INNOVATIVE DISRUPTION ERA IMPLEMENTATION IN PROVIDING SERVICES IN BANGKOK METROPOLIS

Main Article Content

Pollawat Suppattarasaet
Kamolporn Kalyanamitra
Satit Niyomyaht
Tassanee Lakkanapichonchat

Abstract

การวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการนำนวัตกรรมยุคดิสรัปชั่นไปปฏิบัติในการให้บริการของกรุงเทพมหานคร 2) ศึกษาปัญหาและอุปสรรคของการนำนวัตกรรมยุคดิสรัปชั่นไปปฏิบัติในการให้บริการของกรุงเทพมหานคร และ 3) ศึกษาแนวทางการนำนวัตกรรมยุคดิสรัปชั่นไปปฏิบัติในการให้บริการของกรุงเทพมหานคร เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ  ผู้ให้ข้อมูลสําคัญที่ใช้ในการศึกษา คือ ผู้บริหารกรุงเทพมหานคร ผู้บริหารสำนักงานเขตของกรุงเทพมหานคร และหัวหน้าฝ่ายสำนักงานเขตของกรุงเทพมหานคร  จำนวน  23  คน  โดยใช้วิธีการคัดเลือกผู้ให้ข้อมูลสําคัญแบบเจาะจง  เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล ได้แก่  แบบสัมภาษณ์  ทำการวิเคราะห์โดยการสรุปแบบพรรณนาความ


ผลการวิจัยพบว่า  (1) ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการนำนวัตกรรมยุคดิสรัปชั่นไปปฏิบัติในการให้บริการของกรุงเทพมหานคร ได้แก่   ผู้นำ  โครงสร้าง วัฒนธรรมองค์การ ทรัพยากรการบริหาร การพัฒนาบุคลากร การร่วมมือกับองค์การภายนอก  และระบบการให้รางวัลและผลตอบแทน (2) ปัญหาและอุปสรรคของ
การนำนวัตกรรมยุคดิสรัปชั่นไปปฏิบัติในการให้บริการของกรุงเทพมหานคร  พบว่า ระบบราชการและวัฒนธรรมองค์การไม่เอื้อต่อนวัตกรรม  ระเบียบ ข้อบังคับ และกฎหมายไม่สอดคล้องกับสภาพการณ์  บุคลากรขาดความรู้  ไม่ยอมรับนวัตกรรม งบประมาณไม่เพียงพอ  อุปกรณ์เครื่องมือไม่ทันสมัย และ
(3)  แนวทางการนำนวัตกรรมยุคดิสรัปชั่นไปปฏิบัติในการให้บริการของกรุงเทพมหานคร พบว่า ผู้ปฏิบัติงานควรทำความเข้าใจนโยบาย ปรับปรุงกฎหมาย ระเบียบ และข้อบังคับต่าง ๆ  นวัตกรรมที่จะนำมาใช้ต้องก่อให้เกิดประสิทธิภาพในการทำงาน มีการติดตามและประเมินผล  ควรสร้างวัฒนธรรมองค์การเชิงนวัตกรรม  สนับสนุนงบประมาณ วัสดุปอุปกรณ์อย่างเหมาะสม พัฒนาบุคลากรอย่างต่อเนื่อง สร้างแรงจูง  และสร้างการรับรู้ของประชาชนต่อการให้บริการรูปแบบใหม่

Article Details

How to Cite
Suppattarasaet, . P. ., Kalyanamitra, K., Niyomyaht, S., & Lakkanapichonchat, T. (2023). INNOVATIVE DISRUPTION ERA IMPLEMENTATION IN PROVIDING SERVICES IN BANGKOK METROPOLIS. Journal of MCU Phetchaburi Review, 6(2), หน้า 1 – 19. Retrieved from https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JPR/article/view/268544
Section
Research Articles

References

แก้วตา ศรอดิศักดิ์ และชวนชื่น อัคคะวณิชชา. (2561). ปัจจัยเหตุและผลของพฤติกรรมสร้างสรรค์ นวัตกรรมของพนักงานธนาคารกรุงเทพ เขตจังหวัดนครปฐม. Veridian E-Journal, Silpakorn University ฉบับภาษาไทย สาขามนุษยศาสตร์สังคมศาสตร์ และศิลปะ, 11(2), 1531-1545.

ชมภูนุช หุ่นนาค. (2560). การบริการสาธารณะใหม่เพื่อรับใช้พลเมือง. วารสารมนุษยสังคม

ปริทัศน์, 19(1), 125-140.

นพดล เหลืองภิรมย์. (2557). การจัดการนวัตกรรม = Innovation management. กรุงเทพฯ: ดวงกมล.

นิศาชล ฉัตรทอง. (2561). บริบทภาครัฐไทยกับการก้าวเข้าสู่องค์กรแห่งนวัตกรรม. รัฐประศาสน

ศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขานโยบายสาธารณะและการจัดการภาครัฐ ภาควิชาสังคมศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล.

ปวาสินี สุขเจริญ. (2552). ความเป็นองค์กรนวัตกรรม กรณีศึกษา: โรงพยาบาลเอกชนในอําเภอ เกาะสมุย จังหวัดสุราษฎร์ธานี. การศึกษาอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชา บริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์.

พงศ์เทพ จารุสุสินธ์. (2546). เขตอำนาจขององค์การอนามัยโลก. กรุงเทพฯ: สำนักงาน คณะกรรมการ.

พรพรรณ บุตตะวงศ์. (2552). การเปรียบเทยีบประสิทธิภาพการสอนของครูตามรูปแบบ

พฤติกรรมการบริหารของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาศรีสะเกษ

เขต 4. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัย

ธรรมาธิราช.

พระครูปลัดสุวัฒนพุทธิคุณ, (สุเทพ ดีเยี่ยม) และณัฏยาณี บุญทองคำ. (2563). การสร้างนวัตกรรมในบริบท ภาครัฐไทย. วารสารการบริหารนิติบุคคลและนวัตกรรมท้องถิ่น, 6(3), 287-299.

พัชรนันท์ จิระวัฒนภิญโญ. (2562). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการปฏิบัติงานตามหลักธรรมาภิบาลของ บุคลากร กรมปศุสัตว์สังกัดส่วนภูมิภาคในพื้นที่เขต 4. ขอนแก่น: สำนักงานปศุสัตว์เขต 4.

ไพรพนา ศรีเสน. (2544). ความคาดหวังของผู้รับบริการต่อคุณภาพบริการในงานผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลศิริราช คณะแพทย์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล. วิทยานิพนธ์ปริญญา วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหิดล.

มรกต จันทร์กระพ้อ. (2562). การสร้างองค์การแห่งนวัตกรรมเพื่อขับเคลื่อนสู่ความเป็นเลิศของ องค์การ. วารสารนักบริหาร Executive Journal, 39(1), 52-66.

มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์. (2560). บทที่ 2 การบริการสาธารณะ. สืบค้นเมื่อ 29 กันยายน 2565, จาก https://dspace.bru.ac.th/xmlui/

รัตนวดี โมรากุล. (2560). การวิเคราะห์องค์ประกอบองค์การแห่งนวัตกรรมของสถานศึกษาขั้น พื้นฐาน. ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม.

ลักขณา ธีรศักดิ์วรกุล และธีทัต ตรีศิริโชติ. (2564). ศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อนวัตกรรมภายใน องค์การวิสาหกิจขนาดกลางและ ขนาดย่อม (SMEs) ของกิจการให้บริการในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารวิชาการ สถาบันเทคโนโลยีแห่งสุวรรณภูมิ, 7(1), 131-147.

วิรัช วิรัชนิภาวรรณ. (2561). การบริหารจัดการยุคดิจิทัลมีผลต่อการให้บริการสาธารณะของกรุงเทพ

มหานครตามแนวคิดการบริหารจัดการที่ยั่งยืน. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยการจัดการและ เทคโนโลยีอีสเทิร์น, 15(2), 370-383.

วิโรจน์ ก่อสกุล ชลิดา ศรมณี เฉลิมพล ศรีหงส์ และสิทธิพันธ์ พุทธหุน. (2562). การบริการสาธารณะแนว ใหม่: ศึกษาเฉพาะกรณีกรุงเทพมหานคร. วารสารรัชต์ภาคย์, 13(31), 55-68.

วิไลวรรณ เกตุพันธ์. (2564). นวตักรรมในการบริหารงานภาครฐั : กรณีศึกษา กองการเจ้าหน้าที่ กรมการปกครอง. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

วุฒิพงษ์ ภักดีเหลา. (2554). การศึกษาคุณลักษณะขององค์การนวัตกรรม: กรณีศึกษาองค์การที่ ได้รับรางวัลด้านนวัตกรรม. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และองค์การ บัณฑิตวิทยาลัย สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

สำนักปลัดกรุงเทพมหานคร. (2563). ข้อมูลประกอบการสัมภาษณ์ของผู้ว่าราชการกรุงเทพ

มหานคร. สืบค้นเมื่อ 25 กันยายน 2565, จาก https://iao.bangkok.go.th/storage/files/

อรทัย ก๊กผล. (2552). คู่คิด คู่มือ การมีส่วนร่วมของประชาชนสาหรับนักบริหารท้องถิ่น. กรุงเทพฯ: จรัล สนิทวงศ์การพิมพ์.

อรุณี ไพศาลพาณิชย์กุล. (2560). องค์การนวัตกรรม: มโนทัศน์ และตัวแบบเชิงทฤษฎี. วารสาร

พัฒนบริหารศาสตร์, 57(3), 158-187.

อุมาพร กาญจนคลอด และคณะ. (2559). ประสิทธิผลในการจัดการนวัตกรรมของเทศบาลในประเทศไทย. Veridian E-Journal, Silpakorn University ฉบับภาษาไทย สาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ, 9(2), 2158- 2171.

Adair, J. E. (1996). Effective Innovation: How to Stay Ahead of the Competition. London: Pan Books.

Bangkok, Office of Strategy and Evaluation. (n.d.). Bangkok Development Plan Phase 2 (2018- 2022). Retrieved March 2, 2018, from www.bangkok.go.th/upload/user/00000130.

Gibbons, A. (1997). Innovation and the Developing System of Knowledge Production. University of Sussex.

Herkema, S. (2003). A Complex Adaptive Perspective on Learning with in Innovation Projects. The Learning Organization. 10 (6), 340- 346.

Hisrich, R. D. and Kearney, C. (2014). Managing Innovation and Entrepreneurship. Los Angeles: Sage.

Quinn, J. B. (1991). Honda Motor Company. In: Mintzberg, H. and Quinn, J.B., Eds., The Strategy Process: Concepts, Contexts, Cases, (2nd ed.).Prentice Hall International, Upper Saddle River, 284-299.

Wanapa, W. (2012). The components of the innovative organization : Evidence from Thailand. Review of Business & Finance case studies, 3(1), 13-21.