ความต้องการตลาดแรงงานของหลักสูตรวิทยาการสารสนเทศ เมืองและระบบราง
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและวิเคราะห์ความต้องการของตลาดแรงงานบัณฑิตของหลักสูตรวิทยาการสารสนเทศเมืองและระบบราง ตลอดจนเสนอแนะคุณลักษณะของบัณฑิตที่สอดคล้องกับความต้องการของผู้ใช้บัณฑิต เป็นการวิจัยเชิงสำรวจโดยใช้วิธีการเก็บข้อมูลในเชิงปริมาณ (Quantitative) เป็นหลัก กลุ่มเป้าหมายประกอบด้วย ผู้ประกอบการ ผู้บริหาร และพนักงาน ในภาคส่วนต่าง ๆ ทั่วประเทศ จำนวน 120 คน ผลการวิจัยพบว่า สาเหตุของความต้องการจ้างแรงงานของผู้ใช้บัณฑิตส่วนใหญ่คือ เพื่อทดแทนแรงงานที่ลาออก (ร้อยละ 35.0) ลักษณะงานที่หน่วยงานมีความต้องการมากที่สุดคือ งานด้านสารสนเทศเมือง/ผังเมือง (ร้อยละ 51.7) ระดับวุฒิการศึกษาของแรงงานที่ต้องการคือระดับปริญญาตรี (ร้อยละ 65.0) ช่วงอายุของแรงงานที่ต้องการคือ 26-35 ปี (ร้อยละ 64.2) ไม่ได้ระบุเพศของแรงงานที่ต้องการ (ร้อยละ 70.8) เกรดเฉลี่ย อยู่ที่ 2.5-2.99 (ร้อยละ 45.0) มีประสบการณ์การทำงาน 0-2 ปี (ร้อยละ 48.3) ระดับค่าจ้างที่ต้องการจ้างต่อเดือนส่วนใหญ่ อยู่ที่ 15,000 – 20,000 บาท (ร้อยละ 45.0) ลักษณะที่ต้องการจ้างงานเป็นประเภทงานประจำ (ร้อยละ 84.2) บุคลิกภาพของแรงงานที่ต้องการ คือมีความรับผิดชอบ (ร้อยละ 97.6) มีความรู้ความสามารถด้านภาษาอังกฤษ (ร้อยละ 72.5) และสามารถใช้งานโปรแกรมคอมพิวเตอร์ Microsoft Office (ร้อยละ 95.0) ทักษะที่เป็นที่ต้องการมากที่สุดคือ ทักษะด้านการวิเคราะห์สังเคราะห์และการบูรณาการข้อมูล (ร้อยละ 75.8) ข้อเสนอแนะต่อการพัฒนาบัณฑิตที่สำคัญคือ การเน้นให้บัณฑิตสามารถคิด วิเคราะห์ บูรณาการและนำความรู้ที่ได้ ไปประยุกต์ใช้กับการทำงานจริงให้เหมาะสม สอดคล้องกับนโยบายสาธารณะของเมือง
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
เกื้อ วงศ์บุญสิน และคณะ. (2546). ทักษะแรงงานไทยในอนาคตที่พึงประสงค์. ใน รายงานวิจัย.สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.
ฉัตรแก้ว จริยตันติเวทย์ และคณะ. (2549). การศึกษาวิจัยตลาดแรงงาน (Target Market) ของคณะวิศวกรรมศาสตร์กับการก้าวเข้าสู่อุตสาหกรรม 4.0 เพื่อความยั่งยืน. ใน รายงานวิจัย. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร.
ณตพล ศุภณัฐเศรษฐกุล. (2556). สหวิทยาการระหว่างสาขาวิชามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และการแพทย์ เพื่อประยุกต์ในการเรียนการสอนแพทยศาสตร์. ธรรมศาสตร์เวชสาร 13(3)380-392.
รัชนีพร เทียมปโยธร. (2554). การศึกษาแนวโน้มความต้องการบัณฑิตในสาขาวิชาการออกแบบชุมชนเมืองมหาบัณฑิต: กรณีศึกษาประเทศไทย เวียดนาม และสิงคโปร์. วารสารวิชาการคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, (10), 65-73.
วีระ โชติธรรมาภรณ์. (2549). แนวโน้มการจ้างงานในอุตสาหกรรมสิ่งพิมพ์ส่วนงานก่อนพิมพ์. ใน รายงานวิจัย. มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.
สำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ. (2563). แนวโน้มความต้องการบุคลากรในอุตสาหกรรมเป้าหมายแห่งอนาคต (New S Curve) และทิศทางนโยบายการพัฒนากำลังคนของประเทศ พ.ศ. 2563-2567. เรียกใช้เมื่อ 5 พฤษภาคม 2564 จาก https://www.nxpo.or.th/th/wp-content/uploads/ 2019/09/DemandNewSCurve.pdf
Albert Lin. (ม.ป.ป.). Urban informatics. เรียกใช้เมื่อ 2 may 2021 จาก https:// cherish51c8.wordpress.com/2013/04/20/urban-informatics.
Taro Yamane. (1967). Statistics, An Introductory Analysis, (2nd Ed.),. New York: Harper and Row.