องค์ความรู้ในการเลี้ยงวัวชน กรณีศึกษา ชุมชนบ้านในหมง ตำบลพรหมโลก อำเภอพรหมคีรี จังหวัดนครศรีธรรมราช

Main Article Content

Thapawut Chodchaey
จิตติมา ดำรงวัฒนะ
บุญยิ่ง ประทุม
พงศ์ประสิทธิ์ อ่อนจันทร์
พระครูวินัยธรสุริยา สุริโย (คงคาไหว)

บทคัดย่อ

การศึกษาเรื่อง องค์ความรู้ในการเลี้ยงวัวชน กรณีศึกษา ชุมชนบ้านในหมง ตำบลพรหมโลก อำเภอพรหมคีรี จังหวัดนครศรีธรรมราช โดยวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาองค์ความรู้ในการเลี้ยงวัวชน กรณีศึกษา ชุมชนบ้านในหมง และศึกษาแนวทางการส่งเสริมการเลี้ยงวัวชนของชุมชนบ้านในหมง ตำบลพรหมโลก อำเภอพรหมคีรี จังหวัดนครศรีธรรมราช โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ สัมภาษณ์กลุ่มผู้เลี้ยงวัวชน จำนวน 5 คน และกลุ่มผู้ให้การส่งเสริมสนับสนุน จำนวน 3 คน


ผลการวิจัยพบว่า


  1. องค์ความรู้ในการเลี้ยงวัวชน กรณีศึกษา ชุมชนบ้านในหมง 1.1) ภูมิหลังและพัฒนาการวัวชนของภาคใต้ การชนวัว เป็นกีฬาพื้นเมืองของคนภาคใต้ การชนวัวในระยะแรกเกิดจากการนำวัวมาชนกันเพื่อความสนุกสนานหลังเก็บเกี่ยวผลผลิตจากไร่นา ปัจจุบันจะมีการเลี้ยงวัวชนเพื่อการแข่งขัน การพนันขันต่อกัน 1.2) การคัดเลือกสายพันธุ์วัวชน สายพันธุ์วัวชนต้องเป็นพันธุ์ไทยแท้ พ่อพันธุ์เป็นวัวชน ลูกที่ออกมาจะเป็นวัวชนที่มีใจทรหดอดทน มีไหวพริบดี 1.3) ลักษณะวัวชนที่ดี ลักษณะเฉพาะพันธุ์ การคัดเลือกโครงสร้างของร่างกาย โดยเลือกวัวที่มีคร่อมอกใหญ่ บั้นท้ายเล็กเรียวลาดลงเหมือนโครงสร้างของสิงโต ลักษณะสีของวัวชน และลักษณะขวัญที่ดีของวัวชน ส่วนใหญ่จะเลือกวัวชนที่มีลักษณะตามตำราวัวชน 1.4) การเลี้ยงดูวัวชน การเลี้ยงวัวชนก่อนติดคู่  ผู้เลี้ยงจะต้องนำวัวออกเดินออกกำลังกาย ในช่วงเช้า และช่วงเย็น จะทำหลังจากการเดินออกกำลังกาย วันละสองครั้ง การอาบน้ำให้วัวชนจะต้องอาบน้ำอย่างพิถีพิถัน  ระหว่างที่อาบน้ำพี่เลี้ยงวัวชนใช้มือลบคลำลำตัว เพื่อทดสอบว่าวัวปกติหรือไม่ เมื่อวัวชนอาบน้ำเช็ดตัว และทาขมิ้นเพื่อไม่ให้วัวเป็นหวัด หลังจากอาบน้ำ แล้วจึงนำวัวไปตากแดด  ก็จะให้กินหญ้าไปพร้อมๆ กัน  หญ้าที่เป็นที่นิยมของกลุ่มผู้เลี้ยงวัวชน ได้แก่ หญ้าหวายข้อ และหญ้าหราด การตากแดดเป็นกิจกรรมของผู้เลี้ยงวัวชนที่จะต้องทำการในรอบ 1 วันผู้เลี้ยงวัวส่วนใหญ่จะกัดทำควบคู่ไปกับการให้กินหญ้า  การเลี้ยงดูวัวชนในขณะที่ติดคู่ชน เมื่อติดคู่ชนแล้วจะต้องทำสัญญาการชนที่ทางสนามชนวัวเตรียมไว้ เมื่อทำสัญญาเรียบร้อย เจ้าของวัวจะนำวัวของตนมาอาศัยในโรงเรือนที่ทางสนามได้จัดเตรียมไว้ให้  จำนวนผู้ดูแลรักษาวัวชน โดยทั่วไปจะอยู่ 4-5 คน สำหรับบางค่ายจะมีพี่เลี้ยง 5-6 คน แล้วแต่พื้นที่ โดยจะมีการแบ่งหน้าที่กัน  อาหารเสริมต้องเป็นอาหารที่มีแร่ธาตุและวิตามินไปเสริมสร้างความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ กระดูก ผิวหนังเป็นมัน ขนสวย ในช่วงที่วัวติดคู่ชนนี้เจ้าของวัวจะเพิ่มเติมการเสริมแต่งภายนอก โดยสิ่งที่นิยมทำในขณะที่วัวติดคู่ชน ได้แก่ การเคลือบทาน้ำผึ้งรวงที่เขาวัวหลังจากอาบน้ำเสร็จ จะทำให้เขาวัวแข็ง เหนียว ไม่เปราะร้าวหรือแตกหักง่าย  1.5) การฝึกซ้อมวัวชน การเลือกคู่ซ้อม เลือกตัวที่มีลักษณะโครงสร้างร่างกายใกล้เคียงกัน เวลาและสถานที่ในการซ้อม เลือกซ้อมในเวลาช่วงเช้า จำนวนเวลาในการซ้อมคู่ การซ้อมแต่ละครั้งไม่จำกัดเวลาในการซ้อม การซ้อมครั้งแรกเริ่มจากใช้เวลาน้อย และครั้งต่อไปจะเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ให้เหมาะกับสภาพร่างกาย การวางวัวก่อนติดคู่ชน เลือกคู่ชนที่มีลำตัวเท่ากัน ความสูงยาวของลำตัวใกล้เคียงกัน เลือกวัวชนที่มีปลายเขาวัวที่ใกล้เคียงกัน เพื่อที่เวลาวางวัวชนจะได้สู้กันได้และออกกำลังได้อย่างเต็มที่

2.        แนวทางการส่งเสริมการเลี้ยงวัวชน กรณีศึกษา ชุมชนบ้านในหมง 2.1) แนวทางส่งเสริมด้านเงินทุน กลุ่มผู้เลี้ยงวัวชนจึงต้องการเงินทุนเพื่อนำมาใช้ในการเลี้ยงวัวชน ในการขยายพันธุ์วัวชน การนำไปซื้ออุปกรณ์ต่างๆ การสร้างโรงเรือน การสร้างสนามฝึกซ้อมสำหรับวัวชน เป็นต้น 2.2) แนวทางส่งเสริมด้านองค์ความรู้การเลี้ยงวัวชน ควรการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ ข้อมูลทางด้านวิชาเกี่ยวกับการเลี้ยงวัวชน 2.3) แนวทางส่งเสริมการรวมกลุ่ม การจัดตั้งกลุ่มผู้เลี้ยงวัวชน เป็นการรวมกลุ่มเพื่อแลกเปลี่ยนความรู้ แลกเปลี่ยนสายพันธุ์วัวชน  2.4) แนวทางส่งเสริมด้านการบริหารและการจัดการ ควรมีการบริหารจัดการกลุ่มผู้เลี้ยงวัวชน ตั้งแต่การเริ่มเลี้ยง ต้องศึกษาข้อมูลในการเลี้ยงให้ดี มีการวางแผนในการพัฒนาสายพันธุ์ วางแผนในการขยายพันธุ์วัวชน วางแผนในการเลี้ยง การฝึกซ้อม เพื่อให้วัวชนมีร่างกายที่แข็งแรง และพร้อมสำหรับการชนเพื่อแข่งขันอยู่เสมอ

Article Details

How to Cite
Chodchaey, T., ดำรงวัฒนะ จ. ., ประทุม บ. ., อ่อนจันทร์ พ. . . ., & (คงคาไหว) พ. ส. . (2022). องค์ความรู้ในการเลี้ยงวัวชน กรณีศึกษา ชุมชนบ้านในหมง ตำบลพรหมโลก อำเภอพรหมคีรี จังหวัดนครศรีธรรมราช. วารสาร มจร เพชรบุรีปริทรรศน์, 5(1), 50–69. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JPR/article/view/263689
บท
บทความวิจัย

References

กอเส็ม สุขขาว (2551) เลี้ยงวัวชนเป็นอาชีพหลักได้ เป็นอาชีพเสริมดี ตลาดต้องการอื้อ (ออนไลน์) เข้าถึงได้จาก https://www.bloggang.com/m/viewdiary.php?id= hoonvi&month= 04-2008&date=21&group=8&gblog=93 (20 มกราคม 2562).

ทิพวรรณ หม้งห้อง (2559) โรงเรียนวัวชน : ภูมิปัญญาการจัดการค่ายกีฬาวัวชนเพื่อการแข่งขันทางการค้า กรณีศึกษาสนามกีฬาโคบ้านปากพล ตำบลนาปะขอ อำเภอบางแก้ว จังหวัดพัทลุง สารนิพนธ์ศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการพัฒนาชุมชน มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช

ธนกรณ์ ทองนุ้ย (2562) ควายชน : ประเพณีเฉพาะถิ่นของชาวเกาะสมุย จังหวัดสุราษฎร์ธานี การประชุมหาดใหญ่วิชาการระดับชาติและนานาชาติ ครั้งที่ 10. วันที่ 12 – 13 กรกฎาคม 2562 ณ ห้องประชุม อาคารคณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยหาดใหญ่ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา.

นอโม ตรีนิสิงเห (2556) ตำราลักษณะขวัญดีร้ายของโค (ออนไลน์) เข้าถึงได้จาก : http://www. dopatrang.go.th/detail.php?id=405 (20 มกราคม 2562).

ปนัดดา ทองศรีจันทร์ (2559) ชนวัว (ออนไลน์) เข้าถึงได้จาก https://sites.google.com/site/ looknampattalung/phumipayya-ni-dan-kila-kar-la-len/chn-waw (20 มกราคม 2562).

รงค์ บุญสวยขวัญ (2559) การเมืองของการพนันวัวชนภาคใต้ วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาราชภัฎสุราษฎร์ธานี, 8(2) : 20-30

วิเชียร ณ นคร (2545) มรดกวัฒนธรรมทักษิณ นครศรีธรรมราช : สถาบันราชภัฏนครศรีธรรมราช

สมกมล ศรีสมโภชน์ (2556) วิถีชุมชนคนเลี้ยงวัว จังหวัดสุราษฎร์ธานี : กรณีศึกษาอำเภอพระแสง และอำเภอเวียงสระ จังหวัดสุราษฎร์ธานี วารสารสหวิทยาการวิจัย : ฉบับบัณฑิตศึกษา, (1), 222-239.

สมหมาย คล้ายบ้านใหม่ (2558) “ระบบการเลี้ยงวัวชนในภาคใต้.” วัวชนกับคนใต้, 5-8. จรัญ จันทลักขณา และ ผกาพรรณ สกุลมั่น, บรรณาธิการ. กรุงเทพมหานคร: ศูนย์วิจัยและพัฒนาการผลิตกระบือและโค สถาบันสุวรรณวาจกกสิกิจฯ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

สฤษดิ วีระสุนทร (2558). กีฬาวัวชนกับวิถีชีวิตชุมชนตำบลนาใต้ อำเภอบ้านนาเดิม จังหวัดสุราษฎร์ธานี วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต ปีที่ 11 ฉบับที่ 1 มกราคม – มิถุนายน 2558

สันติพล จิระจรัส (2557) วัวชนพันธุ์แกร่ง ปักษ์ใต้ (ออนไลน์) เข้าถึงได้จาก : http://xn-b3c4a3ba3c.blogspot.com (20 มกราคม 2562).

สำนักเทคโนโลยีชีวภาพการผลิตปศุสัตว์ กรมปศุสัตว์ (2559) การผสมพันธุ์ตามธรรมชาติ (ออนไลน์). เข้าถึงได้จาก http://biotech.dld.go.th/webnew/index.php/th/2018-09-11-05-52-30/98-2013-02-18-14-51-08 (20 มกราคม 2562).

สิริลักษณ์ หมื่นห่อ (2555) ผู้หญิงในสนามวัวชน สงขลา : มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

สิริอร วิชชาวุธ (2544) จิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การเบื้องต้น กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

สุธิวงศ์ พงษ์ไพบูลย์ (2557) บทบาทของสถานศึกษากับภูมิปัญญาไทย วารสารห้องสมุด 44(3),

-36

(2552) วัวชนคนปักษ์ใต้ วารสารทักษิณ, 1(2), 68-81

สุรชัย สุวรรณมณี (2559) แนะนำการเลี้ยงและดูแลรักษาวัวชน (ออนไลน์) เข้าถึงได้จาก : http://xn--b3c4a1ba3c.blogspot.com (20 มกราคม 2562).