ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจประกอบธุรกิจส่วนตัวของพนักงานประจำบริษัทเอกชน
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับของปัจจัยจูงใจและการตัดสินใจประกอบธุรกิจส่วนตัว 2)เพื่อเปรียบเทียบการตัดสินใจประกอบธุรกิจส่วนตัวของพนักงานประจำบริษัทเอกชนจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล 3) เพื่อศึกษาปัจจัยจูงใจที่ส่งผลต่อการตัดสินใจประกอบธุรกิจส่วนตัว กลุ่มตัวอย่างเป็นพนักงานประจำบริษัทเอกชน จำนวน 385 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน t-test ความแปรปรวนทางเดียว และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณผลการวิจัยพบว่า 1) ปัจจัยจูงใจในการตัดสินใจประกอบธุรกิจส่วนตัวของพนักงานประจำบริษัทเอกชนมีค่าเฉลี่ยมากที่สุดทุกด้าน โดยเรียงจากมากไปหาน้อย คือด้านความต้องการ รองลงมาคือด้านแรงจูงใจ และด้านค่านิยมตามลำดับ การตัดสินใจประกอบธุรกิจส่วนตัวของพนักงานประจำบริษัทเอกชน ในภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด 2) พนักงานที่มีเพศ อายุ ระดับการศึกษา สถานภาพ และรายได้เฉลี่ยต่อเดือนมีการตัดสินใจประกอบธุรกิจส่วนตัวแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 3) ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจประกอบธุรกิจส่วนตัวของพนักงานประจำบริษัทเอกชนเรียงตามลำดับคือ ด้านความต้องการ ด้านค่านิยม ด้านแรงจูงใจ ซี่งตัวแปรทั้ง 3 ตัวสามารถอธิบายการเปลี่ยนแปลงของตัวแปรการตัดสินใจประกอบธุรกิจส่วนตัว ได้ร้อยละ 37.90
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กองวิจัยตลาดแรงงาน. (2557). แนวโน้นอาชีพอิสระในอนาคต 3 ปีข้างหน้า. กองวิจัยตลาดแรงงาน และ กองส่งเสริมการมีงานทำ กรมการจัดหางาน กระทรวงแรงงาน.
กัลยา วาณิชย์บัญชา. (2560). สถิติสำหรับงานวิจัย. พิมพ์ครั้งที่ 11, โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย.
ชลลดา เจียมจิตวานิชย์ จิรพล จิยะจันทน์ และ นพดล พันธุ์พานิช. (2562). ตัวแบบการ เป็น
ผู้ประกอบการใหม่ของนักศึกษาปริญญาตรีสังกัดมหาวิทยาลัย ในเขต กรุงเทพมหานครและ ปริมณฑล . บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น.
ทวีศักดิ์ ฉิมแก้ว และแก้วตา ผู้พัฒนพงศ์. (2562) . ปัจจัยจูงใจที่มีผลต่อกระบวนการ ตัดสินใจเลือก ประกอบอาชีพของนักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยรามคำแหง. มหาวิทยาลัย รามคำแหง.
ธาริณี อังค์ยศ (2563) เรื่อง ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความปรารถนาในการเลือกอาชีพของนักศึกษา ระดับปริญญาตรีจังหวัดนครราชสีมา. การประชุมวิชาการระดับชาติครั้งที่ 7 วิทยาลัยนครราชสีมา.
ธีรยุทธ แก้วเกร็ด. (2561). การตัดสินใจเลือกอาชีพของพนักงานองค์กรเอกชน ในจังหวัดนครปฐม . มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.
น้ำทิพย์ บุตรทศ. (2558). การตัดสินใจเลือกอาชีพ แรงจูงใจ และความก้าวหน้า. มหาวิทยาลัยบูรพา.
ภาคภูมิ สิงห์แก้ว. (2560). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกประกอบอาชีพของประชาชนในชุมชน แผ่นดินธรรม-แผ่นดินทอง ตำบลตะพานหิน อำเภอตะพานหิน จังหวัดพิจิตร. มหาวิทยาลัย พิบูลสงคราม.
ศวรรณยา คล้ายเชย. (2563). แรงจูงใจที่มีอิทธิพลในการเป็นเจ้าของธุรกิจ Café ในจังหวัด นครปฐม. วารสารโครงการทวิปริญญาทางรัฐประศาสนศาสตร์และบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2561). การจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาความเป็น ผู้ ประกอบการ.(รายงานวิจัย). กรุงเทพฯ: บริษัท พริกหวานกราฟฟิค จํากัด.
อุไรพร ช่างบรรจง. (2556). มูลเหตุและแรงจูงใจในการเข้าสู่การดำเนินธุรกิจเครือข่าย. มหาวิทยาลัย แม่โจ้.
Bangkok insight. (2565). เด็กไทยส่วนใหญ่อยากเป็นผู้ประกอบการ. สืบค้นจาก https://www.thebangkokinsight.com/news/digital-economy/65754/
Cochran, W.G. (1953). Sampling Technique. New York: John Wiley & Sons. Inc.
Cronbach, L. J. (1984). Essential of psychology testing. New York: Harper.
Marketing. (2560). ผลสำรวจคนไทย ต้องการเป็นนายตัวเอง
https://www.marketingoops.com/reports/behaviors/amway-research/
https://salaryinvestor.com/guide/business-invest-guide/cafe-amazon- campaign/