การบริหารการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อคุณภาพการจัดการเรียนรู้ของครู ภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา2019 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเพชรบุรี
Main Article Content
บทคัดย่อ
การบริหารการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษาของผู้บริหารสถานศึกษานั้นมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งต่อคุณภาพการจัดการเรียนรู้ของครู ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา2019 ผู้วิจัยจึงสนใจศึกษาวิจัยเรื่องนี้ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาที่ 1) ระดับการบริหารการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษา 2) ระดับคุณภาพการจัดการเรียนรู้ของครู 3) การบริหารการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อคุณภาพการจัดการเรียนรู้ของครู ภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา2019 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ครูผู้สอน ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 300 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน
ผลการวิจัย พบว่า
- ระดับของการบริหารการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษาทั้งในภาพรวมและรายด้านทุกด้านอยู่ในระดับมาก
- ระดับของคุณภาพการจัดการเรียนรู้ของครู ภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัส2019 ทั้งในภาพรวมและรายด้านทุกด้านอยู่ในระดับมาก
- ระดับของการบริหารการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อคุณภาพการจัดการเรียนรู้ของครู ภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา2019 คือด้านการติดต่อสื่อสาร การสร้างความตระหนัก และการวางแผนการเปลี่ยนแปลง โดยมีประสิทธิภาพในการทํานายร้อยละ 35.80 เขียนเป็นสมการได้ดังนี้ tot = 0.188(x2) + 0.203(x3) + 0.173(x1)
ข้อค้นพบจากการวิจัยครั้งนี้ แสดงให้เห็นว่า การบริหารการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษาของผู้บริหาร ด้านการติดต่อสื่อสารส่งผลต่อคุณภาพการจัดการเรียนรู้ของครู มากกว่าด้านอื่น ดังนั้นผู้บริหารสถานศึกษาควรนําสิ่งที่เปลี่ยนแปลงไปดำเนินการและรักษาให้คงอยู่ได้อย่างมีระบบ
คำสำคัญ : การบริหารการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษา คุณภาพการจัดการเรียนรู้ของครู สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา2019
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กรรณิการ์ แสนสุภา และคณะ. (2563). การปรับตัวของนักศึกษาใน สถานการณ์โควิด-19. วารสาร มจร มนุษยศาสตร์ปริทรรศน์, 6(2), 83-97.
แพรภัทร ยอดแก้ว. (2564). ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง (Transformational Leadership). เรียกใช้เมื่อ 15 เมษายน 2564 จาก https://www.gotoknow.org/post.
ประเวศ วะสี. (2555). จุดเปลี่ยนมหาวิทยาลัยไทย-จุดเปลี่ยนประเทศไทย. โพสต์ทูเดย์ ฉบับที่ 3463.
ปัณรส มาลากุล ณ อยุธยา. (2552). การบริหารการเปลี่ยนแปลง. กรุงเทพมหานคร: ภาควิชารัฐประศาสนศาสตร์ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
เมตตา สารีวงค์. (2558). การบริหารการเปลี่ยนแปลงที่ส่งผลต่อการบริหารงานบุคคลในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาราชบุรีเขต 2. ใน (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา). บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม.
รงค์ บุญสวยขวัญ. (2560). การบริหารการเปลี่ยนแปลง:กรอบแนวคิดการวิจัย. กรุงเทพมหานคร: สำนักวิชารัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์.
วรรณา เอราวรรณ์. (2561). การบริหารการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบุรี เขต 2. ใน (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา). บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี.
วิจารณ์ พานิช. (2555). วิถีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพมหานคร: มูลนิธิสดศรี-สฤษดิ์วงศ์.
วิภาวดี กรรณประชา. (2557). การบริหารการเปลี่ยนแปลงกับความพร้อมในการเข้าสู่ประชาคม อาเซียนของคณะวิศวกรรมศาสตร์มหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ. ใน (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา). บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.
สาวิตรี มาตรขาว. (2560). ปัจจัยภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการจัดการเรียนรู้ของครูผู้สอนในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 23. ใน (วิทยานพินธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา). บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเพชรบุรี. (2563). รายงานการนิเทศติดตามและสร้างขวัญและกำลังใจในการบริหารจัดการ และการจัดการเรียนการสอนในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19). เพชรบุรี.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2564). แนวทางการจัดการเรียนการสอนทางไกลในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19). เรียกใช้เมื่อ 15 เมษายน 2564 จาก https://covid19.obec.go.th/
หยาดทิพย์ ซีซอง. (2564). ปัจจัยภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารโรงเรียนที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการจัดการเรียนรู้ของครูผู้สอนในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษประถมศึกษามุกดาหาร. ใน (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา). บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.
อรรคพล สงวนยวง. (2561). การบริหารการเปลี่ยนแปลงและสมรรถนะของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อคุณลักษณะโรงเรียนมาตรฐานสากล สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 10. ใน (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา). บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี.
อวาทิพย์ แว. (2563). COVID-19 กับการเรียนรู้สู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพในวันนี้. วารสารสมาคมวิชาชีพสุขศึกษา, 35(1), 24-29.
Best. J.W. . (1970). Research In Education. (2nded). Englewood Cliffs. New Jersey.
Kotter, J.P. . (1996). Leading Change. Massachusetts: Harvard Business School Press. .
Krejcie R. V., & Morgan D. W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607-610.