ปัญหาการกำหนดค่าทดแทนอสังริมทรัพย์ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนและการได้มาซึ่งอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2562

Main Article Content

วันรัต รื่นบุญ

บทคัดย่อ

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์และเสนอแนะแนวทางการกำหนดค่าทดแทนทรัพย์สินที่ถูกเวนคืนตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนและการได้มาซึ่งอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2562 ได้แก่ การกำหนดค่าทดแทนที่ดิน การกำหนดค่าทดแทนต้นไม้ยืนต้นและผลผลิต และการกำหนดค่าทดแทนที่ดินที่ได้รับผลกระทบจากการถูกเวนคืนแต่มิได้ถูกเวนคืน โดยวิธีการศึกษาใช้รูปแบบการวิจัยเอกสาร โดยการเก็บรวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการกำหนดค่าทดแทนการเวนคืนทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ และศึกษาเปรียบเทียบกระบวนการกำหนดค่าทดแทนทรัพย์สินที่ถูกเวนคืนในต่างประเทศกับบทกฎหมายในปัจจุบันที่ยังมีเนื้อหาไม่ครอบคลุมความเสียหายที่เกิดขึ้นจากการเวนคืน ซึ่งผลการวิจัยพบว่า การกำหนดค่าทดแทนอสังหาริมทรัพย์เพื่อการเวนคืนที่เหมาะสมนั้น รัฐจำเป็นต้องทำการชดใช้ค่าทดแทนให้แก่ผู้ถูกเวนคืนอย่างเป็นธรรม กล่าวคือ ต้องกำหนดกำหนดค่าทดแทนให้เหมาะสมและเพียงพอต่อความเสียหายที่รัฐได้ก่อขึ้น เพื่อให้ผู้ถูกเวนคืนมีสถานะที่ไม่ด้อยไปกว่าเดิมก่อนที่ทรัพย์สินจะถูกเวนคืนไป อย่างไรก็ตามจากการศึกษาพบว่า การกำหนดค่าทดแทนของประเทศไทย หน่วยงานต่าง ๆ ยังไม่สามารถใช้ดุลพินิจในการกำหนดค่าทดแทน ทั้งในส่วนของค่าทดแทนที่ดิน ทรัพย์สินอื่นนอกจากที่ดิน ตลอดจนสิทธิประโยชน์ต่าง ๆ ที่อาจสูญเสียไปจากการเวนคืนได้อย่างครบถ้วนและเหมาะสม นำมาซึ่งปัญหาการกำหนดค่าทดแทนที่ไม่เป็นธรรมเป็นจำนวนมากในปัจจุบัน

Article Details

How to Cite
รื่นบุญ ว. . (2023). ปัญหาการกำหนดค่าทดแทนอสังริมทรัพย์ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนและการได้มาซึ่งอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2562. วารสาร มจร เพชรบุรีปริทรรศน์, 6(1), หน้า 346 – 361. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JPR/article/view/268763
บท
บทความวิจัย

References

จรัส กาญจนขจิต. (2540). กฎหมายเกี่ยวกับการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์. กรุงเทพมหานคร: วิญญูชน.

ชาญชัย แสวงศักดิ์. (2549). องค์การมหาชนและหน่วยบริการรูปแบบพิเศษ. กรุงเทพมหานคร: นิติธรรม.

นันทวัฒน์ บรมานันท์. (2554). สัญญาทางปกครอง. กรุงเทพมหานคร: วิญญูชน.

ไผทชิต เอกจริยกร. (2526). เอกสิทธิ์และความคุ้มกันของฝ่ายปกครองในประเทศไทย. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ภาสกร ชุณอุไร. (2522). คําอธิบายประมวลกฎหมายที่ดินและการปฏิรูปที่ดิน. กรุงเทพมหานคร: นิติบรรณการ.

ยืนหยัด ใจสมุทร. (2549). พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530. กรุงเทพมหานคร: นิติธรรม.

วรวุฒิ เทพทอง. (2555). คําอธิบายหลักกฎหมายที่ดินตามประมวลกฎหมายที่ดิน. กรุงเทพมหานคร: นิติธรรม.

ศรีราชา เจริญพานิช. (2557). คําอธิบายกฎหมายว่าด้วยทรัพย์สิน. กรุงเทพมหานคร: วิญญูชน.

ศิริ เกวลินสฤษดิ์. (2531). คําอธิบายประมวลกฎหมายที่ดินพร้อมกฎกระทรวงและระเบียบของคณะกรรมการจัดที่ดินแห่งชาติ. กรุงเทพมหานคร: บพิธการพิมพ์.