กฎแห่งกรรม ยุติธรรมจริงไหม

Main Article Content

ศศิภา แก้วหนู
สิริวัฒน์ ศรีเครือดง
มั่น เสือสูงเนิน

บทคัดย่อ

บทความเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงแนวคิดในเรื่องกฎแห่งกรรม และผลของการกระทำตามกฎแห่งกรรมว่ามีความยุติธรรมดังคำสอนหรือไม่ โดยการศึกษาหลักธรรม สัมมาทิฐิตามแนวคำสอนของพระพุทธเจ้า ผลการศึกษาพบว่า (๑) กฎแห่งกรรมมีหลักกรรมกล่าวไว้ว่าทำดีย่อมได้รับผลดี ทำชั่วย่อมได้รับผลชั่ว คำกล่าวนี้ย่อมเป็นจริงเสมอ จะส่งผลช้าหรือเร็วนั้นขึ้นอยู่กับเวลาและการกระทำในปัจจุบันส่งเสริมสนับสนุน (๒) ความสำคัญของกฎแห่งกรรม เป็นตัวจำแนกความแตกต่างของสัตว์ทั้งหลาย มนุษย์แตกต่างจากสัตว์ประเภทอื่น เพราะกรรมที่กระทำมาในอดีตส่งผลในปัจจุบันนี้ และทำให้ได้ข้อคิดว่า ควรจะประกอบกรรมดี เพื่อจะได้เกิดความสมบูรณ์ในอนาคต (๓) ความซับซ้อนของการให้ผลของกรรม ไม่ควรด่วนสรุปว่า หลักกรรมไม่ถูกต้อง แล้วนำมาตัดพ้อ เพื่อไม่ทำความดี หันกลับไปทำความชั่ว ซึ่งอันตรายต่อการดำเนินชีวิต (๔) การไม่เชื่อในกฎแห่งกรรม ย่อมจะได้รับผลเสียมากกว่าผลดี ดังนั้นแม้ไม่มีความเชื่อทางศาสนา หรือไม่มีความเชื่อเรื่องกฎแห่งกรรม อย่างน้อยก็ควรจะมีหลักในการพิจารณาเพื่อการดำเนินชีวิตที่ถูกต้องตามหลักที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแนะนำไว้ ก็จะทำให้ดำเนินชีวิตในปัจจุบันได้อย่างมีความสุข หรือยิ่งถ้าหากตายไปแล้ว มีโลกหน้าจริงก็จะได้ปลอดภัย คือ จะเชื่อหรือไม่เชื่อ ก็ให้ทำความดีตั้งไว้เป็นสรณะ

Article Details

How to Cite
แก้วหนู ศ., ศรีเครือดง ส., & เสือสูงเนิน ม. (2023). กฎแห่งกรรม ยุติธรรมจริงไหม. วารสาร มจร เพชรบุรีปริทรรศน์, 6(1), หน้า 153 – 160. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JPR/article/view/266863
บท
บทความวิชาการ

References

ทิพากาญจน์ ประภารัตน์.(2558).การใช้อนุสาสนีปาฏิหาริย์เพื่อการเผยแผ่พระพุทธศาสนาของ

พระพุทธเจ้าในคัมภีร์พระพุทธศาสนา.วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร ปีที่ 4 ฉบับพิเศษ: 284-

พระครูโกวิทสุตาภรณ์.(2565). การศึกษาเปรียบเทียบรูปแบบการเผยแผ่พระพุทธศาสนาของพระสงฆ์

กับการเผยแผ่คริสต์ศาสนาของบาทหลวงเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตในจังหวัดหนองบัวลําภู.วารสาร

มจร.พุทธศาสตร์ปริทรรศน์ ปีที่ 6 ฉบับที่ 3 (กรกฎาคม – ธันวาคม)2023: 33-45.

พระธรรมปิฎก.(ป.อ.ปยุตฺโต). (2545). การพัฒนาที่ยั่งยืน.(พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพมหานคร: .สหธรรมิก.

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

สิริวรรณ มิตต์สัตย์สิริกุล.2565. “การประยุกต์ใช้หลักพุทธธรรมในการส่งเสริมสุขภาวะของผู้สูงอายุ

จังหวัดน่านในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19,”วารสาร มจร พุทธศาสตร์ปริทรรศน์

ปีที่ 6ฉบับที่ 3(กันยายน–ธันวาคม2565): 21-34