มลทิชา โอซาวะ
บัณฑิตพงษ์ ศรีอำนวย

บทคัดย่อ

การสร้างสรรค์ผลงานศิลปะเกิดจากกระบวนการทางความคิดสร้างสรรค์ มาสู่วิธีการและขั้นตอนการสร้างสรรค์ให้ได้มาซึ่งผลงานศิลปะที่ตอบสนองความต้องการของพื้นที่ และมีความสมบูรณ์สวยงามด้วยองค์ประกอบทางศิลปะและความงามทางทัศนียภาพของพื้นที่  ปัจจุบันการสร้างสรรค์ผลงานศิลปะมักเกิดขึ้นจากการตอบสนองทางด้านจิตใจเป็นสำคัญ  เมื่อศิลปินสร้างสรรค์ผลงานจนเสร็จสมบูรณ์ก็มีการจัดเก็บในหอศิลป์หรือสถานที่ต่าง ๆ หรือการจัดตั้งในสถานที่ต่าง ๆโดยอาจมองข้ามหรือไม่คำนึงถึงความเหมาะสมของผลงานศิลปะและบริบทของพื้นที่นั้น ๆ


                วิจัยสร้างสรรค์ผลงานประติมากรรม “ศิลปะสู่ความรื่นรมย์สำราญ”เป็นการสร้างสรรค์ผลงานศิลปะที่เกิดจากการหาดุลยภาพของความหมายระหว่างประติมากรรมกับสิ่งแวดล้อม  ด้วยการสร้างรูปทรงที่ได้จากการศึกษาบริบทของพื้นที่  โดยมีการคำนึงถึงคุณค่าทางสุนทรียะของผลงาน  ซึ่งผลงานประติมากรรม “ศิลปะสู่ความรื่นรมย์สำราญ” นี้ได้สร้างสรรค์ขึ้นเพื่อส่งเสริมภูมิทัศน์บริเวณชายหาดชมวาฬ ตำบลหาดเจ้าสำราญ อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบุรี 


                การวิจัยสร้างสรรค์นี้เป็นการศึกษา วิเคราะห์และสังเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับตำบลหาดเจ้าสำราญ จังหวัดเพชรบุรี ซึ่งในการศึกษาพบว่าการสร้างสรรค์ผลงานให้เข้ากับพื้นที่นั้นจะสร้างสรรค์ผลงานตาม        จิตนาการ อารมณ์ ความรู้สึกของส่วนตัวไม่ได้ เพราะจะทำให้เกิดความขัดแย้งทางความคิด และความรู้สึกของชุมชนในพื้นที่ได้  หรืออาจส่งผลถึงการต่อต้านให้รื้อถอนอย่างตัวอย่างบางพื้นที่ที่เคยได้เกิดมา ทั้งนี้ควรคำนึงถึงความสัมพันธ์ของพื้นที่เนื้อหาและเรื่องราว  และความเพิ่งพอใจต่อชุมชนในพื้นที่ ซึ่งจะทำให้ส่งผลไปถึงอารมณ์ความรู้สึกที่จะเกิดเป็นความสุขตามชื่อของพื้นที่นี้  และเกิดดุลยภาพระหว่างประติมากรรมกับสิ่งแวดล้อมจากประเด็นดังกล่าวการสร้างสรรค์ผลงานประติมากรรม “ศิลปะสู่ความรื่นรมย์สำราญ” พบว่า สามารถส่งเสริมภูมิทัศน์ และสร้างเอกลักษณ์ให้กับพื้นที่ได้ และทำให้ประชาชนในพื้นที่ได้มีส่วนร่วมและเห็นคุณค่าของผลงานศิลปะที่มีต่อสังคม สามารถรับรู้ความงามและสร้างความสุนทรียะต่องานศิลปะที่สร้างสรรค์ขึ้นเฉพาะพื้นที่โครงการวิจัยเรื่อง การใช้เอกลักษณ์จากประติมากรรมร่วมสมัยเชิงสร้างสรรค์เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยว หาดเจ้าสำราญ จังหวัดเพชรบุรี จะมีประโยชน์และสามารถเป็นแนวทางสำหรับการสร้างสรรค์ผลงานประติมากรรมแก่ผู้ที่สนใจและต้องการศึกษาเกี่ยวกับประติมากรรมกับสิ่งแวดล้อมสืบไป


คำสำคัญ: ประติมากรรมร่วมสมัย, ส่งเสริมการท่องเที่ยว, เอกลักษณ์

Article Details

How to Cite
เรืองรุ่ง ส. . ., โอซาวะ ม., & ศรีอำนวย . บ. . (2024). การใช้เอกลักษณ์จากประติมากรรมร่วมสมัยเชิงสร้างสรรค์ เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยว หาดเจ้าสำราญ จังหวัดเพชรบุรี. วารสาร มจร เพชรบุรีปริทรรศน์, 7(1), หน้า 349 – 365. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JPR/article/view/270942
บท
บทความวิจัย

References

กมล ทัศนาญชลี. (2524). ไทยอาร์ตเซนเตอร์. โลกศิลป์.

แคลวิน ทอมกินส์. (1984). ศิลปะกับสถาปัตยกรรม. เสรีภาพ 63. ม.ป.ท. : ม.ป.พ.

ชลูด นิ่มเสมอ.(2531). องค์ประกอบของศิลปะ. กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพานิช จำกัด.

ชาญณรงค์ พรรุ่งโรจน์.(2548). การวิจัยทางศิลปะ. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์

มหาวิทยาลัย.

ชาย โพธิสิตา.(2552). ศาสตร์และศิลป์แห่งการวิจัยเชิงคุณภาพ. (ปรับปรุง พิมพ์ครั้งที่ 4).

กรุงเทพฯ:อมรินทร์พริ้นติ้ง.

ถนอมจิตร์ ชุ่มวงศ์. (2548). ประติมากรรมสาธารณชน. สวนประติมากรรมเฉลิมพระเกียรติ

สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เนื่องในโอกาสทรงเจริญ

พระชนมายุ 50 พรรษา. กรุงเทพฯ :อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง.

ทวีเดช จิ๋วบาง. (2537). ความคิดสร้างสรรค์ศิลปะ. กรุงเทพฯ : โอเดียนสโตร์.

ธนภัทร รุ่งธนาภิรมย์. (2557). ทฤษฎีความงาม. กรุงเทพฯ:โรงพิมพ์แอทโฟร์พริ้นท์.

นนทิวรรธน์ จันทะนะผะลิน. (2546). ความเคลื่อนไหวของสมาคมประติมากรไทย. มหกรรม

ประติมากรรมขนาดเล็ก. ม.ป.ท. : ม.ป.พ.

สุชาติ เถาทอง. (2553). การวิจัยสร้างสรรค์ทัศนศิลป์.ชลบุรี: คณะศิลปกรรมศาสตร์มหาวิทยาลัย

บูรพา.

สุชาติ เถาทอง. (2556). สหวิทยาการ:การวิเคราะห์หาความเชื่องโยงแบบบูรณาการทางศิลปะ.ชลบุรี: คณะศิลปกรรมศาสตร์มหาวิทยาลัยบูรพา.

สุชาติ เถาทอง. (2559). ศิลปวิจัยสร้างวิชาการแบบการปฏิบัติสร้างสรรค์ศิลปะ. ชลบุรี: คณะศิลปกรรมศาสตร์มหาวิทยาลัยบูรพา.

อารี สุทธิพันธุ์. (2551). ผลึกความคิดศิลปะ. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

Duane & Sarah, Preble. (1978). Artforms. New York: Hasper & Row.

Fichner Rathus, Lois. (1989). Understanding Art. New Jersey: Prentice-Hall.

Faraut, Philippe. (2006). Sculpting Workshops and Classes. Retrieved Fabuary 20,

, from: http: //www.philippefaraut.com/workshops.htm.

Gilbert, Rita. & Mc Carter, William (1988). Living with Art. New York: Alfred A. Knopf.

Govignon, Brigitte. (1995) .The beginner’s guide to Art. New York: Harry N. Abrams,

IncPublishers.

Hunter, Sam & Jacobus, John. (1985). Modern Art. New York: Harry N. Adrams.

Roots, Garrison. (2002). Public Art. Mulgrave. Vic. Australia: Images Publishing.