พุทธบูรณาการการพัฒนาการเมืองท้องถิ่นในระบอบประชาธิปไตยของจังหวัดเพชรบุรี
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยฉบับนี้ทีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาสภาพทั่วไป ปัญหาและ อุปสรรคของความเป็นประชาธิปไตยของจังหวัดเพชรบุรี 2) เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการพัฒนาการเมืองท้องถิ่นในระบอบประชาธิปไตยของจังหวัดเพชรบุรี 3) เพื่อนำเสนอการบูรณาการหลักพุทธรรมเพื่อการพัฒนาการเมืองท้องถิ่นในระบอบประชาธิปไตยของจังหวัดเพชรบุรี การวิจัยเป็นแบบผสานวิธี ระหว่างการวิจัยเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ เครื่องมือวิจัยเชิงคุณภาพใช้เครื่องมือ คือ แบบสัมภาษณ์เชิงลึก โดยสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 22 รูปหรือคน และการสนทนากลุ่มเฉพาะผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 10 รูปหรือคน โดยใช้เทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหาเชิงพรรณนา ในส่วนของการวิจัยเชิงปริมาณใช้เครื่องมือ คือ แบบสอบถาม ซึ่งมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.987 ในการเก็บข้อมูลผู้วิจัยได้ทำการเก็บข้อมูลด้วยตัวเองกับกลุ่มตัวอย่างคือ ผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งในจังหวัดเพชรบุรี จำนวน 400 คน ซึ่งได้มาจากสุ่มตัวอย่างแบบอย่างง่าย วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ โปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ คือ ความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ
ผลการวิจัยพบว่า
๑. สภาพทั่วไป และปัญหา อุปสรรคของการพัฒนาความเป็นประชาธิปไตยท้องถิ่นของจังหวัดเพชรบุรี ประกอบด้วย มิติสถาบันการปกครองท้องถิ่น องค์กรปครองส่วนท้องถิ่นของจังหวัดเพชบุรีมีอิสระในการปกครองตนเอง เปิดกว้างให้ประชาชนได้มีส่วนรวมในการบริหารท้องถิ่น โปร่งใส สามารถตรวจสอบได้ และมีความรับผิดชอบ ต่อประชาชนผู้เจ้าของอำนาจอธิปไตย อยู่ในระดับปานกลาง ( ( = 3.40) มิติกระบวนการมีส่วนร่วม ประชาชนมีส่วนร่วมในการวางแผนพัฒนาท้องถิ่นโดยทางตรงและทางอ้อม ประชาชนมีส่วนรวมในการบริหารท้องถิ่น ผ่านการเลือกตั้งผู้บริหารท้องถิ่น และสามารถตรวจสอบการทำงานของผู้บริหารท้องถิ่นได้ผ่านการรับรู้ข้อมูลข่าวสาร และการร้องเรียน อยู่ในระดับปานกลาง ( = 3.40) มิติวิถีชีวิตของคนในชุมชน ท้องถิ่นมีความศรัทธาและความเชื่อมั่นในพลังของประชาชน เนื่องจากประชาชนถือเป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตย ผู้บริหารท้องถิ่นให้ความสำคัญต่อการรับใช้ประชาชน อยู่ในระดับปานกลาง ( = 3.39) โดยอุปสรรคสำคัญต่อการพัฒนาความเป็นประชาธิปไตยท้องถิ่นของจังหวัดเพชรบุรี คือ ระบบอุปถัมภ์การเอื้อประโยชน์ต่อกลุ่มคนที่มีความใกล้ชิดกับผู้นำท้องถิ่นหรือผู้มีอิทธิพลทางการเมืองท้องถิ่น
๒. ปัจจัยที่ส่งผลต่อการพัฒนาความเป็นประชาธิปไตยท้องถิ่นของจังหวัดเพชรบุรี พบว่า (1) การมีระบบกฎหมายหรือรัฐธรรมนูญส่งผลต่อการพัฒนาการเมืองท้องถิ่นในระบอบประชาธิปไตย (F = 0.25, sig = 0.00) (2) วัฒนธรรมทางการเมืองที่เป็นประชาธิปไตยส่งผลต่อการพัฒนาการเมืองท้องถิ่นในระบอบประชาธิปไตย (F = 2.86, sig = 0.00) (3) การพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมส่งผลต่อการพัฒนาการเมืองท้องถิ่นในระบอบประชาธิปไตย (F = 6.33, sig = 0.00) (4) ระดับการศึกษาของคนในท้องถิ่นส่งผลต่อการพัฒนาการเมืองท้องถิ่นในระบอบประชาธิปไตย (F = 6.91, sig = 0.00) และ (5) ลักษณะนิสัยของคนในท้องถิ่นส่งผลต่อการพัฒนาการเมืองท้องถิ่นในระบอบประชาธิปไตย (F = 14.23, sig = 0.00)
๓. การบูรณาการหลักพุทธธรรมเพื่อการพัฒนาการเมือท้องถิ่นในระบอบประชาธิปไตยของจังหวัดเพชรบุรี ตามหลักสัปปุริสธรรม โดยบูรณาการเข้ากับการพัฒนาความเป็นประชาธิปไตยท้องถิ่น ประกอบด้วย 1. ธัมมัญญุตา ส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม และเคารพกฎหมายบ้านเมือง อยู่ในระดับมาก ( = 3.83) 2. อัตถัญญุตา ส่งเสริมสร้างความเข้าใจใหลักการประชาธิปไตยแก่ประชาชนในท้องถิ่น อยู่ในระดับมาก ( = 3.83) 3. อัตตัญญุตา ส่งเสริมความเป็นพลเมืองและนักปกครองที่ดี อยู่ในระดับมาก ( = 3.55) 4. มัตตัญญุตา ส่งเสริมการใช้อำนาจอย่างมีขอบเขตและใช้งบประมาณอย่างมีประสิทธิภาพ อยู่ในระดับมาก ( = 3.52) 5. กาลัญญุตา ส่งเสริมการรู้เท่าทันความเปลี่ยนแปลงของเศรษฐกิจและสังคม อยู่ในระดับปานกลาง ( = 3.36) 6. ปริสัญญุตา ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชน อยู่ในระดับปานกลาง ( = 3.49) 7. ปุคลลัญญุตา ส่งเสริมการเคารพในสิทธิและเสรีภาพของบุคคลอื่น อยู่ในระดับมาก ( = 3.61)
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
พระมหานรินทร์ สุรปญฺโญ (เอมพันธ์). “การประยุกต์หลักพุทธจริยธรรมเพื่อพัฒนาจริยธรรมทางการเมืองของผู้นำทางการเมืองในจังหวัดชัยภูมิ”. ดุษฎีนิพนธ์ ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐศาสตร์. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 2563.
พระครูวินัยธรอธิษฐ์ สุวฑฺโฒ. “การบูรณาการหลักธรรมเพื่อส่งเสริมวัฒนธรรมทางการเมืองในระบอบประชาธิปไตยของประชาชนในจังหวัดเพชรบุรี”. ดุษฎีนิพนธ์ ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐศาสตร์. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. 2564.
ชัยรัตน์ วงศ์กิจรุ่งเรืองและคณะ. “ความสัมพันธ์ระหว่างองค์ประกอบภายในของความเป็นประชาธิปไตยท้องถิ่นของเทศบาลนครในประเทศไทย”. วารสารสังคมศาสตร์และมนุษย์ศาสตร์. ปีที่ 39 ฉบับที่ 2 (2556) : 142.
ธงชัย วงศ์ชัยสุวรรณ และเทียนชัย วงศ์ชัยสุวรรณ. “การมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนชั้นกลาง”. รายงานวิจัย. สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร : สภาผู้แทนราษฎร. 2541, หน้า 158.
ธานินทร์ ศิลป์จารุ. การวิจัยและวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วย SPSS และ AMOS. พิมพ์ครั้งที่ 15. นนทบุรี : บริษัท เอส.อาร์. พริ้นติ้ง. 2547, หน้า 45.
ประคอง มาโต. “การส่งเสริมความนิยมทางการเมืองของประชาชนที่มีต่อนักการเมืองในจังหวัดอุทัยธานี”. ดุษฎีนิพนธ์ ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐศาสตร์, (บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 2564.
ไพวรรณ ปุริมาตร. “พลวัตทางการเมืองกับการเสริมสร้างวัฒนธรรมทางการเมืองในระบอบประชาธิปไตยของนักการเมืองท้องถิ่น”. ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชา รัฐศาสตร์. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 2563.
ไพบูลย์ สุขเจตนี. “การพัฒนาความไว้วางใจทางการเมืองของประชาชนที่มีต่อนักการเมืองระดับท้องถิ่นในจังหวัดนนทบุรี”. ดุษฎีนิพนธ์ ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐศาสตร์. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. ๒๕๖๓.
สุกัญญาณัฐ อบสิณ. “การพัฒนาการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนในการเลือกตั้งทั่วไปของจังหวัดภาคเหนือตอนล่าง”. ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐศาสตร์. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 2564.
สำนักงานจังหวัดเพชรบุรี. แผนพัฒนาจังหวัดเพชรบุรี (พ.ศ.2561 - 2564). เพชรบุรี : กลุ่มงานยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัดเพชรบุรี. 2561, หน้า 3.