การพัฒนา การพัฒนาการส่งเสริมการปลูกฝังจิตสำนึกการเมืองการปกครอง ในระบอบประชาธิปไตยแก่เยาวชนจังหวัดลพบุรี การส่งเสริมการปลูกฝังจิตสำนึกการเมืองการปกครอง ในระบอบประชาธิปไตยแก่เยาวชนจังหวัดลพบุรี
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาสภาพทั่วไป ปัญหาและอุปสรรค 2) เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการส่งเสริมการปลูกฝังจิตสำนึกการเมืองการปกครองในระบอบประชาธิปไตย และ 3) เพื่อนำเสนอแนวทางการพัฒนาการส่งเสริมการปลูกฝังจิตสำนึกการเมืองการปกครองในระบอบประชาธิปไตยแก่เยาวชนจังหวัดลพบุรี โดยการประยุกต์ใช้ตามหลักสาราณียธรรม 6 ใช้การวิจัยแบบผสานวิธี คือ การวิจัยเชิงคุณภาพมีผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 18 รูปหรือคน โดยการสนทนากลุ่มเฉพาะ และการวิจัยเชิงปริมาณใช้กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 390 คน
ผลการวิจัย พบว่า
- สภาพทั่วไป ปัญหาและอุปสรรค 1) จุดเด่น มีการส่งเสริมกิจกรรมการจำลองประชาธิปไตยในสถานศึกษา 2) จุดอ่อน ครูผู้สอนยังขาดความรู้และประสบการณ์เทคนิควิธีการถ่ายทอดเกี่ยวกับการเมืองการปกครอง 3) โอกาส ปลูกฝังจิตสำนึกทางการเมืองการปกครองผ่านโครงการต่าง ๆ ในทุกระดับชั้นในสถานศึกษา และ4) อุปสรรค เยาวชนอยู่ในช่วงวัยรุ่นมีความคิดเป็นตัวของตัวเอง
- ปัจจัยที่ส่งผลต่อการส่งเสริมการปลูกฝังจิตสำนึกการเมืองการปกครองในระบอบประชาธิปไตยของเยาวชนจังหวัดลพบุรีให้ประสบความสำเร็จ จะต้องให้ความสำคัญและพัฒนาปัจจัยการกล่อมเกลาทางการเมือง คือ กลุ่มเพื่อน สถาบันครอบครัว และสถาบันทางการเมือง และปัจจัยด้านหลักสาราณียธรรม 6 คือ สาธารณโภคี, ทิฏฐิสามัญญตา , สีลสามัญญตา และเมตตากายกรรม
- แนวทางการพัฒนาการส่งเสริมการปลูกฝังจิตสำนึกการเมืองการปกครองในระบอบประชาธิปไตยแก่เยาวชนจังหวัดลพบุรีโดยการประยุกต์ใช้ตามหลักสาราณียธรรม 6 ประกอบด้วย 1) เมตตากายกรรม การช่วยเหลือซึ่งกันและกันปฏิบัติต่อกันด้วยความเมตตา 2) เมตตาวจีกรรม การชี้แนะเพื่อนในสิ่งที่ดี 3) เมตตามโนกรรม การเข้าไปมีส่วนร่วมในการพัฒนาสถานศึกษาผ่านกิจกรรมต่าง ๆ 4) สาธารณโภคี การปลูกฝังจิตสำนึกเริ่มจากการรู้จักแบ่งปัน 5) สีลสามัญญตา การปลูกฝังให้นักเรียนปฏิบัติตนตามระเบียบวินัยของโรงเรียน 6) ทิฏฐิสามัญญตา การแสดงความคิดเห็นร่วมกันด้วยหลักประชาธิปไตย
คำสำคัญ: การส่งเสริมการปลูกฝังจิตสำนึกการเมืองการปกครองในระบอบประชาธิปไตย,หลักสาราณียธรรม ๖,
เยาวชนจังหวัดลพบุรี
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
บรรณานุกรม
คุณากร กรสิงห์ และณัฐชัย นิ่มนวล. (2558). การเสริมสร้างกระบวนการพัฒนาจิตสำนึกทางการเมืองแบบมีส่วนร่วมของเยาวชนระดับอุดมศึกษาในจังหวัดนครสวรรค์. วารสารวิชาการและวิจัยสังคมศาสตร์, 10(1),29.
จิรพงศ์ มหาพจน์ และเบญจวรรณ บุญโทแสง. (2560). สถาบันการศึกษากับการขัดเกลาทางสังคมที่มีต่อเยาวชนเพื่อความเป็นประชาธิปไตย. วารสารสังคมศาสตร์ นิติรัฐศาสตร์, 1(1),187.
เนชั่น. (2563). กลุ่มชาวลพบุรี ปะทะม็อบนักศึกษา, เนชั่นออนไลน์ เรียกใช้เมื่อ 13 กันยายน 2563 จากhttps://www.nationtv.tv/.
พระครูวินัยธรอธิษฐ์ สุวฑ.โฒ (สุขพานิช). (2564). การบูรณาการหลักพุทธธรรมเพื่อส่งเสริมวัฒนธรรมทางการเมืองในระบอบประชาธิปไตยของประชาชนในจังหวัดเพชรบุรี. ในดุษฎีนิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐศาสตร์, บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระธรรมปิฏก (ป.อ.ปยุตโต). (2539). นิติศาสตร์แนวพุทธ. กรุงเทพมหานคร: บริษัท สหธรรมิก จำกัด.
รพีพร ธงทอง และคณะ. (2562). การส่งเสริมพฤติกรรมตามหลักสาราณียธรรมเพื่อป้องกันปัญหาการทะเลาะวิวาท. วารสารสถาบันวิจัยญาณสังวร, 10(2),139.
วัชรินทร์ ชาญศิลป์. (2562). ปัจจัยที่มีผลต่อการอบรมกล่อมเกลาทางการเมืองของเยาวชนไทย. วารสารรัฐศาสตร์ปริทรรศน์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 6(1),54.
สุวรรณา ผึ่งผาย. (2550). การศึกษาการพัฒนาพฤติกรรมจิตสำนึกประชาธิปไตยของนักเรียนช่วงชั้นที่ 3 โรงเรียนศรีวิทยาปากน้ำ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสมุทรปราการ เขต 1. ในวิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต, บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฎบ้านสมเด็จเจ้าพระยา.
อนุชา พละกุล. (2563). การวิเคราะห์โลกทัศน์ทางการเมืองของเยาวชนที่มีต่อรัฐบาลไทย ช่วง พ.ศ. ๒๕๖๓.
วารสาร มจร เพชรบุรีปริทรรศน์, 3(1),61.