การบริหารพฤติกรรมองค์การด้วยหลักพุทธธรรม
Main Article Content
บทคัดย่อ
พฤติกรรมองค์การ (Organizational behavior) ก็คือการรวมตัวของปัจเจกบุคคล พฤติกรรมกลุ่มแต่ละกลุ่ม ซึ่งเราไม่สามารถแยกปัจเจกบุคคลออกไปจากองค์การได้ การบริหารจัดการพฤติกรรมองค์การจึงต้องทำความเข้าใจพฤติกรรมของมนุษย์ในองค์การให้ดีเสียก่อน จึงจะช่วยให้ผู้บริหารมีความเข้าใจ และสามารถทำนายพฤติกรรมของตนเองและของผู้อื่นในองค์การได้ ตลอดจนสามารถควบคุมปัจจัยพื้นฐานต่างๆ เกี่ยวกับการรับรู้ค่านิยม ทัศนคติ การจูงใจ การสร้างขวัญกำลังใจและความพึงพอใจในงาน และการทำงานเป็นทีมการใช้พลังงานกลุ่มให้เป็นประโยชน์ต่อองค์การ เพื่อให้เกิดพฤติกรรมที่พึงประสงค์ และนำไปสู่การเพิ่มประสิทธิภาพในองค์การ
การบริหารจัดการพฤติกรรมองค์การตามหลักพุทธธรรมคือ กระบวนการหรือแนวทางที่ก่อให้เกิดความเหมาะสมทางด้านพฤติกรรมของมนุษย์ที่มุ่งเน้นการบริหารทางกายและบริหารใจ ก่อให้เกิดความรักและสามัคคีอันเป็นพื้นฐานของการอยู่ร่วมกันให้บุคลากรได้มีส่วนร่วมกันจัดระเบียบการวินิจฉัยสั่งการหรือการแก้ปัญหา ซึ่งต้องอาศัยข้อเท็จจริงและหลักเหตุผล ซึ่งพฤติกรรมเหล่านี้เป็นการสร้างจิตสำนึกให้เกิดกับบุคลากรในหน่วยงาน คือ ครองตน ครองคน ครองงาน ก่อให้เกิดองค์ความรู้และความเข้าใจโดยไม่มีอคติต่อผู้ร่วมงาน ปฏิบัติหน้าที่อย่างถูกต้องและเป็นธรรม
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
ธนวรรธ ตั้งสินทรัพย์ศิริ. (2550). พฤติกรรมองค์การ. กรุงเทพมหานคร: บริษัทธนธัชการพิมพ์.
พระธรรมปิฎก (ประยุทธ์ ปยุตโต). “พจนานุกรรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวนธรรม” : คณะผู้ศรัทธาร่วมกันจัดพิมพ์
รศ.ดร.นงนุช วงษ์สุวรรณ, การบริหารทรัพยากรมนุษย์, (กรุงเทพมหานคร : จามจุรีโปรดักท์, 2553)
วิโรจน์ สารรัตนะ. (2555). แนวคิด ทฤษฎี และประเด็นเพื่อการบริหารทางการศึกษา. (พิมพ์ครั้งที่ 8). กรุงเทพฯ : ทิพยวิสุทธิ์.
ศ.ดร.เสริมศักดิ์ วิศาลาภรณ์.(2525). พฤติกรรมผู้นำทางการศึกษา (พิมพ์ครั้งที่ 2 ) กรุงเทพมหานคร ไทยวัฒนาพานิช.
สตอกดิลล (Stogdill, 1974, pp. 74-75) ได้ศึกษารวบรวมงานวิจัยเกี่ยวกับคุณลักษณะของ. ผู้นํา โดยแบ่งตามคุณลักษณะ 6 ด้านดังต่อไปนี้. Page 7. 13.
หนังสือพุทธวิธีบริหาร พระธรรมโกศาจารย์ (ศ.ดร.ประยูร ธมฺมจิตฺโต) กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย,2549
Porter, Michael E. (1985). Competitive Advantage. New York: Free Press .
Simon, Herbert A. (1965). Administrative Behaviour. New York: The McMillen