คุณภาพการให้บริการที่ส่งผลต่อความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวในการท่องเที่ยวสวนสัตว์ซาฟารีเวิลด์
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์ 1)เพื่อศึกษาถึงระดับของ คุณภาพการบริการ และความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวที่มีต่อการให้บริการของบริษัท ซาฟารีเวิลด์ จำกัด มหาชน 2) เพื่อเปรียบเทียบระดับความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวจำแนกตามลักษณะปัจจัยส่วนบุคคล3) เพื่อศึกษาปัจจัยคุณภาพการบริการที่ส่งผลต่อความพึงพอใจของนักท่องเที่ยว กลุ่มตัวอย่าง เป็นนักท่องเที่ยวที่เข้าเที่ยวชมสวนสัตว์ซาฟารีเวิลด์ จำนวน 385 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน t-test ความแปรปรวนทางเดียว และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคุณผลการวิจัยพบว่า 1) คุณภาพการบริการในภาพรวม มีค่าเฉลี่ยความคิดเห็นในระดับมากที่สุด ความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวที่เข้าเที่ยวชมสวนสัตว์ซาฟารีเวิลด์ ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก 2) นักท่องเที่ยวที่มีเพศ อายุ สถานภาพ อาชีพและรายได้เฉลี่ยต่อเดือนแตกต่างกัน มีความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวที่เข้าเที่ยวชมสวนสัตว์ซาฟารีเวิลด์ ไม่แตกต่างกัน 3)คุณภาพการให้บริการ ด้านความเป็นรูปธรรม ด้านความน่าเชื่อถือไว้วางใจ ด้านการตอบสนองต่อนักท่องเที่ยว ด้านการให้ความเชื่อมั่นต่อนักท่องเที่ยว ด้านความเข้าใจต่อนักท่องเที่ยว ส่งผลต่อความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวที่เข้าเที่ยวชมสวนสัตว์ซาฟารีเวิลด์
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กรรัตน์ คุ้มกระ. (2563). คุณภาพการให้บริการด้านการท่องเที่ยวเชิงเกษตร. มหาวิทยาลัยนานาชาติแสตมฟอร์ด.
กัลยา วาณิชย์บัญชา. (2560). การวิเคราะห์สถิติชั้นสูงด้วย SPSS for Window. (พิมพ์ ครั้งที่ 12). กรุงเทพฯ: ห้างหุ้นส่วนจํากัด สามลดา.
ปภัสว์ฤล สิริพัชรงค์กูร. (2555). ความคิดเห็นของนักท่องเที่ยวชาวไทยต่อการ ดำเนินงานด้านการสื่อสารและการประชาสัมพันธ์ ของสวนสัตว์ซาฟารีเวิลด์ กรุงเทพมหานคร. มหาวิทยาลัยเกริก.
พรประภา ไชยอนุกูล. (2557). คุณภาพการให้บริการของสถานที่ท่องเที่ยวที่มีผลต่อ ความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวชาวไทยในอำเภอสวนผึ้ง จังหวัดราชบุรี. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.
พิมพาพร งามศรีวิเศษ. (2555) ปัจจัยส่วนประสมด้านการตลาดบริการที่มีอิทธิพลต่อ พฤติกรรมการท่องเที่ยวสวนสัตว์ดุสิตและสวนสัตว์ซาฟารีเวิลด์ของ นักท่องเที่ยว. มหาวิทยาลัยศรีนครินทร์วิโรฒ.
เพียงใจ คงพันธ์. (2564). ความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวชาวไทยที่มีต่อการท่องเที่ยว เขาศูนย์ จังหวัดนครศรีธรรมราช. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี ปีที่ 12 ฉบับที่ 1 (มกราคม-มิถุนายน).
วันวิสาข์ ศรีกลับ. (2561) ปัจจัยความสำคัญที่ส่งผลต่อความพึงพอใจ และการกลับมาท่ องเที่ยวสวนสัตว. มหาวิทยาลัยมหิดล.
สาวิตรี กระทุ่มทอง. (2555). คุณภาพบริการกับการตัดสินใจมาเที่ยวสวนสัตว์เปิดเขา เขียว จังหวัดชลบุรี. มหาวิทยาลัยบูรพา.
สุริยา แสงพงค์. (2561). ความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวต่อการท่องเที่ยวสวนสัตว์เปิด เขาเขียว จังหวัดชลบุรี. วารสารด้านการบริหารรัฐกิจและการเมือง มหาวิทยาลัยบูรพา.
สุวิชญานนท์ กัณทนะและคณะ ( 2563) ศึกษาเรื่อง คุณภาพการให้บริการของฝ่ายการศึกษาสวนสัตว์เปิดเขาเขียวอําเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี Journal of modern learning development ปีที่ 7 ฉบับที่ 9 หน้า 14-25
Cronbach, L. J. (1974). Essentials of Psychological testing. New York : Harper and Row.
Fennell, D. A. (2012).Tourism and animal ethics.London: Routledge.