การประเมินโครงการส่งเสริมการอ่านห้องสมุดประชาชนจังหวัดเพชรบุรี สำหรบนักศึกษาการศึกษาขั้นพื้นฐาน ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอเมืองเพชรบุรี จังหวัดเพชรบุรี
Main Article Content
บทคัดย่อ
มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ประเมินภาพรวมโครงการส่งเสริมการอ่านห้องสมุดประชาชนจังหวัดเพชรบุรี สำหรับนักศึกษาการศึกษาขั้นพื้นฐาน ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอเมืองเพชรบุรี จังหวัดเพชรบุรี 2) ประเมินสภาพแวดล้อม (Context Evaluation) โครงการส่งเสริมการอ่านห้องสมุดประชาชนจังหวัดเพชรบุรี สำหรับนักศึกษาการศึกษาขั้นพื้นฐาน ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอเมืองเพชรบุรี จังหวัดเพชรบุรี 3) ประเมินปัจจัยนำเข้า (Input Evaluation) โครงการส่งเสริมการอ่านห้องสมุดประชาชนจังหวัดเพชรบุรี สำหรับนักศึกษาการศึกษาขั้นพื้นฐาน ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอเมืองเพชรบุรี จังหวัดเพชรบุรี 4) เประเมินกระบวนการดำเนินงาน (Process Evaluation) โครงการส่งเสริมการอ่านห้องสมุดประชาชนจังหวัดเพชรบุรี สำหรับนักศึกษาการศึกษาขั้นพื้นฐาน ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอเมืองเพชรบุรี จังหวัดเพชรบุรี 5) ประเมินผลผลิต (Product Evaluation) โครงการส่งเสริมการอ่านห้องสมุดประชาชนจังหวัดเพชรบุรี สำหรับนักศึกษาการศึกษาขั้นพื้นฐาน ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอเมืองเพชรบุรี จังหวัดเพชรบุรี 6) ประเมินด้านความพึงพอใจของผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับโครงการส่งเสริมการอ่านห้องสมุดประชาชนจังหวัดเพชรบุรี สำหรับนักศึกษาการศึกษาขั้นพื้นฐาน ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอเมืองเพชรบุรี จังหวัดเพชรบุรี ประชากรประกอบด้วย 1) ครู กศน. 2) บรรณารักษ์ 3) คณะกรรมการสถานศึกษา 4) นักศึกษา จำนวน 2,071 คน กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วย 1) ครู กศน. จำนวน 30 คน 2) บรรณรักษ์ จำนวน 2 คน 3) คณะกรรมการสถานศึกษา จำนวน 7 คน และ 4) นักศึกษา กศน. จำนวน 335 คน รวมจำนวนประชากรทั้งสิ้น 374 คน สุ่มตัวอย่างในรูปแบบเจาะจง (Purposive Sampling) กำหนดกลุ่มตัวอย่าง โดยการใช้สูตร Taro Yamane ทาโรยามาเน่ เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินโครงการส่งเสริมการอ่านห้องสมุดประชาชนจังหวัดเพชรบุรี สำหรับนักศึกษาการศึกษาขั้นพื้นฐาน ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอเมืองเพชรบุรี จังหวัดเพชรบุรี เป็นแบบสอบถาม จำนวน 4 ฉบับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ (P) ค่าเฉลี่ย () ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.)
ผลการวิจัยพบว่า
- ผลการประเมินโครงการส่งเสริมการอ่านห้องสมุดประชาชนจังหวัดเพชรบุรี สำหรับนักศึกษาการศึกษาขั้นพื้นฐาน ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอเมืองเพชรบุรี จังหวัดเพชรบุรี โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ย 26 ค่า S.D. เท่ากับ 0.25
- ผลการประเมินความคิดเห็นด้านสภาพแวดล้อม (Context) ต่อโครงการส่งเสริมการอ่านห้องสมุดประชาชนจังหวัดเพชรบุรี สำหรับนักศึกษาการศึกษาขั้นพื้นฐานศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอเมืองเพชรบุรี จังหวัดเพชรบุรี โดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ย 63 ค่า S.D. เท่ากับ 0.15
- ผลการประเมินความคิดเห็นด้านปัจจัยนำเข้า (Input) ต่อโครงการส่งเสริมการอ่านห้องสมุดประชาชนจังหวัดเพชรบุรี สำหรับนักศึกษาการศึกษาขั้นพื้นฐาน ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอเมืองเพชรบุรี จังหวัดเพชรบุรี โดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ย 4.14 ค่า S.D. เท่ากับ 0.44
- ผลการประเมินความคิดเห็นด้านกระบวนการ (Process) ต่อโครงการส่งเสริมการอ่านห้องสมุดประชาชนจังหวัดเพชรบุรี สำหรับนักศึกษาการศึกษาขั้นพื้นฐาน ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอเมืองเพชรบุรี จังหวัดเพชรบุรี ภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ย 3.86 ค่า S.D. เท่ากับ 0.45
- ผลการประเมินผู้ตอบแบบสอบถามมีสถานภาพเป็นครู กศน. บรรณารักษ์ คณะกรรมการสถานศึกษา ต่อโครงการส่งเสริมการอ่านห้องสมุดประชาชนจังหวัดเพชรบุรี สำหรับนักศึกษาการศึกษาขั้นพื้นฐาน ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอเมืองเพชรบุรี จังหวัดเพชรบุรี โดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ย 4.15 ค่า S.D. เท่ากับ 0.41
5.1 ผู้ตอบแบบสอบถามมีสถานภาพเป็นนักศึกษา ด้านผลผลิต (Product) ต่อโครงการส่งเสริมการอ่านห้องสมุดประชาชนจังหวัดเพชรบุรี สำหรับนักศึกษาการศึกษาขั้นพื้นฐาน ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอเมืองเพชรบุรี จังหวัดเพชรบุรี โดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุดมีค่าเฉลี่ย 4.52 ค่า S.D. เท่ากับ 0.49
- ผลการประเมินความคิดเห็น ด้านความพึงพอใจ ต่อโครงการส่งเสริมการอ่านห้องสมุดประชาชนจังหวัดเพชรบุรี สำหรับนักศึกษาการศึกษาขั้นพื้นฐาน ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอเมืองเพชรบุรี จังหวัดเพชรบุรี โดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ย 4.15 ค่า S.D. เท่ากับ 0.41
6.1 ผู้ตอบแบบสอบถามมีสถานภาพเป็นนักนักศึกษา ด้านผลผลิต ต่อโครงการส่งเสริมการอ่านห้องสมุดประชาชนจังหวัดเพชรบุรี สำหรับนักศึกษาการศึกษาขั้นพื้นฐาน ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอเมืองเพชรบุรี จังหวัดเพชรบุรี โดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ย 4.52 ค่า S.D. เท่ากับ 0.49
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
จักรพันธ์ ต๊ะเรียน. (2554). การประเมินโครงการส่งเสริมนิสัยรักการอ่านในสถานศึกษา สังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษากำแพงเพชร เขต 2. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต (การ บริหารการศึกษา) มหาวิทยาลัยราชภัฏกาแพงเพชร.
จันทร์มณี แตงอ่า. (2554). การประเมินโครงการส่งเสริมการอ่านกับชาวฟ้าขาว โรงเรียนวัดโบสถ์ศึกษา จังหวัดพิษณุโลก. การค้นคว้าแบบอิสระศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต (การประเมินการศึกษา) มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
ฉวีวรรณ คูหาภินันท์. (2542). การอ่านและการส่งเสริมการอ่าน. กรุงเทพฯ: โสภณการพิมพ์.
นฤมล พรมมาก. (2553). การประเมินโครงการส่งเสริมการรักการอ่านของสถานศึกษา สังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเพชรบูรณ์ เขต 3. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต (วิจัย และการประเมินผลการศึกษา). บัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์.
บุศรา เขื่อนแก้ว .(2561). แนวทางการพัฒนากิจกรรมส่งเสริมการอ่านของนักศึกษา กศน. ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย หลักสูตรการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอสองแคว จังหวัดน่าน. กศน.อำเภอสองแคว.
ปิยธิดา วงศ์ประสิทธิ์. (2557). ประเมินโครงการส่งเสริมนิสัยรักการอ่านของโรงเรียนนาบ่อคำ วิทยาคม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 41. การค้นคว้าแบบอิสระ ครุศาสตรมหาบัณฑิต (การบริหารการศึกษา) มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร.
ไพพรรณ อินทนิล. (2546). การส่งเสริมการอ่าน. ชลบุรี : ภาควิชาบรรณารักษศาสตร์และมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา.
สำนักงาน กศน. ประจำปีงบประมาณ 2563. กรุงเทพฯ: 2563.ม.ป.พ.
สุธารัตน์ ศรีวาลัย .(2560). การประเมินโครงการรักการอ่านของโรงเรียนสิริรัตนาธร โดยประยุกต์ใช้รูปแบบการประเมินแบบ CPO. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบณัฑิต สาขาวิชาการประเมินและการวิจัยการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฎรามคำแหง.
อนุชา ครสิงห์ .(2560). การประเมินโครงการรักการอ่านโรงเรียนเปรมประชาสำนักงานเขตดอนเมือง กรุงเทพมหานคร. ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมมาธิราช.
Taro Yamane. (1973). Statistics: An Introductory Analysis.3 rdEd. New York. Harper and Row Publications.
Van Hamersveld, C. E. (2007). A Survey of School Administrators’ Beliefs Regarding the Potential of School Library Programs to Impact Student Achievement. Dissertation Ph.D. (Education). Minnesota: Capella University. Retrieved August 27, 2021, from http://proquest.umi.com/pqdweb?did=1306864181&sid= 6&Fmt=2&clientId=61839&RQT=309&VName=PQD